ที่มา: dodeden

สนองนโยบายรัฐในการปราบปรามผู้กระทำความผิด อย. ร่วมกับ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เร่งรัดปราบปรามผู้กระทำความผิดอย่างจริงจังที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชนในวงกว้าง

ล่าสุดพบเยาวชนนำยาแผนปัจจุบันประเภทยาแก้ปวด ลักลอบผสมกับยาแก้ไอชนิดน้ำที่มีส่วนผสมของยาทรามาดอล แหล่งจำหน่ายอยู่ที่ร้านขายยาแผนปัจจุบัน นำมาเสพเพื่อทำให้เกิดอาการมึนเมาจนเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ก่อความวุ่นวายและปัญหาอาชญากรรม ต่าง ๆ ตามมา ยึดของกลางมูลค่ากว่า 1.5 ล้านบาท

จากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบว่ามีขบวนการลักลอบจำหน่ายยาแก้ปวดผสมกับยาทรามาดอล ยาแก้ไอ และยาแก้แพ้รายใหญ่หลายแหล่งอยู่ในพื้นที่เขตคลองสามวา จังหวัดมีนบุรีหนองจอก

โดยมีพฤติการณ์ลักลอบจำหน่ายยาแก้ปวดผสมกับยาทรามาดอล ยาแก้ไอ และ ยาแก้แพ้ ให้กับเยาวชน และ ส่งขายในพื นที่แถบภาคใต้ ดังนั้น เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 เจ้าหน้าที่ อย. ภายใต้การอำนวยการของ นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ ภญ.วารีรัตน์ เลิศนที ผู้อำนวยการศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรป.)

ร่วมกับตำรวจบก.ปคบ.นำทีมโดย พล.ต.ต.ประเสริฐ พัฒนาดี ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ธวัช ปิ่นประยงค์ , พ.ต.อ.บัณฑิต ทิศาภาค , พ.ต.อ.วัฒนา แก้วดวงเทียน พ.ต.อ.ชัยณรงค์ สมเพราะ รอง ผบก.ปคบ ได้สั่งการให้ พ.ต.อ.ทรงโปรดสิริสุขะ ผกก.4 บก.ปคบ ,พ.ต.ท.อภิชัย ไลออน , พ.ต.ท.จตุรงค์ ผลเกิด รอง ผกก.4 บก.ปคบ.พ.ต.ท.สุพจน์ หน่อค า สว.กก.4 บก.ปคบ., ร.ต.อ.ธวัชชัย โป๊ะโดย รอง สว.กก.4 บก.ปคบ. ได้นำหมายค้นศาลจังหวัดมีนบุรี เข้าตรวจค้น 3 จุด

ได้แก่ทลายแหล่งลักลอบขายยาแก้ไอเถื่อนผสมยาทรามาดอล อันตรายถึงชีวิตมูลค่ากว่า 1.5 ล้านบาท

  1. ร้านยาบ้านขวัญ ฟาร์ม่า เลขที่ 35/8 ถนนเลียบคลองวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอกกรุงเทพมหานคร
  2. อาคารพาณิชย์ติดกับร้านยาบ้านขวัญ ฟาร์ม่า ถนนเลียบคลองวารี แขวงโคกแฝดเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
  3. ร้านดีแอนด์ดี ฟาร์ม่า เลขที่ 19/2 ถนนราษฎร์ร่วมใจ แขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวากรุงเทพมหานคร

ผลการตรวจค้นพบของกลางจำนวนมาก ได้แก่ 1. ยาแก้ปวด ( ทรามาดอล ) จำนวน 46,300 แคปซูล 2. ยาแก้ไอและยาแก้แพ้ ชนิดน า จ านวน 10,000 ขวด 3. ยาแก้ไอ ชนิดเม็ด จำนวน 5,800 เม็ด 4. ยาที่ไม่ขึ้นทะเบียนตำรับยา จำนวน 7,600 เม็ด รวมของกลาง 4 รายการ มูลค่า 1,500,000 บาท

ในเบื้องต้นได้แจ้งข้อหาดังนี้ 1. ขายยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษขณะที่ผู้มีหน้าที่ไม่อยู่ มีโทษปรับ 1,000 – 5,000 บาท

  1. ขายยาแผนปัจจุบันนอกเวลาทำการ มีโทษปรับ 2,000 – 10,000 บาท 3. ผู้ขาย (ขายยาแผนปัจจุบัน) โดยไม่จัดทำบัญชียา มีโทษปรับ 2,000 – 10,000 บาท 4. ผู้ ข า ย ( ขายยาแผนปัจจุบั น ) โดยขายยาที่แสดงฉลากไม่ถูกต้องมีโทษปรับ 2,000 – 10,000 บาท
  2. เก็บยานอกสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต มีโทษปรับ 2,000 – 5,000 บาท 6. ขายยาที่ไม่ขึ้นทะเบียนต ารับยา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวต่อไปว่า อย.ขอปรามร้านขายยาทุกแห่ง อย่าได้จำหน่ายยาแก้ไอ และยาอันตรายใด ๆ ให้แก่กลุ่มวัยรุ่นหรือบุคคลใดที่คาดว่าจะนำไปใช้ในทางที่ผิด กรณียาแก้ไอ ตามประกาศฯ เรื่อง การควบคุมการจำหน่ายยาน้ำแก้ไอที่มีไดเฟนไฮดรมีน หรือ โปรเมทาซีน หรือ เดกซ์โตร- เมธอร์แฟน เป็นส่วนประกอบ ได้จำกัดปริมาณการจำหน่ายจากผู้ผลิตไปยังร้านขายยาไม่เกิน 300 ขวดต่อแห่งต่อเดือน

และจำกัดการขาย ไม่ควรจ่ายยาเกินครั้งละ 3 ขวดเพื่อป้องกันการนำยาดังกล่าวไปใช้ในทางที่ผิดวัตถุประสงค์ กรณียาอันตราย ทรามาดอล อย. มีมาตรการเข้มงวด โดยให้จำหน่ายยาเฉพาะกับผู้ป่วยที่มีความ จำเป็นทางการการแพทย์เท่านั้น ทั้งนี้ ไม่เกิน 20 เม็ด/แคปซูล ต่อรายต่อครั้ง และให้เภสัชกรประจำร้านเท่านั้นเป็นผู้ส่งมอบยาให้แก่ผู้มารับบริการที่สำคัญห้ามจำหน่ายยาให้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปีในทุกกรณี

รวมทั้งให้ผู้รับอนุญาตและเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการร่วมกันจัดทำบัญชีซื้อยาและบัญชีการขายยาให้เป็นจริง ถูกต้อง เป็นปัจจุบันหากพบร้านขายยาใดฝ่าฝืน

นอกจากดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดแล้ว จะถูกเสนอคณะกรรมการยาให้ความเห็นชอบในการพักใช้ใบอนุญาตขายยาต่อไป และขอให้ผู้บริโภคมั่นใจการดำเนินงานของ อย. และ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ที่จะร่วมมือกันในการทำหน้าที่คุ้มครองความปลอดภัยให้ผู้บริโภคอย่างเข้มแข็ง

ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้ปกครองและประชาชนผู้บริโภคช่วยกันเป็นหู เป็นตา หากพบร้านขายยาใด ๆ ขายยาทรามาดอลให้แก่เยาวชน หรือขายยาดังกล่าวโดยไม่มีเภสัชกรประจำร้านขอให้ร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสได้ที่ สายด่วนอย. 1556 อีเมล์ : [email protected] จดหมายไปที่ ตู้ปณ.1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุขจ.นนทบุรี 11004

หรือ ร้องเรียนผ่านทาง Oryor Smart Application และ เดินทางมาร้องเรียนด้วยตัวเองที่ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระท าผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรป.)อย. ได้ทุกวันในเวลาราชการ เพื่อ อย. จะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

เรื่องน่าสนใจ