ที่มา: มติชน

จากรายงานของเอเอฟพี ผู้เชี่ยวชาญแสดงความกังวลกับปัญหาด้านสุขภาพจากการกินหมากพลู หรือ “คุนจา” (Kun Ja) ในภาษาเมียนมา ซึ่งเป็นสารกระตุ้นที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในเมียนมา แต่ด้วยการใช้ทั้งยาเส้นและหมากเป็นส่วนประกอบซึ่งมีสารอันมีฤทธิ์ก่อมะเร็ง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวเมียนมามีอัตราการเป็นโรคมะเร็งในช่องปากที่สูงผิดปกติ

14379844711437984491l

หมากพลูถูกใช้เป็นของขบเคี้ยวในย่านเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนานหลายร้อยปีซึ่งในย่างกุ้งร่องรอยของน้ำบ้วนหมากสีแดงตามทางเดินในเมืองเป็นเครื่องบ่งชี้ได้ว่าของขบเคี้ยวชนิดนี้ยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

เมียว มยันต์ หทัยก์ (Myo Myint Htaike) เริ่มเคี้ยวหมากตั้งแต่ 12 ปีก่อนเพื่อช่วยลดความเจ็บปวดจากปัญหาฟัน เช่นเดียวกับชาวเมียนมาอีกหลายล้านคน ปัจจุบันเขาต้องเคี้ยวหมากทุกวัน

ด้วยการทำงานเป็นคนขับรถแท็กซี่ การเคี้ยวหมากช่วยให้เขาสามารถทำงานท่ามกลางปัญหารถติดในเมืองย่างกุ้งได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง

“ผมง่วงนอนมากๆตอนที่ผมเพิ่งเริ่มขับแท็กซี่ใหม่ๆผมจึงหันมาเคี้ยวหมากซึ่งมันช่วยให้ผมรู้สึกเหนื่อยน้อยลง” นายเมียวกล่าว

แต่ผลข้างเคียงจากการเคี้ยวหมากพลูมีหลายประการ รวมถึงการเสพติด, คราบหมากติดแน่น และความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งในช่องปาก โดย ดร.ตัน เส่ง ประธานมูลนิธิสุขภาพประชาชนกล่าวว่า เขาอยากเห็นการรณรงค์เพื่อเตือนผู้บริโภคเช่นเดียวกับบุหรี่ ซึ่งเขามองว่าเมียนมาล้าหลังมากเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน

“หากคุณไปดูประเทศไทย เดี๋ยวนี้แทบไม่มีใครกินหมากแล้ว แม้กระทั่งในชนบท ที่มาเลเซียก็เหมือนกัน แล้วทำไมชาวเมียนมายังไปยึดติดกับวัฒนธรรมแบบนี้ ผมเชื่อว่าเราจะต้องบอกกับประชาชนถึงอันตรายของมัน … ผู้คนไม่ได้รู้ว่าอะไรคือผลข้างเคียงหรือผลกระทบต่อสุขภาพจากการกินหมาก” ดร.ตันกล่าว

“ผมกลัว” เมียว มยันต์ หทัยก์ คนขับแท็กซี่ยอมรับพร้อมกล่าวว่าเขารู้ดีถึงโทษของมันดี “แต่ผมไม่อาจใช้ชีวิตโดยปราศจากมันได้”

เรื่องน่าสนใจ