ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

ผู้ใช้งาน change.org รณรงค์ต่อต้าน พ.ร.บ.จีเอ็มโอเสรี ซึ่ง รบ.เพิ่งให้การอนุมัติ พร้อมเรียกร้อง สนช. พิจารณายกเลิก พ.ร.บ.การให้เสรีการตัดต่อพันธุกรรม จีเอ็มโอ เพื่อเกษตรกรไทย ไม่ตกเป็นเครื่องมือของผู้ผลิตปุ๋ยเคมีและเมล็ดพันธุ์ …

EyWwB5WU57MYnKOuYBn0zb7iWl1ycG8LDoPUJTgIBAwjqVFYIgRmFc

เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 58 ผู้ใช้งานเว็บไซต์ Change.org เริ่มรณรงค์เพื่อต่อต้าน พ.ร.บ.จีเอ็มโอเสรี ซึ่งทางรัฐบาลเพิ่งให้การอนุมัติ ภายใต้หัวข้อ “หยุด พ.ร.บ.จีเอ็มโอ ก่อนซ้ำเติมเกษตรกรไทยให้ตายคาแผ่นดินเกิด” ซึ่งหลังจากการอนุมัติของรัฐบาลในครั้งนี้ ได้สร้างประเด็นร้อนที่วิพากษ์กันในโซเซียลเน็ตเวิร์กอย่างมากมาย

ทั้งนี้ เจ้าของเรื่องยังกล่าวถึงประเด็นด้านสุขภาพผู้บริโภคในกรณีที่รับประทานอาหารที่มีกระบวนการผลิตจากการตัดต่อพันธุกรรมหรือ จีเอ็มโอ ว่า แม้ผู้บริโภคจะคิดว่าไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ในทางกลับกันผู้บริโภคต่างหากที่จะเป็นผู้จ่ายต้นทุนด้วยสุขภาพของตนเองโดยไม่มีใครมาชดเชย

ขณะเดียวกัน เรื่องดังกล่าวยังถูกพูดถึงในเฟซบุ๊กเพจ เกี่ยวกับการทำเกษตรทางเลือกหรือออแกนิกส์ฟาร์ม รวมไปถึงมูลนิธิและผู้ที่มีบทบาทด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสิทธิผู้บริโภค

ในแง่กฎหมาย พ.ร.บ. มีประเด็นหลักสำคัญ 9 ประการที่ละเลยและเพิกเฉย ได้แก่

  • ประเด็นที่ 1 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ยึดหลักความปลอดภัยไว้ก่อน
  • ประเด็นที่ 2 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้คำนึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม
  • ประเด็นที่ 3 ร่างกฎหมายฉบับนี้โดยหลักการคือการเปิดเสรีจีเอ็มโอ
  • ประเด็นที่ 4 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้บังคับให้ต้องทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
  • ประเด็นที่ 5 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้บังคับให้การขึ้นบัญชีปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมต้องทำการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ
  • ประเด็นที่ 6 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้กำหนดผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดจากจีเอ็มโอในบัญชีปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม
  • ประเด็นที่ 7 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่มีบทคุ้มครองเกษตรกรที่พืชผลถูกจีเอ็มโอปนเปื้อน
  • ประเด็นที่ 8 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ระบุหลักประกันทางการเงินกรณีเกิดความเสียหายจากจีเอ็มโอ และ
  • ประเด็นที่ 9 ร่างกฎหมายฉบับนี้ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างรุนแรง

โดยมีข้อเรียกร้องในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. พิจารณายกเลิก พ.ร.บ. การให้เสรีการตัดต่อพันธุกรรม จีเอ็มโอ เพื่อเกษตรกรไทยไม่ต้องตกเป็นเครื่องมือของผู้ผลิตปุ๋ยเคมีและเมล็ดพันธุ์.

เรื่องน่าสนใจ