ที่มา: dodeden

กระแสเรื่องบัตรทอง ในช่วงนี้ถูกนำมาวิจารณ์อีกครั้ง บางคนมองระบบ บางคนมองตัวบุคคล ที่สำคัญคือมองเรื่อง งบประมาณ ที่จะนำกลับมาที่เดิม  แต่ไม่ได้ร่วมกันแก้ไข หาทางออกให้กับระบบหลักประกันสุขภาพที่กำหนดให้สิทธิประโยชน์คนไทยทุกคน ที่ต้องเดินไปข้างหน้า อาจต้องแก้ไขบางส่วนที่เกิดปัญหา จะทำให้เกิดความแข็งแรง บุคลากรก็มีความสุข   

ภารกิจที่สำคัญของการดำเนินการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนไทยทุกคนทุกสิทธิในทุกพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

มีการกระจายงบประมาณลงสู่พื้นที่อย่างเป็นธรรม และกระตุ้นให้สถานพยาบาลมีแรงจูงใจที่เหมาะสมในการให้บริการมากขึ้น

โดยการจ่ายเงินตามผลงาน และความครอบคลุมของการให้บริการ ซึ่งทาง สปสช. ดำเนินการส่งเสริมป้องกันโรคต่อคนไทยทุกสิทธิ แบ่งเป็น 4 รายการหลัก  คือ สร้างเสริมป้องกันโรคในระดับประเทศ ระดับพื้นที่ บริการพื้นฐาน และสนับสนุนการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่ งานอนามัยมารดา ทั้งการฝากครรภ์ ที่รวมถึงการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง ธาลัสซีเมีย ดาวน์ซินโดรม ตรวจเอชไอวี และสุขภาพช่องปาก การตรวจหลังคลอด และการวางแผนครอบครัว

หนึ่งในงานของ สปสช. คือการจัดบริการสาธารณสุขตามสิทธิประโยชน์ใหม่ ซึ่งในช่วงเริ่มแรกต้องมีการนำร่อง และบริหารจัดการในระดับประเทศเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของระบบก่อนที่จะขยายไปทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ปัญหาสาธารณสุขหรือภาระโรคที่สำคัญของประเทศ

โรคดาวน์ซินโดรม เป็นโรคที่ทุกคนคงเคยได้ยินชื่ออยู่แล้ว ที่ผ่านมาพบเด็กจำนวนไม่น้อยป่วยด้วยโรคนี้ และหลายคนต้องใช้ชีวิตอย่างลำบากตั้งแต่เด็กจนโต เพราะโรคที่รักษาไปตามอาการที่เกิดแทรกซ้อน แต่ก็ใช่ว่าจะเลวร้ายไปเสียหมดถ้าหากได้รับการดูแลที่ดีก็สามารถที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้ใกล้เคียงคนปกติ

เด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรมนั้นนอกจากจะมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายและการพัฒนาของสมองแล้วนั้น ในกลุ่มเด็กเป็นโรคนี้ก็มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมซึ่งพ่อแม่จำเป็นที่จะต้องใส่ใจให้มากกว่าเดิมเป็นพิเศษ

แม้ว่จะไม่มีวิธีการป้องกันโรคดาวน์ซินโดรม แต่วิธีที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงที่จะคลอดลูกเป็นดาวน์ซินโดรมนั่นก็คือ หลีกเลี่ยงการแต่งงานและตั้งครรภ์เมื่ออายุเกิน 35 ปี และผู้ที่มีพาหะของดาวน์ซินโดรมหรือเป็นผู้ที่อยู่ในอาการดาวน์นั้นก็ไม่ควรจะแต่งงานหรือตั้งครรภ์อย่างยิ่งเพราะจะยิ่งทำให้มีความเสี่ยงที่จะคลอดลูกที่มีอาการดาวน์ซินโดรมออกมาได้ ทั้งนี้ ถ้าหากผู้ที่มีอาการในกลุ่มดาวน์นั้นคลอดลูก ลูกที่คลอดมาจะมีความเสี่ยงเป็นโรคดาวน์ซินโดรมได้ถึง 50% เลย

ล่าสุดทาง นพ.ชูชัย. ศรชำนิ รองเลขาธิการ สปสช. และ ทาง โดดเด่นดอทคอม ได้ลงพื้นที่ดูงานการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ในประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข พศ. 2559 ( ฉบับที่ 10 ) ซึ่งทาง สปสช. ได้มีเริ่มดำเนินงานการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์ ในพื้นที่ภาคเหนือได้รับความร่วมมือจากหน่วยบริการ ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ดำเนินการนำร่อง และเป็นบทเรียนในการที่ สปสช.จะนำไปขยายบริการให้ครอบคลุมทั้งประเทศต่อไป  ในการดำเนินการมีความต้องการทำงานร่วมเป็นเครือข่ายบริการสุขภาพ

เริ่มตั้งแต่การคัดกรอง เมื่ออายุครรภ์ 14 – 18 สัปดาห์ ด้วยการตรวจเลือดก่อน ขั้นตอนต่อไปเป็นการตรวจยืนยันโครโมโซม  การเจาะน้ำคร่ำ ตามลำดับ

ไม่ว่าหญิงตั้งครรภ์มีความจำเป็นจะต้องการการดูแลในขั้นตอนใด จะมีหน่วยบริการให้ดูแลอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างในการโครงการนำร่องที่ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน  มีการดำเนินครบถ้วนทุกขั้นตอน ทีมผู้ให้บริการประกอบด้วยสูติแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ ซึ่งต้องได้รับอบรมเพิ่มเติม มีการจัดระบบการรับส่งต่อ และการกำกับ ติดตาม  การประเมินคุณภาพของการให้บริการ ร่วมกัน

นอกจากนี้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และควบคุมคุณภาพการแปลผลการตรวจ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน สนับสนุนวิชาการ  การให้คำปรึกษา ให้แก่ทีมแพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ ตามโรงพยาบาลในพื้นที่ เช่น โรงพยาบาลสันป่าตอง ซึ่งทางคณะแพทย์ และ ทีมสหวิชาชีพ ได้ให้ความสำคัญกับโครงการนี้อย่างมาก

หากผู้ป่วยสามารถรับบริการที่หน่วยริการนั้น ๆ ก็จะสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง แต่หากเกินศักยภาพของโรงพยาบาลชุมชน ก็ส่งต่อมายังโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

พร้อมทั้งจัดระบบให้หญิงตั้งครรภ์ที่ต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้เข้ารับบริการ ด้วยความปลอดภัย โดยที่หญิงตั้งครรภ์ไม่เสียค่าใช้จ่าย ทุกราย ทุกสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพ สิทธิประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ  จากการดำเนินงานผ่านมามีหญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์แล้ว ประมาณ 2,500 คน

นอกจากนี้ เมื่อหน่วยบริการพบว่าเด็กเป็นโรคกลุ่มอาการดาวน์ สปสช.สนับสนุนให้ได้รับการดูแล การสนับสนุนให้เด็กได้รับการส่งเสริมให้มีพัฒนาดีขึ้นเท่าที่เด็กจะสามารถทำได้

ตัวอย่างที่ได้รับความมือในการดูแลรักษาเด็กกลุ่มที่มีความผิดต่อพัฒนาการทั้งร่างกายและสติปัญญา ได้แก่ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ เชียงใหม่ ซึ่งมีการจัดบริการที่เฉพาะและมีความเชี่ยวชาญที่จะช่วยเด็กได้เป็นอย่างดี

งานยังไม่จบเท่านี้ เพราะต่อจากนี้ สปสช. จะร่วมมือกับกรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ  ในพื้นที่ นำผลการดำเนินงาน ไปขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้งประเทศต่อไป เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ ได้รับการดูแลตั้งแต่ตั้งครรภ์ การคลอด และทารกเกิดอย่างปลอดภัย และเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ

อย่าลืมว่า โรคดาวน์ซินโดรม ไม่ใช่โรคที่ติดต่อ หรือ น่ารังเกียจ ดังนั้นเราจึงควรทำความเข้าใจผู้ที่เป็นโรคนี้ เพราะเขาเองก็มีชีวิตจิตใจเช่นเดียวกันกับเรา เราควรที่จะเปิดโอกาสให้กับพวกเขาเหล่านั้นได้ใช้ชีวิตอย่างปกติสุข และไม่มองเขาเป็นปัญหาของสังคม นะคะ

เรื่องน่าสนใจ