รู้ทัน “ไข้หวัดใหญ่-หวัดนก”

Untitled-1

หลังจากข่าวการเสียชีวิตของพลทหารค่ายกาวิละ จ.เชียงใหม่ ที่ป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่เอช 1 เอ็น 1 (H1N1) หรือไข้หวัดใหญ่ 2009 ได้เกิดปรากฏการณ์อย่างหนึ่งในสังคม นั่นคือความสับสนในไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนก และความตื่นกลัวว่าจะกลับมาระบาด ทั้งๆ ที่สามารถป้องกันได้อย่างง่ายดาย

ณ ขณะนี้ในประเทศไทย จึงยังไม่พบโรคไข้หวัดนกกลับมาระบาดอีก และในกรณีของทหารที่เสียชีวิตใน จ.เชียงใหม่ พบว่าป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ 2009 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เคยเกิดมาแล้ว และไม่ได้มีการกลายพันธุ์รุนแรง เหมือนที่หลายคนเข้าใจ ที่สำคัญไข้หวัดนกก็ไม่ได้ติดจากคนสู่คนทุกสายพันธุ์ โดยมีรายงานว่า สายพันธุ์ที่สามารถติดมาสู่คนได้ คือ สายพันธุ์เอช 5 เอ็น 1 และ สายพันธุ์เอช 7 เอ็น 9 นอกนั้นเป็นสายพันธุ์ที่พบในสัตว์ปีกยังไม่มีรายงานมาสู่คน อาทิ ไวรัสชนิด เอช 5 เอ็น 2, เอช 5 เอ็น 3, เอช 5 เอ็น 9, เอช 7 เอ็น 2, เอช 7 เอ็น 3 และเอช 7 เอ็น 7 ส่วนสายพันธุ์เอช 10 เอ็น 8 ที่พบการติดเชื้อในจีน แม้จะพบติดเชื้อในคนได้ แต่ไม่มาก จึงยังไม่น่ากังวล

“ไข้หวัดนก ณ ขณะนี้ ขอยืนยันว่ายังไม่พบในประเทศไทย หลายคนอาจกังวลว่าหากไปประเทศจีน หรือประเทศที่พบการระบาดจะติดเชื้อหรือไม่ ล่าสุดองค์การอนามัยโลกยังไม่มีประกาศสั่งห้าม แต่ให้ระมัดระวัง โดยหากไปประเทศที่พบการระบาดควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน หรือสัมผัสสัตว์ปีก หากรับประทานต้องมั่นใจว่าปรุงสุกจริง แต่ที่น่ากังวลในประเทศไทย คือ โรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งพบเป็นประจำทุกปี เรียกว่าเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งไข้หวัดใหญ่นั้นมีหลายสายพันธุ์เช่นกัน แต่ที่หลักๆ คือ เอช 1 เอ็น 1 หรือหวัดใหญ่ 2009 สายพันธุ์เอช 3 เอ็น 2 และสายพันธุ์บี (B) โดยขณะนี้ยังไม่พบสายพันธุ์ใหม่ หรือการกลายพันธุ์แต่อย่างใด” รองอธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าว

ข้อควรระวังเบื้องต้นเพื่อห่างไกลจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H7N9

  •  กิน ร้อน ช้อนกลาง
  • หมั่นล้างมือบ่อยๆ ถ้าคุณสัมผัสกับสัตว์ปีกก็ควรจะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อล้างมือจะดีกว่านะคะป้องกันไว้ก่อน เพราะเชื้อโรคก็ติดมาจากมือเราง่ายเหมือนกันค่ะ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่วย หรือตาย คุณแม่ที่มีลูกเล็กๆก็ต้องดูแลไม่ให้ลูกๆไปสัมผัสกับสัตว์ทุกชนิดได้ยิ่งดีค่ะเพราะว่าเด็กๆจะชอบวิ่งไปจับสัตว์ค่ะ
  • สำหรับสัตว์ปีกที่ปรุงเป็นอาหารก็ต้องให้สุกนะคะ และก็ไข่ทุกชนิดด้วยค่ะต้องปรุงสุกเท่านั้นค่ะ
  • อย่านำสัตว์ปีกที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุมาทำอาหารนะคะ เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคค่ะ
  • ถ้าพบว่าสัตว์ปีกที่เลี้ยงไว้ (ถ้ามี) ตายโดยไม่ทราบสาเหตุก็ให้แจ้งกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ก่อนดีกว่าค่ะ เพื่อเจ้าหน้าที่ฯจะได้นำไปทำลายและหาสาเหตุการตายของสัตว์ค่ะ
  • หน้ากากอนามัยยังใช้ได้อยู่สำหรับคนที่มีไข้หรือเป็นหวัดค่ะ เพื่อป้องกันโรคของเราเองไปสู่คนอื่น หรือป้องกันโรคจากคนอื่นมาสู่เราอีกค่ะ
  • ถ้าพบว่าตัวเองมีอาการเป็นไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย หรืออาการอื่นๆที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากที่เราสัมผัสกับสัตว์ปีก อย่ารอช้าค่ะให้รีบไปพบแพทย์และแจ้งกับแพทย์ถึงอาการที่เกิดขึ้นกับตัวเราเองอย่าปล่อยไว้ให้หายเองนะคะ
  • ถ้ามีข้อสงสัยก็โทรฯเลยค่ะหมายเลข 1422 สายด่วนกรมควบคุมโรคค่ะ หรือ ที่เวป http://beid.ddc.moph.go.th ค่ะ

Credit : http://minebeauty.com, matichon.com

เรื่องน่าสนใจ