หน้าอกเป็นริ้ว ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนผ่าตัด เนื่องจากเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อยหลังการเสริมหน้าอก ตั้งแต่เริ่มมีการผ่าตัดมา ซึ่งได้มีการเริ่มบันทึกถึงภาวะนี้ครั้งแรกในปี 1983 โดย Dr.Boswick ในหนังสือเรียนทางการแพทย์ในสมัยนั้น
ปัญหานี้ มีสาเหตุในการเกิด 3 ประเภท ได้แก่
คุณภาพและปริมาณของเนื้อเยื่อหน้าอก
ถ้าหน้าอกมีเนื้อเดิมที่มีความยืดหยุ่น และมีปริมาณความหนามากกว่า 2 เซนติเมตร การเสริมหน้าอกจะช่วยให้ลักษณะหน้าอกมีทรงที่สวยงามขึ้น โอกาสการเกิดริ้ว ลอน คลื่น คลำได้ขอบย่อมน้อยกว่าคนที่ไม่มีเนื้อหน้าอกเลย
คุณภาพของซิลิโคนเต้านมเทียม
มีหลายงานวิจัยรายงานการศึกษาโอกาสของการเกิดภาวะหน้าอกเป็นลอนคลื่น มักเกิดในคนที่เสริมหน้าอกด้วยถุงน้ำเกลือมากกว่าถุงซิลิโคน นอกจากนี้ การใช้ซิลิโคนเต้านมเทียมทรงพุ่ง ยังมีรายงานการคลำขอบได้น้อยกว่าทรงแบนราบ และการวางซิลิโคนในขนาดที่ใหญ่เกิน มักจะมีภาวะการคลำได้ขอบ นมเป็นริ้ว เป็นลอนคลื่นได้มากกว่าการวางซิลิโคนขนาดเล็ก
เทคนิคการผ่าตัด
มีการศึกษาวิจัยในปี 2011 เกี่ยวกับเรื่องการวางซิลิโคน เปรียบเทียบเทคนิคต่างๆ เช่น บนกล้ามเนื้อ ใต้กล้ามเนื้อ และดูอัลเพลน พบว่า การวางซิลิโคนด้วยเทคนิค ดูอัลเพลน ช่วยลดอัตราการเกิดภาวะคลำได้ขอบ นมเป็นริ้ว ลอน คลื่น ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ เมื่อเทียบกับเทคนิคแบบอื่นๆ ช่วยให้หลังผ่าตัด มีลักษณะหน้าอกที่มีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคการวางใต้กล้ามเนื้อทั้งหมด
จะเห็นได้ว่า การป้องกันภาวะแทรกซ้อนปัญหาหน้าอกเป็นริ้ว หน้าอกเป็นลอน หน้าอกเป็นคลื่น หน้าอกเป็นบล็อค คลำได้ขอบ ประกอบด้วยหลายปัจจัย ซึ่งคนไข้ที่ต้องการรับการศัลยกรรมเสริมหน้าอก จำเป็นจะต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนผ่าตัดให้ดี เพื่อวางแผนร่วมกันในการผ่าตัดให้ได้ผลที่ดีและสวยงามที่สุด
เนื้อหาโดย Dodeden.com
สนใจหาข้อมูลและปรึกษาศัลยกรรมได้ที่นี่