ดื่มน้ำน้อย จนมีภาวะขาดน้ำ ระวังภาวะเสี่ยง “นิ่วต่อมน้ำลาย” เมื่อเมื่อพูดถึงคําว่า นิ่ว ใครๆ ก็จะคุ้นเคยว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินปัสสาวะ ถุงน้ำดี แต่รู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้ว นิ่ว ยังสามารถเกิดขึ้นที่บริเวณต่อมน้ำลายได้ด้วยเช่นกัน !!

 

ดื่มน้ำน้อย

 

ดื่มน้ำน้อย จนมีภาวะขาดน้ำ ระวังภาวะเสี่ยง “นิ่วต่อมน้ำลาย”

ต่อมน้ำลาย (Salivary Gland) คือต่อมที่ทําหน้าที่ในการผลิตน้ำลาย (Saliva) ซึ่งต่อมน้ำลายหลักของคนเรามีอยู่ 3 คู่ คือต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (Sublingual Gland), ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่าง (Submandibular Gland) และต่อมน้ำลายข้างกกหู (Parotid Gland)

นิ่วในต่อมน้ำลาย หรือท่อน้ำลาย คือ การสะสมของหินปูนในน้ำลาย ซึ่งมีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นแคลเซียม จึงทําให้น้ำลายมีการไหลออกมาได้น้อยลง โรคนิ่วต่อมน้ำลายส่วนใหญ่ มักพบที่บริเวณต่อมน้ำลายใต้คางทั้ง 2 ข้าง ส่วนต่อมน้ำลายบริเวณอื่นๆ เช่น ข้างกกหู ก็จะมีพบบ้าง แต่เป็นส่วนน้อย เป็นโรคที่ไม่อันตราย เพราะการมีก้อนนิ่วไม่ได้ส่งผลอันตรายถึงชีวิต แต่ก็จําเป็นต้องได้รับการรักษา เพราะจะเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ เช่น การอุดตันของท่อน้ำลาย การอักเสบเป็นฝีหนองได้

 

ดื่มน้ำน้อย
ภาพจาก beyondfive.org.au

 

สาเหตุหลักของการเกิดนิ่วต่อมน้ำลาย คือการดื่มน้ำน้อย มีภาวะขาดน้ำ เพราะเมื่อใดก็ตามที่ร่างกายขาดน้ําก็จะส่งผล ทําให้น้ําลายข้นเหนียวมีโอกาสที่จะไหลช้า และทําให้เกิดเป็นนิ้วได้ ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คือคนที่มีโรคประจําตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน, โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ ได้รับยาที่มีผลข้างเคียงที่ทําให้น้ําลายแห้ง, อายุที่เพิ่มมากขึ้นก็ทําให้ระบบการทํางานของ ต่อมน้ำลายลดลงหรือในคนที่ได้รับการ ฉายรังสีเพื่อรักษาโรคก็จะทําให้น้ําลายแห้งได้

ถึงแม้ว่า นิ่วในต่อมน้ำลาย จะไม่ใช่โรคที่อันตราย แต่อย่างไรก็ตาม ต้องได้รับการรักษาตามขั้นตอน โดยวิธีการรักษาโรคนิ่วต่อมน้ำลาย สามารถ ทําได้ 2 วิธี คือ

  • วิธีการส่องกล้อง
    คือ เมื่อตรวจพบว่ามีก้อนนิ่วเกิดขึ้นบริเวณท่อน้ำลาย และก้อนนิ่วมีขนาดเล็ก อาจพิจารณาใช้วิธีส่องกล้องเข้าทางท่อน้ำลาย และทําการสลายนิ่วให้เล็กลง ร่วมกับการนวดคลึงให้ก้อนนิ่วหลุดออก
  • วิธีการผ่าตัด
    คือ ผ่าตัดที่ท่อน้ำลายโดยตรง หรือผ่าตัดที่ต่อมน้ำลายที่เป็นนิ่วออกไป ขึ้นอยู่กับขนาดและตําแหน่ง
    ของนิ่วที่เป็น ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 30 นาที โดยมีแผลอยู่ในช่องปาก ไม่มีแผลภายนอก ใช้เวลาพักฟื้นหลังผ่าตัด 2-3 วัน ถึงจะกลับบ้านได้

…………………………………………………………………………………….

ถึงแม้ว่าจะได้รับการผ่าตัดนิ่วไปแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นใหม่ได้อีก ถ้ายังไม่ได้แก้ที่สาเหตุอาจจะเกิดที่จุดเดิม หรือเกิดบริเวณต่อมน้ำลายอื่นๆ อีก ทั้งนี้ เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ได้ ด้วยการดูแลตัวเอง ดื่มน้ำให้มากๆ โดยดื่มประมาณ 1.5 – 2 ลิตรต่อวัน ต้องรักษาความสะอาด ของช่องปากและฟันให้ดี ที่สําคัญ หากพบว่าตัวเองมีความผิดปกติเกี่ยวกับสุขภาพเพียงเล็กน้อย ก็ควรที่จะรีบไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรีบทําการรักษาโดยทันที

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ