เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือ สบส. ได้มีการประกาศเตือนถึงคลินิก และสถานพยาบาลเสริมความงาม ถึงเรื่องการทำโฆษณาในคลินิก และการทำโฆษณาในสื่อเว็บไซต์ และโซเชียลต่างๆ โดยได้มีการประกาศมาตรฐานเพิ่มเติมขึ้นมาดังต่อไปนี้ 

1. ในคลีนิกนอกจากข้อความตามมาตรา 32 ที่บังคับให้ต้องมี 4 อย่าง (ชื่อสถานพยาบาล, รายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพ, อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่ายาและเวชภัณฑ์ค่าบริการทางการแพทย์ ฯ, คำประกาศสิทธิของผู้ป่วย) ยังมีข้อความอื่นที่ติดได้ในคลีนิกเพิ่มเติมนั่นก็คือ
– ชื่อแพทย์, สถานที่ตั้ง, คุณวุฒิ(ว.ว.,อ.ว.,เกียรตินิยม), ประกาศนียบัตรที่อบรมมา, ราคาค่าบริการ, ส่วนลดที่กำหนดกลุ่มและระยะเวลาชัดเจน
– ข้อความในคลีนิกต้องไม่ผิด ม.38 วรรค 2 เช่นเก่งที่สุดใน_____ ข้อความเหล่านี้สามารถติดบนป้ายที่มีความต่อเนื่องกับหน้าคลีนิกได้ และไม่ต้องขออนุญาต แต่ป้ายล้อเข็นบนทางเดินเท้าถือว่าโฆษณานอกคลีนิก และต้องทำการขออนุญาตก่อน

2. การทำโฆษณา ซึ่งแบ่งออกเป็นสองประเภท
ประเภทที่ 1 ได้แก่ชื่อ, คุณวุฒิหรือความสามารถ, บริการทางการแพทย์, อัตราค่ารักษา-ค่ายา-เวชภัณฑ์, การให้ส่วนลดต้องกำหนดกลุ่มบุคคลหรือเวลาให้ชัดเจน, การแจ้งข่าวสารแจ้งกิจกรรมต่างๆ, วันเวลาที่ให้บริการ  ที่นอกเหนือจากนี้จะถือว่าเป็นการทำโฆษณาประเภทที่สอง

3. ผู้ที่ดำเนินการโฆษณาอยู่ก่อนหน้านี้ควรจะทำเรื่องขออนุมัติโฆษณาใหม่ให้ถูกต้องก่อน 1 พฤษภาคม 2561 นี้ โดยในช่วงเวลา
2-3 เดือนแรกนี้จะยังไม่ดำเนินการตรวจสอบโฆษณาของคลีนิกใดๆ

4. โฆษณาที่เป็นเว็บไซต์ หรือเฟสบุ๊คให้แคปเจอร์เฉพาะหน้าแรกมาส่งตรวจ ส่วนไส้ในให้เจ้าของรับผิดชอบในการแก้ไขให้ถูกต้อง ไม่ต้องส่งมาตรวจสอบทุกหน้า ยกเว้นหน้าใดไม่แน่ใจก็ส่งตรวจได้

5. ภาพ before/after ลงได้แต่ต้องมีหลักฐานว่าทำที่คลีนิก และผู้ที่ปรากฎอยู่ในรูปต้องยินยอมให้ทางคลินิกใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้

6. ข้อความตามมาตรา 32 ถ้าเขียนในคลีนิก ไม่ต้องขออนุมัติ แต่ถ้าลงโฆษณานอกคลีนิกต้องดำเนินการขออนุมัติ

7. การโพสต์ถึงการผ่าตัด life surgery ทำไม่ได้

8. การเขียนรีวิวจากคนไข้ต้องระวังว่าเข้าข่ายโฆษณาประเภทสองหรือไม่

9. กรณีอ้างตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญโดยไม่มีคุณวุฒิตามที่กล่าวอ้าง หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่ไม่มีในแพทยสภา ถือว่าให้ข้อมูลเป็นเท็จ จะถือว่าผิดกฎหมาย รวมถึงโฆษณาอันเป็นเท็จด้วย

10. พฤติกรรมของagency, ดาราหรือ Net idol ที่ทำการโฆษณาให้กับสถานพยาบาลอาจเข้าข่ายความผิดโฆษณาประเภทสอง แต่ถ้าโฆษณาให้สถานพยาบาลต่างประเทศไม่มีความผิด

11. การโฆษณาเรื่องแพทย์ต่างชาติเข้ามาให้คำปรึกษาเพื่อบินไปผ่าตัดต่างประเทศ หรือมาทำผ่าตัดในเมืองไทยผิดกฎหมาย พรบ.วิชาชีพเวชกรรม

 

เรื่องน่าสนใจ