fat woman

ในปัจจุบัน วิถีชีวิตและการรับประทานอาหารของคนไทยเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อน เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันของคนในปัจจุบันนั้นจะมีการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ และต้องทำงานแข่งกับเวลาอยู่เสมอ ทำให้อาหารที่รับประทานเป็นอาหารแบบง่ายๆ ที่สะดวกและรวดเร็ว จากร้านสะดวกซื้อ หรือร้านอาหารที่เป็นแบรนด์จากต่างชาติ (Fast Food) ทำให้คุณค่าทางอาหารที่ได้รับต่ำ เพราะอาหารเหล่านี้จะเป็นอาหารจำพวกแป้ง และไขมัน มีการรับประทานผักและผลไม้น้อยลง เร่งรีบในการทำงาน ทำให้โอกาสในการออกกำลังกายมีน้อยลง คนไทยจึงเป็นโรคอ้วนกันเยอะมากขึ้น มีรูปร่างอุ้ยอ้าย อึดอัด และมีโรคอื่นๆ คุมคามแทรกซ้อน ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และไขมันในหลอดเลือดสูง มีความเสี่ยงในการเสี่ยงในการเป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต ทำให้อายุสั้นกว่าคนทั่วไป

ความอ้วนนั้นสามารถคาดคะเนจากสายตาแล้ว อาจจะใช้วิธีวัดความอ้วน โดยการคำนวณดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) เป็นค่าดัชนีที่คำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อใช้เปรียบเทียบความสมดุลระหว่างน้ำหนักตัวต่อความสูง เพื่อวัดความอ้วน-ผอม สามารถคำนวณได้โดยนำน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยกำลังสองของส่วนสูงตนเอง (เมตร) โดยเมื่อคำนวณแล้วสามารถนำมาเปรียบเทียบเกณฑ์ได้ดังนี้

– ผอมเกินไป: น้อยกว่า 18.5 (<18.5)
– เหมาะสม: มากกว่าหรือเท่ากับ 18.5 แต่น้อยกว่า 25 (≥18.5 แต่ <25)
– น้ำหนักเกิน: มากกว่าหรือเท่ากับ 25 แต่น้อยกว่า 30 (≥25 แต่ <30)
– อ้วน: มากกว่าหรือเท่ากับ 30 แต่น้อยกว่า 40 (≥30 แต่ <40)
– อันตรายมาก: มากกว่าหรือเท่ากับ 40 (≥40)

​(http://th.wikipedia.org/wiki/ดัชนีมวลกาย)

kamol01
http://www.kamolhospital.com/detail/bariatric-surgery/

 

แนวทางการรักษาโรคอ้วน

1. ควบคุมอาหาร
2. ออกกำลังกาย
3. รักษาด้วยยา
4. รักษาด้วยการผ่าตัด

การควบคุมอาหารควบคู่กับการออกกำลังกาย

เป็นการรักษาโรคอ้วนที่ได้ผลและปลอดภัยมากที่สุด โดยควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นอาหารจำพวกโปรตีน ผัก ผลไม้ และอาหารที่มีวิตามินสูง ลดอาหารจำพวกแป้ง ไขมัน และน้ำตาล ขณะเดียวกันควรออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนัก โดยควรออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 4 ครั้ง/สัปดาห์ และในการออกกำลังกายแต่ละครั้งไม่ควรต่ำกว่า 30 นาที โดยเน้นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ (Cardio) เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น ซึ่งเป็นการออกกำลังที่ช่วยในการเผาผลาญไขมันได้เป็นอย่างดี หากหลังจากการควบคุมอาหารและออกกำลังกายแล้วน้ำหนักยังขึ้นอยู่ รวมถึงมีปัจจัยเสี่ยงของโรคต่างๆ หรือมี BMI สูงเกิน 25 แต่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย แพทย์อาจจะพิจารณาให้ยารักษาโรคอ้วน ถ้าหากรักษาด้วยยาแล้ว BMI ยังสูงเกิน 30 และมีปัจจัยเสี่ยงของโรคร่วมด้วย อาจจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

การรักษาด้วยยา

การรักษาด้วยยานั้น ยาจะมีผลต่อจิตประสาท เป็นยาที่ไม่ควรซื้อมารับประทานเอง จึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด ขณะเดียวกันการรักษาด้วยยา ควรจะควบคู่กับการควบคุมอาหารและออกกำลังกายด้วย โดยผู้ที่ควรได้รับการรักษาโรคอ้วนด้วยยานั้น จะต้องมี BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 30 หรือ ผู้ที่มี BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 27 และมีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย

การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน (Bariatric Surgery)

ปัจจุบันการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน ได้พัฒนาวิธีการผ่าตัดแบ่งเป็น 3 วิธีด้วยกัน คือ

1. Lap Banding (LAGB: Laparoscopic Adjustable Gastric Banding)

เป็นการนำห่วงรัดที่ปรับได้ไปรัดกระเพาะเพื่อลดปริมาณการทานอาหารต่อครั้งลง การทำผ่าตัดนี้มีแผลเล็กที่หน้าท้อง เพราะเป็นการผ่าตัดโดยใช้การส่องกล้อง สามารถปรับขนาดของห่วงรัดหลังทำผ่าตัดได้ โดยใช้เข็มใส่น้ำเข้าไป ซึ่งปริมาณน้ำที่ใส่เข้าไปจะเป็นตัวคุมขนาดห่วงรัด และปริมาณการทานอาหาร ของกระเพาะอาหารในแต่ละครั้ง วิธี Lap Banding นี้จะทำให้น้ำหนักลด 45-75% ภายหลัง 2 ปี เช่น คนที่น้ำหนักเกินพิกัด 55 กก. จะลดได้ประมาณ 25-40 กก. ใน 2 ปีหลังทำผ่าตัด

ข้อดี : ทำได้ง่าย ใช้เวลาน้อย และมีความเสี่ยงต่ำ สามารถเอาห่วงรัดออกเมื่อไม่ได้ใช้ได้ หรือสามารถขยับและปรับได้ มีภาระแทรกซ้อนน้อย ฟื้นไข้ได้เร็ว
ข้อเสีย : ได้ผลน้อย เนื่องจากวิธีนี้จะทำให้น้ำหนักลดลงเพียง 45-75% เท่านั้น

kamol02
http://www.southcoastspecialtycenter.com/Adjustable-Gastric-Banding.html

 

2. Gastric Bypass (Roux-en-Y gastric Bypass)

เป็นการลดปริมาณอาหารที่ทานได้มาก แต่ก็ลดสารอาหารที่สำคัญบางส่วนที่ควรจะได้รับลงด้วย วิธีนี้ทำโดยแพทย์นำลำไส้ไปต่อกระเพาะอาหารทำให้อาหารไม่ผ่านกระเพาะจะทานอาหารได้น้อยและรู้สึกอิ่มเร็ว (แต่ถ้านานเข้าทำให้กระเพาะใหญ่ขึ้นและต้องการอาหารมากขึ้นได้) ใช้วิธีการผ่าตัดทางช่องท้อง หรือส่องกล้องได้ มีประโยชน์และโทษต่างกันให้ปรึกษากับแพทย์ศัลยกรรม วิธีการนี้ Gastric Bypass ได้ผล 62-68% ในปีแรก หลังปี 1-2 อาจลดได้ 50-75% เช่น คนที่น้ำหนักมากเกินพิกัด 55 กก. จะลดได้ประมาณ 27-40 กก.

ข้อดี : สามารถผ่าตัดโดยใช้วิธีส่องกล้องได้ กระเพาะอาหารเล็กลง ทำให้ทานอาหารได้น้อยลง
ข้อเสีย : สารอาหารบางอย่างไม่ถูกดูดซึม อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ไส้เลื่อน และลำไส้รั่ว

kamol03
http://www.hopkinsmedicine.org/healthlibrary/test_procedures/gastroenterology/roux-en-y_gastric_bypass_weight-loss_surgery_135,65/

 

3. Gastric sleeve (Sleeve Gastrostomy)

เป็นการลดขนาดของกระเพาะอาหาร เป็นการตัดกระเพาะอาหารให้เล็กลง ทำให้ฮอร์โมนต่างๆ ลดลง ทำให้ไม่รู้สึกหิว (ทานนิดเดียวจะรู้สึกอิ่มไว) จึงปลอดภัยกว่า ควบคุมการหิวได้ดีกว่า วิธีของ Gastric Bypass ปลอดภัยกว่าวิธี Lap Banding เพราะไม่ต้องใส่สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย มีผลให้น้ำหนักลด 33% ในปีแรก เช่น คนที่มีน้ำหนักมากเกินพิกัด 55 กก. จะลดลงได้ประมาณ 18 กก. ในปีแรก

ข้อดี : เป็นวิธีที่ลดน้ำหนักได้มาก และยาวนานที่สุด อีกทั้งยังทำให้โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และไขมันในหลอดเลือดสูงที่เป็นร่วมกับโรคอ้วนหายได้
ข้อเสีย : อาจเกิดภาวะขาด แคลเซี่ยม ขาดธาตุเหล็ก และขาดไวตามิน ทำให้กระดูกกร่อนและโลหิตจาง และมีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนด้วย

kamol04
http://www.nuffieldhealth.com/treatments/sleeve-gastrectomy

โดยการผ่าตัดที่โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล จะใช้วิธีการผ่าตัดแบบ Minimal Invasive Surgery หรือการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ทำให้เกิดแผลที่หน้าท้องเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

kamol05
http://www.realize.com/surgery-comparison

 

 

การเตรียมตัวเพื่อทำการผ่าตัด

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนทำการผ่าตัด ซึ่งประกอบด้วย

1. นักโภชนาบำบัด
2. นักจิตวิทยา
3. อายุรแพทย์ที่ชำนาญในการดูแลผู้ป่วยภาวะอ้วน
4. ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำผ่าตัดในผู้ป่วยภาวะอ้วน

เพื่อขอคำปรึกษา และการปฏิบัติตัว โดย

1. นักโภชนาบำบัด จะอธิบายว่าควรทานอาหารมากน้อยแค่ไหนหลังทำการผ่าตัด และก่อนผ่าตัดจะต้องลดน้ำหนักเท่าไร
2. นักจิตวิทยา ช่วยในเรื่องการลดความเครียดที่อาจมีมากขึ้นในช่วงก่อน-หลังผ่าตัด
3. แพทย์อายุรกรรม จำเป็นต้องตรวจสุขภาพให้คำปรึกษาการรักษาเพิ่มเติม หรือให้คำปรึกษาทางยาในการลดน้ำหนักบ้างก่อนการผ่าตัด
4. แพทย์ผ่าตัด อธิบายถึงทางเลือกกับผู้ป่วยว่าการทำผ่าตัดแต่ละแบบมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร เพื่อผู้ป่วยจะพิจารณาได้ว่าวิธีใดเหมาะสมกับตน

ภาวะแทรกซ้อน

1. มีเลือดออก
2.มีการติดเชื้อ
3.ทางเดินอาหารรั่ว (tear in bowels)
4.ต้องทำการผ่าตัดใหม่

หลังผ่าตัด มีภาวะแทรกซ้อนสำคัญที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ อาจมีเลือดอุดตันที่เท้า ปอด หัวใจ, เกิดโรคปอดบวม, ทางเดินปัสสาวะอักเสบ คล้ายการทำผ่าตัดทั่วไป แต่ภาวะแทรกซ้อนอาจน้อยลงหากการทำผ่าตัดลดน้ำหนักทำในสถานพยาบาล/ศูนย์ที่มีแพทย์, ทีมที่เชี่ยวชาญ และมีเครื่องมือแพทย์พร้อม มีการติดตามผู้ป่วยหลังผ่าตัดสม่ำเสมอ โดยมีทีม รวมทั้งพยาบาลผู้ดูแลที่ได้รับการฝึกฝนในการดูแลผู้ป่วยประเภทนี้เป็นพิเศษ รวมทั้งแพทย์ดมยามีความเชี่ยวชาญในการดมยาผู้ป่วยอ้วนเป็นอย่างดี

การทำผ่าตัดลดน้ำหนักได้ผลดีอย่างไร

ผลดีของการลดน้ำหนัก โดยลดโรคและอันตรายจากโรคอ้วนได้ ทำให้ร่างกายดูดี ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง นอนกรน ทำให้ใช้ยาลดน้ำหนักลดลงหรือไม่ต้องใช้ยาลดน้ำหนักอีก รวมถึงลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ มะเร็งได้

หลังทำผ่าตัดต้องทำอะไรบ้าง

1. อยู่โรงพยาบาลประมาณ 3 วันจนแน่ใจว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อน และไม่ต้องรับยาแก้ปวด
2. ออกกำลังกายเมื่อรู้สึกดีขึ้น มีโปรแกรมการออกกำลังกายเฉพาะผู้ป่วยประเภทนี้
3. ต้องเข้ามารับการดูแลเรื่องโภชนาการจากนักโภชนาต่อประมาณ 1 เดือน

บทความ : โรงพยาบาลกมล ศัลยกรรมตกแต่งและแปลงเพศ

Website: www.kamolhospital.com
Fan page: www.facebook.com/kamolcosmetichospitalthai
Instargram: Kamolhospital
Line: Kamolhospital
E-mail: [email protected]
Call Center: 02-559-0155
YouTube: http://www.youtube.com/kamolcosmetichosp

โรงพยาบาลกมล ศัลยกรรมตกแต่งและแปลงเพศ

340 ลาดพร้าว 94 ถ.ศรีวรา วังทองหลาง กรุงเทพ 10310 โทร. 02-559-0155 แฟกซ์ 02-559-2808
เปิดทำการทุกวัน

เรื่องน่าสนใจ