เนื้อหาโดย Dodeden.com

หลายคนคงจินตนาการไม่ออกว่า หากวันหนึ่ง โลกที่คุณกำลังมองเห็นอยู่อย่างชัดเจนนี้จะค่อยๆ เลือนรางลงไป ด้วยโรคที่มาพร้อมกับความเสื่อมของร่างกายอย่างโรค “ต้อกระจก”

ขณะเดียวกันคงมีคนจํานวนไม่น้อยที่มองว่านวัตกรรมในการรักษาโรคต่างๆ รวมถึงโรคต้อกระจกของเมืองไทยเรา ยังไม่ก้าวไกลเทียบเท่าต่างชาติ จึงทําให้ เกิดกังวลเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ กลัวว่าเป็นแล้วจะไม่มีทางรักษาหรือรักษาไม่หายนั่นเอง…

ต้อกระจกเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเลนส์แก้วตา ซึ่งจะทําให้เลนส์แก้วตาเกิดความขุ่น จนแสงไม่สามารถทะลุผ่านไปยังจอประสาทตาได้อย่างเต็มที่ โดยในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการที่ส่งสัญญาณอย่างแน่ชัด คือ อาจจะมีการมองเห็นที่ไม่ชัดเจนไปบ้าง แต่ไม่มีอาการเจ็บปวด ซึ่งเมื่อเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการตามัวมากขึ้น จนคล้ายกับมีหมอกมาบัง โดยเฉพาะเมื่อเจอแสงสว่างหรือแสงแดด ก็จะรู้สึกมัวมากยิ่งขึ้น บางรายอาจพบว่าค่าสายตามีการเปลี่ยนแปลง และหากอาการตามัวเป็นมากขึ้น ก็จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจําวันและการทํางาน ซึ่งอาจนําไปสู่ภาวะการสูญเสียการมองเห็นได้ ซึ่งกรณีนี้หากเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ จะยิ่งบั่นทอนคุณภาพชีวิต และสร้างความลําบากให้กับการใช้ชีวิตประจําวันเป็นอย่างมาก

Bangpakok Hospital Group

“โรคต้อกระจก” เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ประมาณ 95% มีสาเหตุมาจากความเสื่อมตามอายุ ส่วนสาเหตุอื่นๆ เช่น การเกิดอุบัติเหตุของตวงตา, การได้รับสารเคมี, การหยอตตาหรือทานยาบางชนิต เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยต์ ซึ่งพบได้ประมาณ 3 – 4% และสุดท้ายคือต้อกระจกแต่กําเนิด ซึ่งพบได้ในเด็กแรกเกิดประมาณ 1 – 2%

การรักษาต้อกระจกในปัจจุบัน
การรักษาต้อกระจกในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธีหลักๆ คือการรักษาโดยไม่ใช้การผ่าตัด และการรักษาแบบใช้การผ่าตัด ซึ่งรักษาต้อกระจกแบบไม่ใช้การผ่าตัด อาจใช้การสวมแว่นตา ใช้ยาหยอตตาเพื่อช่วยชะลอหรือลดความขุ่นของต้อกระจก ซึ่งอาจได้ผลไม่แน่นอน ส่วนการรักษาโรคต้อกระจกแต่กําเนิด อาจใช้การขยายม่านตาเพื่อให้รับแสงเข้าตวงตามากยิ่งขึ้นได้ สำหรับการรักษาต้อกระจกแบบที่ต้องผ่าตัดนั้น หลักการก็คือ การผ่าตัตเอาต้อกระจกออก แล้วใส่เลนส์เทียมเข้าไปในตวงตา เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมามองเห็นได้อย่างเป็นปกติอีกครั้ง ซึ่งปัจจุบันมีหลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เลเชอร์ช่วยในการผ่าตัดแทนการใช้ใบมีด หรือการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการสลายต้อกระจก เป็นต้น

แม้จะมีเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยในการรักษามากขึ้น แต่ถ้าหากเราตรวจพบได้เร็ว ก็จะสามารถรักษาให้หายได้อย่างทันท่วงที และไม่เสี่ยงต่อการสูญเสียการมองเห็นด้วยค่ะ

เรื่องน่าสนใจ