kongjubreast3
ขอบคุณภาพจาก kongju clinic

วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการเสริมหน้าอกแบบส่องกล้องอย่างที่เคยเล่าไปว่า การเสริมหน้าอกกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ52ปีก่อนแผลผ่าตัดในตอนนั้นคือใต้ราวนม และรอบปานนมต่อมามีผู้หญิงหลายคนไม่อยากมีแผลที่เต้านม ดังนั้นเมื่อ45ปีก่อน หรือ7ปีหลังกำเนิดการเสริมหน้าอก ก็มีศัลยแพทย์คิดค้นการผ่าตัดเสริมหน้าอกจากแผลที่รักแร้ โดยการเลาะโพรงใส่ซิลิโคน นั้นใช้การกระทุ้งด้วยอุปกรณ์ลักษณะเป็นเหล็กปลายโค้งคล้ายเคียวเกี่ยวข้าว ขณะเลาะโพรงนั้นแพทย์จะไม่เห็นข้างในเลยเรียกว่า blind dissection

ข้อเสียของวิธีนี้คือ

1.การที่มองไม่เห็นข้างในทำให้โพรงที่ได้เป็นโพรงที่มีขอบเขตไม่แน่นอน บางครั้งเกิดความผิดพลาดทำให้ซิลิโคนอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องเกิดการผิดรูป
2.เวลาเลาะตัดเส้นเลือด ก็ไม่สามารถหยุดเลือดได้โดยตรง ต้องอาศัยการกดด้วยผ้าก๊อซช่วยหยุดเลือดซึ่งได้ผลไม่แน่นอน บางครั้งเกิดลิ่มเลือดคั่งด้านใน บวมเขียวช้ำมาก
3.การกระทุ้งนั้นก่อให้การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อมาก เกิดการอักเสบมาก หลังผ่าคนไข้จะมีอาการเจ็บปวดมาก ดังที่คนไข้บางคนบอกเหมือนรถทับ

ถึงแม้จะมีข้อเสียมาก แต่วิธีนี้ก็ยังเป็นวิธีที่นิยมในรายคนไข้ที่ไม่ต้องการมีแผลที่หน้าอกมาจนถึงปัจจุบัน

จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการเสริมหน้าอกผ่านแผลทางรักแร้ เกิดขึ้นเมื่อ20 ปีก่อน

ในยุคที่การผ่าตัดส่องกล้องกำลังโด่งดังเป็นที่นิยม มีศัลยแพทย์ตกแต่งท่านหนึ่งได้นำวิธีผ่าตัดส่องกล้องมาช่วยในการเสริมหน้าอกทางรักแร้โดยการนำท่อส่องกล้อง หรือendoscope สอดใส่จากแผลทางรักแร้ ทำให้สามารถมองเห็นภาพด้านในโพรงอย่างชัดเจน และทำการเลาะโพรง ผ่านทางกล้องนี้ เป็นการเลาะโพรงที่สามารถมองเห็นเนื้อเยื่อที่เราเลาะได้ ว่าเรากำลังเลาะเนื้อเยื่ออะไร ชั้นไหน และเห็นเส้นเลือด

การส่องกล้องจึงมีข้อดีที่มากำจัดข้อเสียของการกระทุ้ง คือ

1.สามารถเห็นสิ่งที่ทำการผ่าตัด ทำให้การเลาะโพรงมีความแม่นยำสูง เลาะโพรงได้ตามแผนที่วางไว้ และมั่นใจได้ว่าถุงซิลิโคนจะเข้าไปอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
2.สามารถมองเห็นเส้นเลือด ทำให้ระหว่างผ่าตัดจี้ตัดเส้นเลือดได้โดยไม่มีการเสียเลือด ถ้ามีจุดที่เลือกอออกก็สามารถจี้หยุดเลือดได้ การผ่าตัดจึงบวมช้ำน้อย
3.การผ่าตัดที่ใช้การเลาะโดยตรง การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจึงน้อยกว่า ส่งผลให้อากรเจ็บหลังผ่าตัดน้อยกว่า

หมอเคยมีคนไข้สองคนผ่าในเวลาไล่เลี่ยกัน คนนึงผ่าแบบกระทุ้ง อีกคนแบบส่องกล้อง สิ่งที่เห็นแตกต่างชัดเจนตอนวันแรกหลังผ่าในคนไข้สองคนนี้คือ คนไข้กระทุ้งจะหน้าตาเหยเก ขยับตัวลำบาก และบ่นเจ็บมาก ส่วนคนไข้ส่องกล้อง ยิ้มได้ทุกคน บ่นเจ็บนิดหน่อยขยับตัวได้ดี โดยประสบการณ์ส่วนตัวของหมอแล้วเรื่องอาการเจ็บหลังผ่า แบบส่องกล้องเจ็บน้อยกว่ามากอย่างชัดเจนครับ

มาดูกันคร่าวๆว่าการผ่าตัดเสริมหน้าอกแบบส่องกล้องทำอย่างไร

kongjubreast1
ขอบคุณภาพจาก kongju clinic

รูปที่1 คือการลงแผลที่รักแร้

รูปที่2 คือองค์ประกอบของท่อส่องกล้อง endoscope จะเป็นเหล็กยาว มีเลนส์ด้านหน้า และ ตรงปลายท่อจะมีหัวจี้ หรือ dissector ใช้สำหรับเลาะเนื้อ โดยจะมีผู้ช่วยถือ ตัวยกเนื้อหรือ retractorอยู่ด้านบน
รูปที่3 คือวิธีการผ่าตัด หมอจะสอดกล้องพร้อมหัวจี้ เข้าไปทางแผลรักแร้ โดยมีพยาบาลผู้ช่วยยกเนื้อที่เลาะออกแล้วขึ้น
รูปที่4 ภาพการ์ตูนมุมกว้างออกมา จะเห็นว่าหมอจะมองภาพจากกล้องทาง จอภาพหรือ monitor ดังนั้นจะเห็นเนื้อเยื่อที่กำลังเลาะอยู่อย่างชัดเจน
รูปที่5 ภาพภายในโพรงจากกล้อง ระหว่างกำลังเลาะโพรง จะเห็นหัวจี้อยู่ตรงกลาง กำลังตัดกล้ามเนื้อส่วนล่างของโพรงออก
รูปที่6 ภาพตัวอย่างคนไข้หลังการผ่าตัด1เดือน และแผลที่รักแร้ ซึ่งยังเข้มอยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เกิน6 เดือน แผลจะจางลงจนใกล้เคียงผิวปกติ ขนาดของแผลอาจขึ้นกับขนาดซิลิโคน

หลังจากอ่านบทความนี้ หวังว่าผู้สงสัยตั้งคำถามมาจะมีความเข้าใจมากขึ้นมนเรื่องการเสริมหน้าอกแบบส่องกล้อง และสามารถเลือกตัดสินใจได้ดีมากขึ้นว่าอยากทำแบบไหน ในส่วนตัวหมอทำผ่าตัดเสริมหน้าอกมาทุกแบบแล้วขอบอกอย่างสัตย์จริงและจริงใจว่า การเสริมหน้าอกโดยการส่องกล้องผ่านทางรักแร้นี้เป็นการผ่าตัดที่ดีที่สุดที่เหมาะสมกับคนไทยครับ

kongjubreast2
ขอบคุณภาพจาก kongju clinic

จากรูปด้านบนนี้คนไข้ผ่าตัดเสริมหน้าอกแบบส่องกล้องผ่านไป 1วัน หลังผ่า Pain score 0-10 คนไข้ให้ความเจ็บแค่2 หมายถึงเจ็บน้อยมาก นี่คือข้อดีข้อสำคัญของการผ่าตัดแบบส่องกล้อง เจ็บน้อย บวมช้ำน้อย

 

บทความโดย นพ.ธนคม ใหลสกุล

ศัลยแพทย์ตกแต่ง

 kongjulogo

 

 

 

Clinic : 086-691-9969, 02-693-6198, 02-693-7143
Hotline : 094-948-2226
Line ID : kongjuclinic.thon
FB : www.facebook.com/kongjuclinic
www.kongjuclinic.com

เรื่องน่าสนใจ