เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ที่ผ่านมา นครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เริ่มใช้งานหุ่นยนต์ตำรวจแห่งแรกของโลก ซึ่งจะออกปฏิบัติหน้าที่แทนตำรวจ โดยจุดเด่นของหุ่นยนต์ตำรวจคือ มีความสูง 5 ฟุต 5 นิ้ว หนัก 100 กิโลกรัม สามารถพูดได้ 6 ภาษา เชคแฮนด์และทำวันทยหัตถ์ได้
มีระบบอ่านการแสดงสีหน้าออกได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีแท็ปเล็ตให้ประชาชนแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย หุ่นยนต์สามารถรับ-ส่งข้อมูลจากสำนักงานใหญ่ได้ และสามารถจ่ายค่าปรับด้วยบัตรเครดิตบนหน้าจอได้อีกด้วย
ส่วนในประเทศไทยนั้น ก็มีหุ่นจำลองที่ทำหน้าที่แทนตำรวจจราจรด้วยเช่นกัน นั่นคือ “จ่าเฉย” ที่ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อปี 2551 เพื่อแบ่งเบาภารกิจของตำรวจจราจร
จุดเด่นคือ ป้องกันผู้ขับรถไม่ให้กระทำผิดและลดอุบัติเหตุ ส่วนงบประมาณการจัดสร้างจ่าเฉยนั้น มีมูลค่าตัวละ 2 หมื่นบาท รูปร่างหน้าตาเหมือนคนจริง ส่วนสูง 180 ซม. สวมเครื่องแบบตำรวจสีกากี พร้อมใบหน้าที่เคร่งขรึม
ต่อมาในช่วงต้นปี 2560 กองบังคับการตำรวจจราจร ได้พัฒนา จ่าเฉย โดยเพิ่ม “ระบบตรวจจับผู้ไม่สวมหมวกนิรภัยอัตโนมัติ” เมื่อพบผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายไปสวมหมวกนิรภัยขับผ่านกล้องวงจรปิดที่ติดไว้บนตัว จ่าเฉย ระบบจะตรวจจับพร้อมส่งข้อมูลเชื่อมต่อกับระบบออกใบสั่งของกองบังคับการตำรวจจราจร ซึ่งมีความแม่นถึง 84 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้หากนำหุ่นตัวแทนตำรวจของทั้งสองประเทศมาเปรียบเทียบกัน ก็จะพบข้อแตกต่างถึงหลายจุด และที่สำคัญนั้นก็คือเทคโนโลยีของหุ่นยนต์ตำรวจนครดูไบที่ก้าวล้ำทันสมัยกว่ามาก ซึ่งแตกต่างจากหุ่นจำลองตำรวจ จ่าเฉย ในประเทศไทย ที่ถึงแม้ในปีล่าสุดนี้มีความพยายามที่จะพัฒนา โดยนำเทคโนโลยีมาติดตั้งให้กับหุ่นแล้วก็ตาม แต่ก็ยังสามารถเห็นถึงข้อแตกต่างหากเปรียบเทียบกับหุ่นยนต์ตำรวจนตรดูไบได้อย่างชัดเจน
ภาพจาก PPTV