พายุสุริยะคืออะไร

ในช่วงนี้มีการกล่าวถึงวันสิ้นโลกหรือวันโลกแตกกันมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเชื่อว่าเกิดจากพายุสุริยะ ดังนั้นเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงนำข้อมูลมาเสนอให้ทราบกัน

พายุสุริยะคืออะไร
ทุกๆ 11 ปี ขั้วแม่เหล็กของดวงอาทิตย์จะกลับหัว กลับหางจากเหนือเป็นใต้ (ครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นประมาณ 740,000 ปีที่แล้ว) เป็นเหตุให้เกิด” จุดดับบนดวงอาทิตย์ “ ออกฤทธิ์เปล่งอนุภาคพลังงานสูง พัด
มาจากดวงอาทิตย์ด้วยปริมาณและความเร็วสูงกว่าระดับปกติ อนุภาคนี้มีทั้งอิเล็กตรอนและโปรตอน เป็นตัวการทำให้เกิดแสงเหนือใต้ และพายุแม่เหล็ก ซึ่งส่งผลต่อดาวเทียม ยานอวกาศ และระบบสาย
ส่งบนโลก รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของ “ภูมิอากาศ” และ “ระบบธรณีวิทยา” ของโลกการจะเกิดพายุสุริยะได้ต้องมี 3 องค์ประกอบ คือ 1) ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 2) เกิดปรากฏการณ์เรียงตัวกันเป็นระนาบในทางช้างเผือก และ 3) มีรังสีคอสมิก

เมื่อปี 2551 องค์การนาซาได้ตรวจพบ “รูรั่ว” ในสนามแม่เหล็กโลกที่มีขนาดใหญ่กว่าที่เคยคาดไว้ และยังพบชั้นบรรยากาศของโลกที่หดตัวลงมากเป็นประวัติการณ์ ซึ่งทั้ง 2 สิ่งนี้เปรียบเสมือนสิ่งที่เป็น
เกราะป้องกันรังสีจากนอกโลกไว้
ประเด็นคือยิ่งปริมาณ “รังสีคอสมิก” เข้ามามากเท่าไหร่ จะเกิดความแปรปรวนของภูมิอากาศในโลก จะมีน้ำก่อตัวมากขึ้น ที่น่าเป็นห่วงคือเมื่อปี 1978 มีนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสท่านหนึ่งเคยคาด
การณ์ล่วงหน้าว่า ในช่วงเร็ว ๆ นี้ระบบสุริยะที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง กำลังจะเคลื่อนตัวเข้าสู่กลุ่มก๊าซขนาดใหญ่ในอวกาศ ทำให้มี “รังสีคอสมิก” เข้ามาในระบบสุริยะมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อ
สภาพภูมิอากาศบนดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะ สมมติฐานนี้ได้ถูกคอนเฟิร์มแล้ว เมื่อปี 2009 จากข้อมูลของดาวเทียม voyager 1 และ 2 ของนาซาที่โคจรอยู่บริเวณขอบของระบบสุริยะ

ผลกระทบของพายุสุริยะ
ผลต่อโลกแบ่งออกเป็นสามระดับ กล่าวคือ
1.ระดับรุนแรงที่สุด ( X-Class ) ทำให้คลื่นวิทยุสื่อสารล้มเหลวทั้งโลกเป็นเวลานาน อุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้การติดต่อผ่านดาวเทียมและระบบคอมพิวเตอร์จะเข้าสู่ภาวะ Blackout เรียกง่ายๆว่าระบบ
อิเล็กโทรนิคทั้งหลายเป็นใบ้สิ้นเชิง
2.ระดับปานกลาง ( m-class ) เป็นอาการเดียวกับข้อแรกแต่เกิดแบบชั่วคราว
3.ระดับอ่อน ( c-class ) ไม่มีผลอะไรเลย

ที่มา: mthai.com, prakan2.com

ขอขอบคุณภาพ : manager.co.th

เรื่องน่าสนใจ