หลายคนอาจจะเคยได้ยิน หรือได้รับการแชร์ต่อกันมาในโลกออนไลน์ ถึงเรื่อง ” 7 สิ่ง ที่ไม่ควรทานยามท้องว่าง” ซึ่งหนึ่งในนั้นได้มี “กล้วย” รวมอยู่ด้วย

12

โดยระบุว่า “คนส่วนใหญ่มักเชื่อกันว่า การทานกล้วยเยอะๆ จะทำให้ระบบขับถ่ายดี แต่มักลืมกันไปว่าหากทานกล้วยในช่วงเวลาตอนท้องว่างแล้ว นอกจากจะทำให้ท้องอืด ยังจะเพิ่มธาตุแมกนีเซียมในเลือดให้สูงขึ้น ทำให้สูญเสียสัดส่วนของแคลเซียมและแมกนีเซียมซึ่งเป็นการยับยั้งการทำงานของหลอดเลือดหัวใจ อันเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก”

อย่างไรก็ตาม นายเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์ในเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ถึงกรณีดังกล่าวว่า

“ท้องว่างก็กินกล้วยได้ (ถ้าไม่ได้เป็นกรดไหลย้อน)”

กล้วยอุดมด้วยแม็กนีเซียมก็จริง แต่ถึงกินเข้าไปตอนท้องว่าง มันก็ไม่ได้จะเพิ่มระดับแม็กนีเซียมในเลือดปรู้ดปร้าด อันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจอย่างที่กลัวกัน

แม็กนีเซียมนั้นจะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก ไม่ใช่ที่กระเพาะ กล้วย 1 ลูก หนักประมาณ 100 กรัม มีแม็กนีเซียม 43 มิลลิกรัม และดูดซึมเพียง 30% หรือประมาณ 12.3 มิลลิกรัม ขณะที่ระดับแม็กนีเซียมสูงสุดที่ร่างกายไม่ควรได้เกิน คือ 700 มิลลิกรัมต่อวัน  แปลว่า ต้องกินกล้วยมากถึง 55 ลูก !! จึงจะเป็นปัญหาได้

บางคนอ้างต่อถึงโปแตสเซียมในกล้วยที่มีอยู่สูง (นักกีฬาจึงนิยมกินกล้วย เพื่อเสริมเกลือแร่ระหว่างแข่งขัน) ว่าจะเป็นปัญหาต่อหัวใจเช่นกัน ซึ่งก็ไม่ใช่อีก เพราะไตสามารถขับเกลือแร่ต่างๆ ส่วนเกิน อย่างเช่น โปแตสเซียมได้มากถึง 30,000 มิลลิกรัมต่อวัน

11.jpg

แต่จากการที่กล้วยมีน้ำตาลสูง ทำให้เมื่อกินเข้าไปแล้ว กระเพาะจะหลั่งน้ำย่อยออกมามาก และอาจทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ในบางคน

 สรุปว่า คนปรกติทั่วไป สามารถกินกล้วยได้เวลาท้องว่าง ไม่เป็นปัญหาอะไร  แค่แนะนำให้ค่อยๆเคี้ยว อย่าอมกลืนไปทั้งลูก เดี๋ยวติดคอตาย

ที่มา มติชน

เรื่องน่าสนใจ