กินจุบจิบ ตลอดเวลาอาจนำพาโรค เพราะเราไม่เคยกําหนดการกินอย่างเอาจริงเอาจัง เลยเกิดปัญหาสะสมมากมายตามมา แม้กระทั่งเบอร์เกอร์ที่รสชาติดีที่สุด ก็ให้ผลเสียต่อสุขภาพได้ หากกินทั้งที่ไม่หิว เมื่อเรายังไม่เต็มอิ่มกับมัน มีโอกาสสูงที่เราจะหาอะไรกินเพิ่ม

กินจุบจิบตลอดเวลาอาจนำพาโรค

แต่ที่แย่ไปกว่านั้น งานวิจัยชิ้นหนึ่งค้นพบว่า การกินอาหารและรับแคลอรี่เข้าสู่ร่างกายเกือบตลอดเวลา ทําให้ตับต้องเก็บกักไขมันเพิ่มขึ้น ซึ่งนําไปสู่อาการต้านอินซูลิน และเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 

 

3 เคล็ดลับเจ๋งๆ ที่ช่วยให้คุณเบรคตัวเอง ไม่ กินจุบจิบ ตลอดเวลา

ถึงแม้ผลการวิจัยจะเป็นเช่นนั้น คงไม่ต้องถึงกับอดอาหารตลอดทั้งวันหรอกค่ะ หากคุณกินในปริมาณที่พอดีๆ ขนมเหล่านี้จะช่วยเพิ่มพลังงาน และบรรเทาอาการหิวโหยอย่างมีประสิทธิภาพ ลองทําตามขั้นตอนต่อไปนี้ เพื่อฝึกวินัยในการกินจุบจิบดูสิคะ 🙂

ฟังเสียงท้องตัวเอง
นี่พูดจริง ถ้ากระเพาะไม่ได้ส่งเสียงประท้วงให้เติมอาหารเข้าไป อย่ากินค่ะ งานวิจัยล่าสุดพบว่า คนอเมริกัน 62% สารภาพว่า พวกเขากินจุบจิบเพราะอยากกิน 25% โอดครวญว่าเพราะรู้สึกเบื่อ อีก 16% อ้างว่าเครียด

ปล่อยให้มือว่างบ้างก็ได้
การตุนอาหารไว้ในรถเผื่อฉุกเฉิน ฟังดูเข้าท่านะ แต่ถ้าคุณแกะออกมากินทุกครั้งที่ติดไฟแดง นี่ไม่ใช่แล้วล่ะ เพราะในทางชีววิทยา ร่างกายคนเรามักเกิดอารมณ์อยากกินเสมอเมื่อเห็นอาหาร การเอาอาหารไปวางไว้ในที่ลับสายตาถือเป็นกลยุทธ์ที่เวิร์คมากๆ

แบ่งมื้อ กินมื้อ
นับปริมาณแคลอรีที่คุณควรได้รับต่อวัน แล้วแยกการกินโดยแบ่งตามความถี่ที่คุณชอบกิน หากคุณติดนิสัยกินครบ 3 มื้อ แต่ละมื้อชามโต (660 แคลอรี่ต่อมื้อ สําหรับพลังงานทั้งหมด 2,000 แคลอรี่ต่อวัน) หากคุณติดขนมละก็ ต้องกินก่อนมื้อกลางวันและมื้อเย็น ที่สําคัญต้องลดปริมาณอาหารมื้อหลักเหลือแค่ 500 แคลอรี และขนม 250 แคลอรี

•••••••••••••••••••••

ที่จริง เป้าหมายของการกินจุบจิบคือการเติมพลังให้อยู่รอดไปจนถึงมื้อหน้า เลี่ยงอาหารผ่านกระบวนการแปรรูป เน้นกินเมนูที่มีสารอาหาร 2 ใน 3 ชนิดนี้ คือ โปรตีน ไฟเบอร์ และไขมันดี แต่อย่าลืมจํากัดปริมาณด้วยล่ะ เพราะอาหารอย่างถั่ว และผลิตภัณฑ์จากนมนั้น ให้พลังงานสูง แม้กินเข้าไปแค่นิดเดียว และคุณ ต้องรู้ว่ามันทําให้อิ่มท้องนานแค่ไหน

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

 

เรื่องน่าสนใจ