ที่มา: doctor

นำเสนอข่าวโดย โดดเด่นดอทคอม

ภาพ   โดดเด่นดอทคอม

เชื่อว่าหลายๆ ท่าน น่าจะเคยป่วยเป็น โรคต่อมทอนซิลอักเสบ ซึ่งบางคนเป็นบ่อยมาก บางคนก็แล้วแต่การดูแลตัวเอง

เว็บไซต์โดดเด่นดอทคอม ( www.dodeden.com ) รายงานว่า โรคนี้เป็นกลุ่มที่มีสาเหตุจากไวรัส มีอาการเจ็บคอเล็กน้อยถึงปานกลาง  อาจมีอาการเป็นหวัด น้ำมูกใส ไอ เสียงแหบ มีไข้ ปวดศีรษะเล็กน้อย ตาแดง

Tonsillitis bacterial

บางคนอาจมีอาการท้องเดินหรือถ่ายเหลวร่วมด้วย การตรวจดูคอจะพบผนังคอหอยแดงเพียงเล็กน้อยหรือไม่ชัดเจน ทอนซิลอาจโตเล็กน้อยมีลักษณะแดงเพียงเล็กน้อยหรือไม่ชัดเจน

ผู้ป่วยที่เป็นทอนซิลอักเสบชนิดเป็นหนอง จะมีอาการไข้สูงเกิดขึ้นฉับพลัน หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอมากจนกลืนน้ำลายหรืออาหารลำบาก

อาจมีอาการปวดร้าวขึ้นไปที่หู บางคนอาจมีอาการปวดท้อง หรืออาเจียนร่วมด้วย มักจะไม่มีอาการน้ำมูกไหล ไอ หรือตาแดง แบบการติดเชื้อจากไวรัส

การตรวจดูจะพบผนังคอหอยและเพดานอ่อน มีลักษณะแดงจัดและบวม ทอนซิลบวมโตสีแดงจัด และมีแผ่นหรือจุดหนองสีขาวๆ เหลืองๆ ติดอยู่บนทอนซิล นอกจากนี้ยังอาจตรวจพบต่อมน้ำเหลืองที่ใต้ขากรรไกรบวมโตและเจ็บ

การดำเนินโรค ถ้าเกิดจากไวรัส ส่วนใหญ่มักจะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ มีส่วนน้อยที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา

sick women showing her tongue

ถ้าเกิดจากแบคทีเรีย โดยเฉพาะบีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ ถ้าได้ยาปฏิชีวนะที่ถูกกับโรค มักจะทุเลาหลังกินยา 48-72 ชั่วโมง

แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหรือได้ไม่ครบ (10 วันสำหรับเพนิซิลลินวี อะม็อกซีซิลลิน หรืออีริโทรไมซิน) ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้

บางคนเมื่อหายดีแล้ว ก็อาจกำเริบได้เป็นครั้งคราว เมื่อร่างกายอ่อนแอ เช่น พักผ่อนไม่พอ เครียด เป็นต้น

ผู้ป่วยที่เป็นทอนซิลอักเสบชนิดเป็นหนอง อาจมีภาวะแทรกซ้อนดังนี้ เชื้ออาจลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียง ทำให้เป็นหูชั้นกลางอักเสบ จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบ ฝีที่ทอนซิล

เชื้ออาจเข้ากระแสเลือดแพร่กระจายไปยังที่ต่างๆ ทำให้เป็นข้ออักเสบชนิดเฉียบพลัน กระดูกอักเสบเป็นหนอง  เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิต้านตนเอง

กล่าวคือหลังจากติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ ร่างกายจะสร้างสารภูมิต้านทาน (แอนติบอดี) ต่อเชื้อขึ้นมา แล้วไปก่อปฏิกิริยาต้านทานเนื้อเยื่อของตนเอง ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง

ได้แก่ ไข้รูมาติก (มีการอักเสบของข้อและหัวใจ หากปล่อยให้เป็นเรื้อรัง อาจทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจพิการ หัวใจวายได้)

และหน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน (มีไข้ บวม ปัสสาวะสีแดง อาจทำให้เกิดภาวะไตวายได้) โรคแทรกเหล่านี้มักเกิดหลังทอนซิลอักเสบ 1-4 สัปดาห์

สำหรับไข้รูมาติก มีโอกาสเกิดขึ้นประมาณร้อยละ 0.3-3 ของผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้อง

การป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงดังกล่าวสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการกินยาปฏิชีวนะให้ครบ 10 วัน (แม้ว่าอาการจะทุเลาหลังกินยาได้ 2-3 วันไปแล้วก็ตาม )

เรื่องน่าสนใจ