ที่มา: med.mahidol.ac.th

หากดื่มกาแฟในปริมาณที่มากกว่าปกติ มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหรือเปล่านะ? เพราะตอนนี้ เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า “กาแฟ” เป็นเครื่องดื่มยอดนิยม โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงาน เพราะกาแฟมีสารคาเฟอีนที่ทำให้ตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า และรู้สึกสดชื่นตลอดวัน ซึ่งเป็นผลดีต่อการทำงานในชีวิตประจำวัน

 

หากดื่มกาแฟในปริมาณที่มากกว่าปกติ
ภาพจาก blogher.com

 

แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข้อมูลของการเกิดมะเร็งจากการดื่มกาแฟออกมา กลายเป็นข้อสงสัยอยู่ว่าข้อมูลดังกล่าวจริงเท็จอย่างไร และถ้าหากเป็นความจริง อัตราความเสี่ยงของกาแฟจะทำให้เกิดมะเร็งมากหรือน้อยแค่ไหนกัน

 

หากดื่มกาแฟในปริมาณที่มากกว่าปกติ มีความเสี่ยงหรือเปล่านะ?

ความเชื่อที่ว่า การดื่มกาแฟทำให้เป็นมะเร็งนั้นมาจากสารในกาแฟที่ชื่อว่า “อะคริลาไมด์” (Acrylamide) เป็นสารที่สัมพันธ์กับโรคมะเร็ง หากร่างกายได้รับสารดังกล่าวเกินปริมาณที่กำหนดไว้ จะมีความเสี่ยงและทำให้เป็นมะเร็งได้ โดยสารชนิดนี้สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีการนำมาผ่านความร้อนสูง เช่น ขนมอบกรอบที่ต้องผ่านการทอดด้วยความร้อนสูง เป็นต้น รวมถึงกาแฟก็เช่นกัน ที่อาจเกิดสารอะคริลาไมด์ได้จากขั้นตอนการคั่วกาแฟ รวมถึงขั้นตอนการทำกาแฟสำเร็จรูปที่ทำให้เกิดสารอะคริลาไมด์อีกครั้งหนึ่ง

 

หากดื่มกาแฟในปริมาณที่มากกว่าปกติ

 

มีตัวเลขกำหนดไว้ว่าร่างกายควรได้รับสารอะคริลาไมด์ไม่เกิน 2.6 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หากได้รับมากกว่าที่กำหนดไว้จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ซึ่งจากการศึกษาของประเทศโปแลนด์พบว่าในกาแฟคั่วบดหรือกาแฟสด 160 ซีซี (ประมาณ 1 แก้ว) มีสารอะคริลาไมด์ 0.15-1 ไมโครกรัม แสดงว่าหากคนที่มีน้ำหนักตัว 40 กิโลกรัม จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งจากการดื่มกาแฟได้นั้น ต้องได้รับสารอะคริลาไมด์เกิน 40×2.6 = 104 ไมโครกรัม โดยในกาแฟ 1 แก้วมีสารอะคริลาไมด์ 0.15-1 ไมโครกรัม แปลว่าในคนที่มีน้ำหนัก 40 กิโลกรัมจะต้องบริโภคกาแฟมากกว่า 104 แก้ว จึงจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง แสดงให้เห็นว่าการดื่มกาแฟในปริมาณปกตินั้น ไม่ได้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งแต่อย่างใด

 

หากดื่มกาแฟในปริมาณที่มากกว่าปกติ

ผลลัพธ์อื่นจากการดื่มกาแฟ

ในกาแฟมีคาเฟอีน ทำให้ตื่นตัว สดใส กระปรี้ประเปร่า มีผลข้างเคียงเล็กน้อย ได้แก่ ทำให้ชีพจรเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้นเล็กน้อย จึงไม่เหมาะกับคนที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ยังควบคุมโรคได้ไม่ดี

กาแฟมีความเป็นกรดพอสมควร จึงทำให้เกิดการระคายเคืองที่กระเพาะอาหาร จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยกรดไหลย้อน เพราะจะกระตุ้นให้ตัวโรคมีอาการรุนแรงขึ้น
ฤทธิ์ของคาเฟอีนที่ทำให้ตื่นตัวหากได้รับผิดเวลาจะทำให้นอนไม่หลับ ข้อแนะนำคือควรได้รับในช่วงครึ่งเช้าของวัน

••••••••••••••••••

การศึกษาฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ของกาแฟทั้งหมดเป็นการศึกษาในกาแฟดำ การดื่มกาแฟที่ใส่ครีมหรือน้ำตาลมากยังต้องระมัดระวังภาวะอ้วน ไขมันในเลือดสูง และน้ำตาลสูงจากน้ำตาล ครีม หรือครีมเทียมที่เติมเข้าไปด้วยนะคะ ^^

 

เรียบเรียงเนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ