เนื้อหาโดย Dodeden.com

พระราชกรณียกิจมากมาย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงทํา ไม่ว่าจะเป็นโครงการต่างๆ ทรงแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ปัญหาแห้งแล้ง หรือแม้แต่ทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในถิ่นทุรกันดาร

พระองค์แทบไม่เคยประกาศสิ่งที่ทรงทําเลย มีมากมายหลายสถานที่ที่ทรงไปเยี่ยมเยียนราษฎรที่ไม่ได้ออกข่าวในพระราชสํานัก เพราะทรงไปเยี่ยมช่วงดึกบ้าง ถิ่นทุรกันดาร รถเข้ายาก ต้องเดินเท้าเป็นระยะทางไกล มีภยันอันตรายรอบด้าน ก็เสด็จพระราชดําเนิน โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก และภยันตรายรอบตัวเลย พอกลับมาที่วังแล้ว ก็ทรงงานต่อถึงดึกดื่น เพื่อประโยชน์ของประชาราษฎร์โดยแท้จริง

คําว่า “ปิดทองหลังพระ” นั้นเป็นสํานวนไทยโบราณ หมายความว่า การทําความดีโดยไม่มุ่งหวังให้ใครรู้ ไม่ได้ป่าวประกาศ ซึ่งคนอื่นก็จะไม่เห็น เปรียบเสมือนปิดทองอยู่หลังองค์พระพุทธรูป ดังนั้น สิงที่ควรทําคือให้ทําหน้าที่ของเราให้เต็มที่ และถือว่ารางวัลที่ได้กลับมาคือความสําเร็จของงานนั้นๆ เพราะถ้าทําความดีแล้วคาดหวัง ว่าจะได้อะไรตอบแทน ถ้าไม่ได้รับก็จะผิดหวัง พอผิดหวังก็มีความทุกข์ตามมาว่าทําไม ทําความดีแต่ไม่มีใครเห็น น้อยเนื้อต่ำใจ แต่ถ้าเราปิดทองหลังพระ คือทําความดี แต่ไม่คาดหวังว่าต้องมีใครรับรู้ เราก็จะไม่ทุกข์ อย่างน้อยตัวเราเองก็รับรู้ว่าเราได้ทําความดี แค่นี้ก็สุขใจ

matichon.co.th

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเล็งเห็นถึงประโยชน์ของ “การปิดทองหลังพระ” จึงพระราชทานพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ไว้ดังนี้

“…การทํางานด้วยน้ำใจรัก ต้องหวังผลงานนั้นเป็นสําคัญ แม้จะไม่มีใครรู้ใครเห็น ก็ไม่น่าวิตก เพราะผลสําเร็จนั้น จะเป็นประจักษ์พยานที่มั่นคง ที่พูดเช่นนี้เหมือนกับสอนให้ปิดทองหลังพระ การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจําเป็นก็ต้องปิด เพราะว่าที่จริงแล้ว คนโดยมากไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระ..จะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้”

“ในการปฏิบัติงานนั้นขอให้ทําหน้าที่เพื่อหน้าที่ อย่านึกถึงบำเหน็จรางวัลหรือผลประโยชน์ให้มาก ขอให้ถือว่าการทําหน้าที่ได้สมบูรณ์ เป็นทั้งรางวัลและประโยชน์อย่างประเสริฐ จะทําให้บ้านเมืองไทยของเราอยู่เย็นเป็นสุขและมั่นคง”

เรื่องน่าสนใจ