ที่มา: dodeden

ผู้สื่อข่าวโดดเด่นดอทคอม รายงานว่า วันนี้ ( 10 สิงหาคม 2560  ) นายแพทย์วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า องค์การเครือข่ายพันธมิตรนมแม่โลก ได้รณรงค์ให้หญิงตั้งครรภ์ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งกรม สบส.ส่งเสริมและสนับสนุนผ่านการดำเนินงานของ อสม. ให้รณรงค์และกระตุ้นให้แม่ยุคใหม่ หันมาใส่ใจและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เนื่องจากนมแม่มีประโยชน์ทั้งด้านร่างกาย สมอง จอประสาทตาและอวัยวะอื่นๆ รวมทั้งป้องกันการเกิดโรค เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคภูมิแพ้ เป็นต้น และยังพบว่า เด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่มีโอกาสป่วยเป็นโรคอ้วน เบาหวาน น้อยกว่าเด็กที่ได้รับนมผสม ช่วยป้องกันโรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ เช่น โรคเบาหวาน และภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้

อธิบดีกรม สบส. กล่าวต่อไปว่า ในปี 2560 นี้ กรมได้มอบรางวัล อสม.ดีเด่นระดับชาติ สาขานมแม่และอนามัยแม่และเด็ก ได้แก่ นางกนิษฐา ฤทธิ์เต็ม อสม.หมู่ที่ บ้านทุ่งโพธิ์  ดำเนินงานในรูปแบบเครือข่ายจิตอาสาในพื้นที่รับผิดชอบของรพ.สต.บ้านทุ่งโพธิ์ ต.กะบกเตี้ย จ.ชัยนาท

ประกอบด้วย ทีม อสม. ผู้นำชุมชน อบต.กะบกเตี้ย โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์และปราชญ์ชุมชน เป็นแกนนำขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการสื่อสาร 3 ภาษา

ได้แก่ ไทย ลาว และเขมร เนื่องจากเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และมีประชากรต่างด้าวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเข้ามาช่วยในการสื่อสาร สร้างทีมเครือข่ายจิตอาสานมแม่ ซึ่งมีสมาชิกกว่า 35 คน ในการลงพื้นที่สำรวจหาหญิงตั้งครรภ์ จัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ร่วมกับทีมหมออนามัย นำหญิงตั้งครรภ์เข้ามาพัฒนาองค์ความรู้ ถ่ายทอดเรื่องราวการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากคุณแม่ที่มีประสบการณ์

การติดตามดูแลคุณแม่หลังคลอดให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างใกล้ชิด จนครบ เดือน ทั้งยังถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เยาวชน สร้างยุวทูตน้อยนมแม่ เพื่อเป็นการปลูกฝังให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ตั้งแต่วัยเรียนให้นำกลับไปถ่ายทอดสู่ครอบครัวต่อไป โดยได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากทีมหมอครอบครัวระดับอำเภอเนินขาม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาทและเขตสุขภาพที่ นครสวรรค์

จากการเก็บข้อมูลในการดำเนินงาน ในระยะเวลา 3 ปี พบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 19.04 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 81.18 ในปี 2558 ร้อยละ 83.33 ในปี 2559 

นอกจากนี้ยังพบว่าคุณแม่หลังคลอดได้ซื้อชุดสมุนไพร ที่ใช้สำหรับการอยู่ไฟหรือเข้ากระโจมหลังคลอด ซึ่งพบว่ามีราคาแพง อสม.กนิษฐา จึงได้นำปราชญ์ชาวบ้าน มาถ่ายทอดความรู้เรื่องของการปลูกพืชสมุนไพรที่ช่วยดูแลสุขภาพคุณแม่หลังคลอด เช่น ไพล ขมิ้น เป็นต้น และนำนวัตกรรม อาทิ กระโจมอบสมุนไพร เข็มขัดสมุนไพร โดนัทสอดไส้สมุนไพร แทนการอยู่ไฟหรือนอนกระดานไฟที่ใช้เวลานาน มาปรับใช้เกิดความสะดวก และลดราคาใช้จ่าย

นอกจากนี้ยังพบว่าบางพื้นที่เป็นถิ่นทุรกันดาร ห่างไกลจากโรงพยาบาลถึง 30 กิโลเมตร ทำให้เดินทางยากลำบาก โดย อสม.กนิษฐา และหมออนามัย ร่วมสร้างทีมตรวจพัฒนาการเด็กลงพื้นที่ให้บริการถึงบ้านทุกๆ 3 เดือน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปี

หากพบว่าเด็กคนไหนที่มีพัฒนาการช้า จะเข้าดำเนินการกระตุ้นพัฒนาการ โดยจะใช้ความรู้ความสามารถของสมาชิกในทีม เช่น การตัดเย็บเสื้อผ้าติดกระดุมเม็ดใหญ่ให้กับตุ๊กตาและนำมาช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อมือของเด็ก เป็นต้น ซึ่งผลจากการติดตามและลงพื้นที่พบว่าเด็กมีการพัฒนาการดีขึ้นอย่างชัดเจน โดย อสม.กนิษฐา เชื่อว่าการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กให้เข้มแข็ง จะส่งผลให้เติบโตเป็นวัยทำงานที่มีคุณภาพมีสุขภาพดีและป่วยด้วยโรคเรื้อรังน้อยลง

เรื่องน่าสนใจ