กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมลงนามกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในการวิจัยและพัฒนามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (Thai Herbal Pharmacopoeia, THP) สำหรับพืชกัญชา พืชเสพติดและพืชสมุนไพรอื่นๆ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการรักษาผู้ป่วยที่ถูกต้องและเป็นไปตามกฎหมาย

 

กรมวิทย์ฯ

 

วันนี้ (24 กันยายน 2563) ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดนนทบุรี นายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยวิชาการ วิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ว่า การพัฒนายาจากกัญชาและพืชเสพติดที่มีประโยชน์ทางการแพทย์เป็นนโยบายของท่านอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้และมีความมั่นคงทางด้านยา การนำผลิตภัณฑ์กัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ทั้งในแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทย วัตถุดิบกัญชาและผลิตภัณฑ์ยากัญชาทุกชนิดจำเป็นต้องคุณภาพดีมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งในความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา การศึกษาวิจัยมาตรฐานยาสมุนไพรไทย (Thai Herbal Pharmacopoeia, THP) สำหรับพืชกัญชา พืชเสพติด และพืชสมุนไพรอื่นๆ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการรักษาผู้ป่วยภายใต้กรอบและเงื่อนไขที่ถูกต้องและเป็นไปตามกฎหมาย

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือครั้งนี้ เป็นการบูรณาการด้านวิชาการ การวิจัย และพัฒนา โดยทั้งสองหน่วยงานจะส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางด้านมาตรฐานยา ยาสมุนไพรไทยและเทคโนโลยีเชิงเกษตรกรรม (AgriTech) สำหรับสมุนไพรที่มุ่งเน้นพืชกัญชาและพืชเสพติดที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ ตลอดจนพืชสมุนไพรอื่นๆ แบบครบวงจร รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่สามารถนำเข้าสู่มิติใหม่ของการสร้างและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และมาตรฐานยาสมุนไพรไทย โดยมีการจัดระบบฐานข้อมูล (Database) และการจัดทำข้อมูลเฉพาะเรื่องกัญชาทางการแพทย์ (Medical Cannabis Monograph) ซึ่งรวมถึงพืชเสพติดที่มีประโยชน์ทางการแพทย์และพืชสมุนไพรอื่นด้วย

 

 

 

 

“ที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักยาและวัตถุเสพติด ได้มีการจัดทำตำรายาของประเทศไทย ฉบับเพิ่มเติมปี 2020 (Thai Pharmacopoeia II Volume I Part 1 Supplement 2020) ขึ้นมาเพื่อใช้อ้างอิงตามกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วยข้อกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์กัญชา จำนวน 2 มอโนกราฟ ได้แก่ สารสกัดกัญชา (Cannabis Extract) และน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้น (Cannabis Sublingual Drops) โดยข้อกำหนดมาตรฐานดังกล่าวได้จากการวิจัยและพัฒนาวิธีการตรวจเอกลักษณ์และวิธีวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญ ทั้งสาร tetrahydrocannabinol (THC) และ cannabidiol (CBD) รวมทั้งการปนเปื้อนจากสารกำจัดศัตรูพืช โลหะหนัก หรือเชื้อรา และปริมาณการตกค้างของตัวทำละลายที่ใช้สกัด (residual solvent) อีกทั้งยังมีข้อมูลด้านความปลอดภัย เช่น ข้อห้ามใช้ อาการข้างเคียงของยา รวมทั้งภาคผนวกที่เกี่ยวข้องจำนวน 42 เรื่อง ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดตำรายาผ่านช่องทาง Mobile Application ชื่อว่า “Thai Pharmacopoeia” หรือทางเว็บไซต์สำนักยาและวัตถุเสพติด https://bdn.go.th/tp/#home” นายแพทย์โอภาส กล่าว

 

 

 

สนใจหาข้อมูลและปรึกษาศัลยกรรมได้ที่นี่

โดดเด่น
ศัลยกรรม
webdodeden

 

เรื่องน่าสนใจ