ที่มา: dodeden

ผู้สื่อข่าวโดดเด่นดอทคอม รายงานว่า ได้เข้าไปร่วมงานของมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ซึ่งมีแพทยสภา ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข สถาบันพระปกเกล้า ชมรมนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ( ปธพ ) โดยนักศึกษา ปธพ.5 , จังหวัดปราจีนบุรี , องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี และโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จัด โครงการหน่วยแพทย์อาสาเฉพาะทางร่วมใจ เฉลิมพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

ในโอกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์” นำแพทย์เฉพาะทางกว่า 200  คน เปิดคลินิกแพทย์เฉพาะทาง 20สาขา บริการผู้ป่วยในจังหวัดปราจีนบุรีและใกล้เคียง

ทั้งนี้ มีแพทย์อาสาเข้าร่วมกว่า 200 คน จากคณะแพทยศาสตร์ 21 แห่ง ราชวิทยาลัย / วิทยาลัยแพทย์ 15 แห่ง แพทย์จากภาครัฐ แพทย์จาก 4 เหล่าทัพ แพทย์จากภาคเอกชน  พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ท้องถิ่นขาดแคลน

ส่วนการที่ โครงการหน่วยแพทย์อาสาเฉพาะทางครั้งนี้  ได้เลือกมาจัดที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี  เพราะเป็นโรงพยาบาลที่ถือกำเนิดจากความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรี และผืนแผ่นดินไทยของท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

ผู้สื่อข่าวโดดเด่นดอทคอม รายงานว่า ในส่วนของแพทยสภาชุดนี้  วาระ พ.ศ. 2560 – 2562 มีนายแพทย์ ประสิทธิ์ วัฒนาภา เป็นนายกแพทยสภา ซึ่งเป็น คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ามาเป็น “กรรมการแพทยสภา” โดยตำแหน่ง และ ได้ผลัดเปลี่ยนมือ นายกแพทยสภา จาก นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา มาเป็น อาจารย์แพทย์ในภาครัฐ

ซึ่งจะมีการประชุม “กรรมการแพทยสภา” บ่อยขึ้น รวมทั้ง“กรรมการแพทยสภา” ชุดนี้ได้ทำงานอย่างรวดเร็วกว่าเดิมมาก ซึ่งเป็นความหวังของประชาชน  แม้เสียงส่วนใหญ่จะยังอยู่ในฝั่งเดิมก็ตาม แต่ปัญหาที่สั่งสมไว้จะได้รับการแก้ไข

ล่าสุดได้มีการเปิดเผยว่า กฎระเบียบที่กำหนดให้แพทย์ทั่วไป ที่ตอนนี้หันไปเปิดคลินิกศัลยกรรม คลินิกเสริมความงามกันมากมายนั้น  จะต้องจบหลักสูตรศัลยกรรม จึงจะสามารถทำศัลยกรรมได้ โดยขั้นตอนต่างๆ ได้ดำเนินการมาเยอะแล้ว ซึ่ง“กรรมการแพทยสภา” ชุดนี้จะร่วมกันผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด

ทั้งนี้ กรณีที่ คนไข้ศัลยกรรม ของสถานเสริมความงามต่างๆ  โดนบังคับ ในลักษณะภาวะจำยอมว่า หากนำเอาเรื่องการทำศัลยกรรมที่ผิดพลาดไปเผยแพร่ จะโดนฟ้องร้อง  “กรรมการแพทยสภา” ระบุว่า หากหมอคนนั้นกระทำผิดจริง โดยความผิดนั้นชัดเจน คนไข้ศัลยกรรมสามารถเปิดเผยชื่อแพทย์ แลคลินิกได้เลย ซึ่งในกรณีนี้มีตัวอย่าง เคสของโรงพยาบาลเอกชน ไปฟ้องร้องคนไข้ที่ไปออกทีวี แต่สุดท้าย ศาลยกฟ้อง

ขณะที่สื่อมวลชน ต้องระวังเรื่องการรายงานข่าว เพราะหาก คนไข้ศัลยกรรม  กับ แพทย์ อยู่ในระหว่างกระบวนการยุติธรรม ถือว่าแพทย์ยังไม่มีความผิด รวมทั้งสื่อมวลชน ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง ซึ่งเป็นเรื่องระหว่าง  คนไข้ศัลยกรรม  กับ แพทย์ หรือ เจ้าพนักงานรัฐ กับ เอกชน 

แต่ทั้งนี้ มีช่องทางในการสื่อสารมากมาย  หากพบว่าแพทย์กระทำผิดจริง มีหลักฐาน และคนไข้มาร้องเรียน ก็นำเสนอในลักษณะอักษรย่อ หรือ สถานที่ตั้ง สามารถทำได้   หรือ หน่วยงานยุติธรรมเผยแพร่เอกสารออกมา ก็นำมาอ้างอิงได้

ส่วนอีกประการหนึ่ง คือ สามารถให้คนไข้เหยื่อศัลยกรรมใช้สิทธิ ขอเวชระเบียนมาดู และ ขอให้เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ( ด้านศัลยกรรม ) ที่มีแพทย์จิตอาสา ช่วยอ่านเวชระเบียน 

ซึ่งจุดนี้คนไข้ศัลยกรรมไม่ค่อยมีความรู้ด้านกฎหมาย ดังนั้นจึงไม่ได้ใช้สิทธิ ซึ่งหน่วยงานที่สามารถช่วยได้อีกแห่งคือ  กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค

เรื่องน่าสนใจ