ที่มา: Voice TV

ปีการศึกษาใหม่ที่จะเริ่มต้นในเดือน พ.ค.นี้ โรงเรียนไทยทั่วประเทศเตรียมนำภาษาอังกฤษมาตรฐานของยุโรปมาสอน หลังถูกวิจารณ์หนักว่าภาษาอังกฤษของเด็กไทยศักยภาพต่ำสุดในอาเซียน 

หลังจากมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนักถึงศักยภาพในการเรียนของเด็กไทยที่ต่ำที่สุดในอาเซียน โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ในปีการศึกษาใหม่ที่จะเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคมนี้ โรงเรียนทั่วประเทศไทยจะปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษด้วยการนำ Common European Framework of Reference for languages หรือ CEFR ซึ่งเป็นกรอบการเรียนการสอนภาษาของยุโรปที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายทั่วโลกมาใช้ ถือเป็นความพยายามที่จะยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง

09-100

CEFR แบ่งการเรียนการสอนภาษาอังกฤษออกเป็น 6 ระดับตั้งแต่ A1-C2 โดยแต่ละระดับมีการกำหนดชัดเจนว่าผู้เรียนต้องมีศักยภาพในการใช้ภาษาอังกฤษอยู่ในขั้นไหน โดยกระทรวงศึกษาธิการของไทยกำหนดให้นักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต้องมีความรู้ในระดับเบื้องต้นที่สุด คือ A1 ส่วนนักเรียนที่จบ ม.3 ต้องมีความรู้ในระดับ A2 ส่วนนักเรียนที่จบมัธยม 6 จะต้องมีความรู้ในระดับ B1 นั่นก็คือสามารถฟังและอ่านภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานในหัวข้อใกล้ตัวได้ พูดภาษาอังกฤษได้ในระดับสื่อสารเรื่องรอบตัวเข้าใจ รวมถึงเขียนจดหมายเป็นภาษาอังกฤษอย่างง่ายๆได้

09-101

 

การใช้มาตรฐาน CEFR จะแก้ปัญหามาตรฐานการวัดผลการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่กำกวมและแตกต่างกันในแต่ละโรงเรียนได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งที่ยังดูจะเป็นปัญหา ก็คือการนำมาตรฐานนี้ไปปฏิบัติจริงในโรงเรียน ว่าจะทำอย่างไรให้เด็กไทยเรียนรู้ได้ตามกรอบที่กำหนด เพราะในตอนนี้ แม้แต่ครูภาษาอังกฤษบางส่วนก็ยังไม่เข้าใจว่า CEFR หมายถึงอะไรกันแน่

เรื่องน่าสนใจ