ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม เผยตั้งคณะกรรมการสอบ ผู้พิพากษา อาละวาดที่กรมการขนส่งทางบก ยอมรับมีประวัติป่วยทางจิต ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ เรียกกลับมาประจำ สนง.ศาล เผยเป็นคนเดียวกับที่ปากล่องข้าวใส่รถบิ๊กแจ๊ด…

EyWwB5WU57MYnKOuX4BAm2KIoZReUmf1Xe7OdfCBMCG2JZ49YkAb3g

เมื่อวันที่ 21 ม.ค.59 นายสืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม ได้แถลงยอมรับว่าผู้หญิงที่ปรากฏในคลิปวิดีโออ้างเป็นผู้พิพากษา เข้าไปติดต่อราชการ ที่กรมการขนส่งทางบก และด่าทอเจ้าหน้าที่ หลังพบว่ารถยนต์ของตัวเองที่จอดไว้หน้าอาคารถูกใบสั่ง พร้อมแสดงบัตรประชาชนแล้วตะโกนลั่นว่า “มึงสังวรไว้นะว่ากูน่ะเป็นนายของมึง” ก่อนที่จะขับรถออกไป ซึ่งคลิปดังกล่าวถูกส่งต่อไปอย่างแพร่หลาย และมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสม นั้น คือ นางสาวชิดชนก แผ่นสุวรรณ ผู้พิพากษาประจำสำนักงานศาลยุติธรรม ช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งมีประวัติป่วยทางจิต ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ และต้องทานยารักษาตลอดเวลา โดยมีอาการดังกล่าวมาประมาณ 2 ปี แล้ว

ทั้งนี้ ทราบว่าก่อนเกิดหตุนางสาวชิดชนก ไม่ได้ทานยา อาการป่วยจึงกำเริบ ไม่สามารถควบคุมสติอารมณ์ตัวเองได้

อย่างไรก็ตาม ประธานศาลฎีกา ทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว และสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว พร้อมมีคำสั่งให้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ ที่สำนักงานศาลยุติธรรม ระหว่างรอผลการสอบสวน หากพบว่าบกพร่องต่อหน้าที่ จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ หรือหย่อนความสามารถในการทำงาน มีโทษสูงสุด คือให้ออกจากราชการ แต่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ

039dc6

โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม ยังยอมรับว่านางสาวชิดชนก ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษามากว่า 10 ปีแล้ว และเคยถูกดำเนินคดี ฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน กรณีจอดรถกีดขวางการจราจร บริเวณถนนพหลโยธิน หน้าศาลอาญา เมื่อ ปี 2555 ถูกศาลพิพากษาปรับ 1 พันบาท และยังถูกดำเนินคดีฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานและทำให้เสียทรัพย์ กรณีปาข้าวกล่องใส่รถ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เมื่อปี 2556 และศาลพิพากษา จำคุก 2 เดือน ปรับ 2 พันบาท แต่รับสารภาพมีเหตุลดโทษ โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา 1 ปี และจากกรณีดังกล่าว สำนักงานศาลยุติธรรม ได้มีคำสั่งให้นางสาวชิดชนก ไปช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยทำงานด้านเอกสาร ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาคดี

“ที่ผ่านมามีผู้พิพากษา เข้าข่ายหย่อนความสามารถในการทำงาน อาทิ เจ็บป่วย เป็นโรคหลอดเลือดในสมองตีบตัน มะเร็ง รวมถึงอาการทางจิต เช่นเดียวกับนางสาวชิดชนก หลายคน ซึ่งถูกย้ายให้ไปทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีความ และให้ออกจากราชการ ถูกลงโทษแตกต่างกันไป” โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าว

เรื่องน่าสนใจ