ที่มา: si.mahidol.ac.th ที่มา: thai-cancer-doctor.blogspot.com

เรียบเรียงโดย Dodeden.com

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%88%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%95%e0%b8%99

มะเร็งเต้านม พบมากในสตรีอายุ 35 – 60 ปี และจากข้อมูล การสํารวจสภาวะสุขภาพ  พบว่าผู้หญิงมีการตรวจเต้านมด้วยตนเองในอัตราค่อนข้างต่ำ คือร้อยละ 46.3 และ มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ที่ไปพบบุคลากรทางการแพทยและสาธารณสุข เมื่อพบความผิดปกติ

มะเร็งเต้านม เป็นโรคภัยที่สามารถดูแลรักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้มีการตรวจพบในระยะเริ่มแรกของการป่วย ในปัจจบัน ยังไม่มีการศึกษาวิจัยใดที่ สรุปแน่ชัดถึงสาเหตุของการเป็นมะเร็งเต้านม จึงยังไม่สามารถค้นหาวิธีป้องกันได้  ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือ การค้นพบมะเร็งเต้านมให้เร็วที่สุดตั้งเเต่ระยะเริ่มแรก  ผู้หญิงทุกคนจึงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านม

womens-health-mammogram-2

มีการวิจัยมากมายแสดงถึงปัจจัยต่างๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม เช่น ปัจจัยเรื่องของกรรมพันธุ์ ความแตกต่างในการดําเนินชีวิต หรือวิถีชีวิตการบริโภค ทําให้ผู้หญิงบางคน มีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่น ในขณะเดียวกัน ผู้หญิงทั่วๆไป สามารถที่จะดูแลและป้องกันตัวเองจากโรคมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกได้ด้วยการตรวจเต้านมด้วยมือของตนเองในทุกๆ เดือน เพื่อค้นหาความผิดปกติ เพราะถ้าพบเนื้องอกขนาดเล็กไวขึ้น การรักษายิ่งจะหายขาดได้มากขึ้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบการดูแลตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูกที่ผู้หญิงหลายคนต้องไปพบบุคลากรทางการแพทย์เพื่อการตรวจตามกําหนดนั้น เป็นสิ่งที่ยากกว่า  

ดังนั้น การตรวจเต้านม จึงเป็นวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก สามารถปฏิบัติได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษใดๆ ใช้เวลาน้อย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจอีกด้วย

เรื่องน่าสนใจ