เนื้อหาโดย Dodeden.com

อันที่จริง ประเด็นการกินผลไม้แล้วอ้วนหรือไม่นั้น มีข้อโต้แย้งกันมานาน เพราะแม้ว่าผลไม้จะอุดมไปด้วยสารอาหารและควรจัดอยู่ในอาหารสําหรับการไดเอ็ท แต่ข่าวร้ายคือผลไม้สดมีทั้งแคลอรีและคาร์โบไฮเดรต คู่หูตัวฉกาจที่จะยับยั้งกระบวนการลดน้ำหนักของคุณ เราจึงจะมาแจกแจงข้อโต้แย้งทั้งสองฝั่งให้คุณพิจารณาค่ะ

คาร์โบไฮเดรตในผลไม้นั้นไม่ได้มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากนัก เพราะผลไม้ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ นอกจากนี้ ผลไม้ยังมีใยอาหารจํานวนมากที่ดีต่อร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้การย่อยอาหารเป็นไปอย่างช้าๆ ทําให้ร่างกายอิ่มเร็วขึ้น เช่น ราสป์เบอร์รี่ จำนวนหนึ่งถ้วย มีไฟเบอร์ถึง 8 กรัม โดยผลไม้จําพวกเบอร์รี่เป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี สามารถช่วยลดความดันเลือด ลดภาวะเครียดจากออกซิเดชั่น และในบางครั้งก็ทํางานในระดับดีเอ็นเอ ที่ช่วยเรื่องการลดน้ำหนักด้วย

ผลไม้เป็นอุปสรรค์ในการลดน้ำหนัก จริงหรือ?
อาจเป็นเพราะระดับของฟรักโทสที่สูงในผลไม้ คือสาเหตุหลักที่หลายคนที่กําลังไดเอ็ทไม่เลือกผลไม้ให้เป็นหนึ่งในเมนูเพื่อลดน้ำหนัก ในขณะที่น้ำตาลกลูโคสนั้นสามารถแปรเป็นพลังงานและถูกส่งไปตามกล้ามเนื้อ สมอง และอวัยวะอื่นๆ แต่ฟรักโทสนั้นกระตุ้นการสร้างไขมันในตับเพื่อสะสมไว้ใช้ในเวลาต่อมา และการบริโภคฟรักโทส จะทําให้รู้สึกอิ่มน้อยกว่ากลูโคส และบางทีหวานกว่า ทําให้ผู้บริโภคติดใจในรสชาติและออกฤทธิ์ต่อสมองส่วนความสุข ทําให้อยากกินอีกนั่นเอง และหากคุณกําลังควบคุมน้ำหนักอยู่ การควบคุมปริมาณแคลอรี่และคาร์โบไฮเดรต เป็นเรื่องปกติที่ควรจะต้องเคร่งครัด โดยปกติแล้ว ผู้ลดน้ำหนักจะมีการกําหนดปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่จะบริโภคในแต่ละวันให้ได้วันละ 100 กรัม หากใช้ทฤษฎีนี้ ผลไม้บางชนิดอาจเกินโควต้าคาร์โบไฮเดรตของคุณโดยไม่รู้ตัว เช่น หากคุณกินแอปเปิ้ลเกินหนึ่งผล และกล้วยเกินสองผล เพราะกล้วย 1 ผลมี 100 แคลอรี่  และคาร์โบไฮเดรต 27 กรัม ในขณะที่แอปเปิ้ลหนึ่งผล มีแคลอรี่สูงถึง 115 และคาร์โบไฮเดรต 30 กรัม เลยทีเดียว ใจความสําคัญคือ ผลไม้นั้นไม่ใช่อาหารเพื่อการลดน้ำหนัก ที่กินเมื่อไหร่หรือตอนไหนก็ได้ เพราะคุณอาจเพิ่มจํานวนคาร์โบไฮเดรตโดยที่คุณไม่รู้ตัว

ถึงเเม้ว่าผลไม้จะไม่ใช่อาหารเพื่อการลดน้ำหนักแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็มั่นใจได้ว่า ผลไม้จะไม่ทำให้คุณอ้วนขึ้นแน่นอน (ถ้ากินแต่พอดีและหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำด้วยนะคะ)

เรื่องน่าสนใจ