เรียบเรียงเนื้อหาโดย Dodeden.com

ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสทําให้เกิดโรคกับระบบทางเดินหายใจและสามารถติดต่อได้ง่าย โรคนี้พบมีการระบาดทั่วโลกในประเทศต่าง ๆ ในซีกโลกเหนือในช่วงเดือนตุลาคมถึงเมษายน ส่วนประเทศในซีกโลกใต้มีการระบาดในช่วงเดือนเมษายนถึงกันยายน สําหรับประเทศไทยพบเกิดขึ้นตลอดทั้งปี แต่ในฤดูฝนมักจะมีผู้ป่วยมากกว่าฤดูอื่น อีกทั้งผู้ที่มีอายุมากและมีโรคประจําตัวเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต จะมีอาการรุนแรงกว่าคนปกติและมีโอกาสติดเชื้อลามเข้าปอดทําให้เสียชีวิต

เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ A, B, C ไวรัสชนิด C ไม่ค่อยมีพิษภัย ส่วนชนิด A เป็นชนิดที่อันตรายที่สุด การศึกษาโครงสร้างของไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดทำให้รู้ว่าผนังของไวรัสมี glycoprotein 2 ชนิดคือ Hernagglutinin และ Neurarninidase  ซึ่งโปรตีนทั้งสองชนิดนี้จะปรากฏเป็นตุ่มยื่นออกมาจากผนังของไวรัส หน้าที่หลักของ H คือเข้าจับกับเซลล์ของคน และเมื่อยึดติดแล้วเชื้อไวรัสจะบุกรุกเข้าสู่นิวเคลียสเพื่อสร้างไวรัสตัวใหม่ จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของ N ที่จะนําไวรัสสร้างใหม่ออกจากเซลล์สู่เซลล์ใหม่ 

อาการ
หลังจากได้รับเชื้อ จะมีระยะฟักตัว 1-4 วัน โดยเฉลี่ย 2 วัน จะมีอาการฉับพลันรุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไป คือ ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ไอแห้งๆ จะเป็นไข้ประมาณ 2-4 วันแล้วค่อยๆ ลดลง แต่อาการคัดจมูกและแสบคอยังคงอยู่ โดยทั่วไปจะหายใน 1 สัปดาห์ ยกเว้นผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังอยู่ก่อนแล้วติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะทําให้มีการติด ไปยังระบบอื่นด้วย เช่น ปอดบวม หลอดลมอักเสบ เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่มักจะ หายภายในไม่กี่วัน แต่ก็มีบางรายมีอาการไอและปวดตามตัวนาน 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่เสียชีวิตมักจะเกิดจากปอดบวมและโรคหัวใจหรือโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่จนทำให้อาการกําเริบรุนแรงขึ้น

แนะนําให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี (ปีละ 1 ครั้ง) โดยเฉพาะกลุ่มที่มีโอกาสเกิดโรครุนแรง ได้แก่ เด็กอายุตั้งแต่ 2 ปี ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี สตรีมีครรภ์ช่วงไตรมาส 2-3 มีโรคประจําตัวทางหัวใจหรือปอดเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบําบัดหรือเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ กลุ่มที่ต้องอยู่ในสถานพยาบาลหรือสถานดูแลที่มีคนจํานวนมาก ๆ

 

เรื่องน่าสนใจ