ที่มา: wikipedia.org

เรียบเรียงเนื้อหาโดย Dodeden.com

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงใช้ดนตรีเป็นสื่อในการเชื่อมความเข้าใจ และความสัมพันธ์ทางความรู้สึกที่แน่นแฟ้น ลึกซึ้งระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชน และนิสิตนักศึกษา ทั้งนี้เพราะทรงถือว่า ดนตรีเป็นภาษาสากลที่ข้ามเครื่องกีดขวางทางภาษา วัย ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้ เมื่อเสด็จเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการ ก็ทรงดนตรีร่วมวงกับนักดนตรีที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น หลุยส์ อาร์มสตรอง และวงดนตรีเบนนี่ กู้ดแมนของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างดี จนทั่วโลกยอมรับพระอัจฉริยะในด้านนี้ของพระองค์

เพลงพระราชนิพนธ์จากพระองค์ท่าน ที่เรามักจะเคยได้ยินกันมาเเล้วนั้น ยังถือว่าเป็นส่วนน้อย เพราะเเท้จริงเเล้ว พระองค์ทรงประพันธ์บทเพลงทั้งเนื้อร้อง และทำนองเอาไว้หลายเพลงด้วยกันค่ะ

เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก 
ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช
เป็นงานทดลองของพระองค์ในจังหวะบลูส์ 

 

ทรงพระราชนิพนธ์ ในขณะยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช
เป็นงานทดลองของพระองค์ในจังหวะฟ็อกซ์ทร็อต 

 

ทรงพระราชนิพนธ์ขณะทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช
เป็นงานทดลองของพระองค์ในจังหวะวอลท์ซ 

 

ทรงพระราชนิพนธ์ในขณะทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช 

 

ทรงพระราชนิพนธ์หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ
และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

 


โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
และพระราชทานชื่อว่า Never Mind the H.M Blues
เป็นการตอบปริศนาคำทายที่ว่า H.M. แปลว่าอะไร ของเพลง H.M. Blues

 

พระราชทานให้เป็นเพลงประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
เพื่อไว้ใช้ในพิธีสวนสนาม หลังจากนั้น ผบ.กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
ได้มอบหมายให้พันตรี ศรีโพธิ์ ทศนุต แต่งคำร้องภาษาไทยถวาย มีห้องเพลงยาวกว่าเดิม
จึงขอพระราชทานทำนองเพิ่มเติมเพื่อให้เข้ากับคำร้องในการแก้ไขทำนองให้เข้ากับคำร้องนี้
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) ช่วยตรวจทาน
และได้พระราชทานนามเพลงพระราชนิพนธ์นี้ว่า “มาร์ชราชวัลลภ”

 

ทรงพระราชนิพนธ์ขณะประทับแรมบนภูเขาในเมืองดาโวส์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

 

ทรงพระราชนิพนธ์ ขณะประทับ ณ เมืองดาโวส์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 

 

พระราชทานเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ให้เป็นเพลงประจำสถาบันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นิสิตและบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะยืนตรงเมื่อเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ดังขึ้น

 

ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
นิพนธ์คำร้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

ทรงพระราชนิพนธ์ในพ.ศ. 2492
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
นิพนธ์คำร้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นเพลงในจังหวะวอลท์ซ

 

ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494
เมื่อเสด็จนิวัตพระนครและประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง
จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง “พรปีใหม่” แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ
วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495

 

พระราชทานให้นำออกบรรเลงในงานของสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษ
ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เมื่อวันที่ 2กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495

 

พระราชทานให้นำออกบรรเลงในงานของสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา ในพระบรมราชูปถัมภ์
ณ สโมสรสวนสราญรมย์ เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เป็นเพลงในจังหวะฟอกซ์ทร็อต

 

 

เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพื่อเป็นการปลอบขวัญและให้กำลังใจแก่คนตาบอด
แล้วพระราชทานให้นำไปบรรเลงในงานสมาคมช่วยคนตาบอด ในพระบรมราชูปถัมภ์
ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันเสาร์ที่ 1 มีนาคม 2495 

 

หรือ The Colours March
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่กองทัพไทย
เพื่อใช้ในการเชิญธงไชยเฉลิมพลในพิธีการของกองทัพ

 

พระราชทานให้นำไปบรรเลงในงานรื่นเริงประจำปี
ของสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาในพระบรมราชูปถัมภ์
ณ สโมสรสวนสราญรมย์ เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2497 

 

 

เพลงซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงประพันธ์ทำนอง
และสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ประพันธ์คำร้อง

 

ทรงพระราชนิพนธ์ เพื่อเป็นเพลงประจำวงดนตรี “ลายคราม”
โดยบรรเลงทุกครั้งที่ทรงดนตรีกับวงลายคราม พระราชทานออกบรรเลงครั้งแรกทางสถานีวิทยุ อ.ส.
ประพันธ์คำร้องโดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

พระราชทานให้นำออกบรรเลงในงานของสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาในพระบรมราชูปถัมภ์
ณ สโมสรสวนสราญรมย์ เมื่อวันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498
เพลงพระราชนิพนธ์นี้ไม่มีคำร้องภาษาไทย

 

พระราชทานให้นำออกบรรเลงในงานรื่นเริงประจำปี ของสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์
ณ เวทีลีลาศสวนลุมพินี เมื่อวันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498
เพลงพระราชนิพนธ์ นี้ไม่มีคำร้องภาษาไทย

 

พระราชทานให้แก่ วงลายคราม ซึ่งเป็นวงดนตรีแจ๊สส่วนพระองค์
ที่ทรงตั้งขึ้นหลังจากเสด็จนิวัตประเทศไทย บรรเลงครั้งแรกทางสถานีวิทยุ อ.ส.

เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 24
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ ร่วมกับท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา
และท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ประพันธ์คำร้องภาษาไทย

 

พระราชทานให้นำออกบรรเลงครั้งแรก ในงานของสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาในพระบรมราชูปถัมภ์
ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2500

 

เพลงพระราชนิพนธ์ ไกลกังวล หรือ When หรือ เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย
ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองขณะประทับอยู่ที่วังไกลกังวล ในพ.ศ. 2500
เพื่อพระราชทานให้เป็นเพลงประจำวงดนตรี “อ.ส.วันศุกร์” ใช้บรรเลงเป็นเพลงสุดท้ายก่อนเลิกเล่นดนตรี
ได้พระราชทานให้นำออกบรรเลงในงานสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์
ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2500 

 

เพลงพระราชนิพนธ์นี้มีลีลาชดช้อย อ่อนหวาน สง่างาม
เหมาะสำหรับประกอบการเต้นบัลเล่ต์ จึงได้พระราชทานให้อัญเชิญไปประกอบการแสดงบัลเล่ต์
ในงานสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 ต่อมาได้นำออกบรรเลง
ในงานสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501

 

พระราชทานให้นำออกบรรเลงครั้งแรก ในงานสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาในพระบรมราชูปถัมภ์
ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมี่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
และพระราชทานให้บรรเลงในงานสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์
ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502

 

หรือ Royal Marines March
พล.ร.ต.สนอง นิสาลักษณ์ ผู้บัญชาการกรมนาวิกโยธินในขณะนั้น
ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพลงประจำกรมนาวิกโยธิน
ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2502
และได้โปรดเกล้าฯให้นำออกบรรเลงครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2502
โดยวงดนตรีประจำกองเรือที่ 7 ของสหรัฐอเมริกา ในโอกาสที่นาวิกโยธินอเมริกัน
ประจำกองเรือที่ 7 ของสหรัฐอเมริกาเดินทางมาเยือนประเทศไทย

 

เพลงพระราชนิพนธ์ ภิรมย์รัก หรือ A Love Story เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 30
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ “A Love Story”
และพลเรือตรี ปรีชา ดิษยนันทน์ ประพันธ์คำร้อง ภาษาไทย “ภิรมย์รัก”

 

Nature Waltz หนึ่งในเพลงพระราชนิพนธ์ชุด Kinari Suite หรือ กินรี
เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ชุดที่ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2502
เพื่อประกอบการแสดงระบำบัลเล่ต์ ชุด มโนห์รา ทรงแยกและเรียบเรียงเสียงประสานด้วยพระองค์เองทั้งชุด
โปรดเกล้าฯ ให้วงดุริยางค์ราชนาวีบรรเลงประกอบการแสดงบัลเล่ต์ชุดมโนห์รา ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร

 

The Hunter หนึ่งในเพลงพระราชนิพนธ์ชุด Kinari Suite หรือ กินรี
เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ชุดที่ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2502
เพื่อประกอบการแสดงระบำบัลเล่ต์ ชุด มโนห์รา ทรงแยกและเรียบเรียงเสียงประสานด้วยพระองค์เองทั้งชุด
โปรดเกล้าฯ ให้วงดุริยางค์ราชนาวีบรรเลงประกอบการแสดงบัลเล่ต์ชุดมโนห์รา ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร

 

Kinari Waltz หนึ่งในเพลงพระราชนิพนธ์ชุด Kinari Suite หรือ กินรี
เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ชุดที่ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2502
เพื่อประกอบการแสดงระบำบัลเล่ต์ ชุด มโนห์รา ทรงแยกและเรียบเรียงเสียงประสานด้วยพระองค์เองทั้งชุด
โปรดเกล้าฯ ให้วงดุริยางค์ราชนาวีบรรเลงประกอบการแสดงบัลเล่ต์ชุดมโนห์รา ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร

 

ทรงพระราชนิพนธ์โอกาสที่เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเคนท์ สหราชอาณาจักร
เสด็จเยือนประเทศไทย ใน พ.ศ. 2502 โดยในครั้งนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 9
ไปรับด้วยพระองค์เองที่สนามบินดอนเมือง ระหว่างที่รอเครื่องบินลงจอดราว 10 นาที
พระองค์ก็ทรงตัดสินพระทัย ที่จะแต่งเพลงต้อนรับเจ้าหญิงในการมาเยือนครั้งนี้
ทรงประพันธ์ทำนองเพลงภายในเวลาไม่กี่นาที จากนั้นก็ทรงส่งโน้ตนั้น
ให้หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ประพันธ์เนื้อร้องให้กับทำนองเพลงนั้นทันที

 

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ครูเอื้อ สุนทรสนาน
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 ให้เป็นเพลงประจำวงดนตรีสุนทราภรณ์
ในโอกาสที่ก่อตั้งมาครบ 2๐ ปี นายเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวงจึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต
ตั้งชื่อเพลงว่า “พระมหามงคล” และได้อัญเชิญมาบรรเลงนำประจำวงสุนทราภรณ์มาจนทุกวันนี้

 

ทรงประพันธ์ทำนองและพระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
ใน พ.ศ. 2477 เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยได้ใช้เพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว
ซึ่งขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนนาคพันธุ์) ประพันธ์ เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย จน พ.ศ. 2504
นักศึกษากลุ่มหนึ่งเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขณะเสด็จมาทรงดนตรี
ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร ภายในพระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2504

 

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์ คำร้องภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เองเป็นเพลงแรก
ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ประพันธ์คำร้องภาษาไทยถวาย

 

ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองและคำร้องภาษาอังกฤษใน พ.ศ. 2508
ต่อมาใน พ.ศ. 2510 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค
และหม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ ประพันธ์คำร้องภาษาไทยถวาย

 

ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองและคำร้องภาษาอังกฤษพร้อมกันใน พ.ศ. 2508
ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายอาจินต์ ปัญจพรรค์
ประพันธ์คำร้องภาษาไทยถวาย ชื่อ “ไร้จันทร์”
ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค และหม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์
ประพันธ์คำร้องภาษาไทยถวายชื่อ “ไร้เดือน”

ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองและคำร้องภาษาอังกฤษพร้อมกันใน พ.ศ. 2508
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค
และหม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ ประพันธ์คำร้องภาษาไทยถวาย

 

ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองและคำร้องภาษาอังกฤษพร้อมกันใน พ.ศ. 2508
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร
ประพันธ์คำร้องภาษาไทยถวาย เพลงนี้วงดนตรีสุนทราภรณ์นำออกบรรเลงเป็นครั้งแรก
ในงานสังคีตมงคล ครั้งที่ 1 ณ บริเวณพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2509

 

พระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2509
ซึ่งจัดว่าเป็น 1 ใน 3 สถาบันการศึกษาที่พระองค์ได้พระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ให้เป็นเพลงประจำสถาบัน

 

เมื่อ พ.ศ. 2512 ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ได้รับพระราชเสาวนีย์ จากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
ให้เขียนบทกลอนแสดงความนิยมส่งเสริมคนดีให้มีกำลังใจทำงาน เพื่ออุดมคติเพื่อประเทศชาติ
ออกมาเป็นกลอน 5 บท สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถโปรดให้พิมพ์บทกลอนนี้
ลงในกระดาษการ์ดแผ่นเล็ก ๆ พระราชทานแก่ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน
และผู้ทำงานเพื่อประเทศชาติ เตือนสติมิให้ท้อถอยในการทำความดี
ต่อมา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอให้ในหลวงรัชกาลที่ 9
ทรงใส่ทำนองเพลงในคำกลอน “ความฝันอันสูงสุด” ใน พ.ศ. 2514 ขับร้องโดย ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค

 

นายสมภพ จันทรประภา ได้ประพันธ์กลอนสุภาพ 4 บท
จากพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่สมาชิกสภานิติบัญญัติที่เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
มาเขียนเป็นคำกลอนถวาย เมื่อทรงเกิดแรงบันดาลพระราชหฤทัย ที่จะทรงพระราชนิพนธ์เพลง “เราสู้”
พระราชทานให้เป็นของขวัญปีใหม่แก่ทหาร อาสาสมัครและตำรวจชายแดน
ทรงหยิบซองจดหมายใกล้พระหัตถ์มาตีบรรทัด 5 เส้น เพื่อทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง
เสร็จแล้วพระราชทานให้ วง อ.ส. วันศุกร์ ซึ่งกำลังบรรเลงอยู่ในงานวันขึ้นปีใหม่
1 มกราคม พ.ศ. 2517 นำออกบรรเลง ณ พระราชวังบางปะอิน
จากนั้นได้ทรงนำกลับไปแก้ไขก่อนจะพระราชทานออกมาให้วงดนตรี อ.ส

 

เพลงนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชเสาวนีย์ให้ร้อยตำรวจโทวัลลภ จันทร์แสงศรี
แต่งเนื้อเพลงให้แก่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือที่รู้จักในนามว่า “ทหารเสือพระราชินี”
แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงพระราชทาน

 

ทรงพระราชนิพนธ์เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นายอุทิตต์ ทินกร ณ อยุธยา นักดนตรี วง อ.ส. วันศุกร์
ที่ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2522 และได้พระราชทานให้วงดนตรี อ.ส.วันศุกร์
นำออกบรรเลงครั้งแรกทางสถานีวิทยุ อ.ส. เมื่อวันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2522

 

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอให้ในหลวงรัชกาลที่ 9
ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงสำหรับกลอนสุภาพ 3 บท
ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อพระชนมายุ 12 พรรษา

 

พระราชทานเป็นของขวัญวันพระราชสมภพครบ 72 พรรษา
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์
ด้วยทรงรำลึกได้ว่า สมเด็จพระเชษฐภคินี โปรดเสวยพระกระยาหารที่ทำจากไข่
เป็นแรงบันดาลพระราชหฤทัย ให้ทรงพระราชนิพนธ์ กอปรกับทรงพบโคลงสี่ “เมนูไข่”
ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อ พ.ศ. 2518

 

 

เรื่องน่าสนใจ