ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ

อาการปวดท้องประจำเดือนที่ผู้หญิงส่วนใหญ่มักเป็นกันเกือบทุกเดือน บางคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าเป็นคนหนึ่งที่มีอาการปวดท้องประจำเดือนเรื้อรังและรุนแรงยิ่งขึ้น นั่นหมายถึง คุณอาจจะมีโรคร้ายซ่อนอยู่ก็เป็นได้

14431661401443166195l

พญ.ชนิตา เกษประทุม สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลเวชธานี ให้ข้อมูลว่าอาการปวดท้องประจำเดือน หลักๆ เป็น 2 สาเหตุ คือ

  1. อาการปวดที่ไม่มีพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกราน เป็นอาการปวดประจำเดือน ซึ่งตรวจแล้วไม่พบโรคในอุ้งเชิงกรานโดยอาการปวดมักเกิดขึ้นในช่วงกลางรอบเดือน ซึ่งเป็นช่วงของไข่ตก หรือปวดช่วงรอบเดือน โดยมักเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุน้อยหรืออายุที่เริ่มมีรอบเดือน กรณีการทานยาแก้ปวดอาจจะช่วยบรรเทาได้
  2.  อาการปวดที่มีพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกราน อาการปวดอาจจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆจากเคยปวดเพียงวันเดียวต่อมาจำนวน วันอาจมากขึ้น หรือจากเคยปวดระดับที่ทนได้ไม่ต้องใช้ยาแก้ปวดแต่กลับต้องใช้มากขึ้นและถี่ ขึ้น หรือในบางรายมากจนต้องหยุดเรียนหรือหยุดงาน โรคที่พบบ่อย เช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น คือ โดยปกติแล้วเยื่อบุโพรงมดลูกจะต้องอยู่ในโพรงมดลูก แต่หากเยื่อบุโพรงมดลูกฝังตัวที่อวัยวะอื่นๆ เช่น ในอุ้งเชิงกราน ที่มดลูก หรือที่รังไข่จะทำให้มีอาการปวดโดยมักมีอาการเป็นรอบตามช่วงของรอบเดือน

กรณี ที่ฝังตัวที่มดลูกและมีการเติบโตเร็วจะทำให้มีเนื้องอกที่มดลูกหรือหรือ มดลูกโตผิดปกติ หรือหากฝังตัวที่รังไข่จะทำให้มีซีสต์ที่รังไข่ได้ และหากฝังตัวที่อุ้งเชิงกรานบริเวณที่มีปมประสาทกรณีนั้นยากแก่การตรวจพบและ วินิจฉัย การตรวจโดยการส่องกล้องดูในอุ้งเชิงกรานจึงมีประโยชน์หากตรวจไม่พบสาเหตุ

การรักษาอาการปวดประจำเดือนจะมีด้วยกัน 3 หลักใหญ่ๆ คือ

  1. ใช้ยาแก้ปวด โดยให้ทานตั้งแต่เริ่มปวดวันแรกและทานต่อเนื่องในวันที่ปวดเพื่อป้องกันก่อน ปวดจะช่วยควบคุมอาการปวดได้ดีกว่ารับประทานเมื่อมีอาการปวดแล้ว
  2. การใช้ฮอร์โมนในการรักษาโดยแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสม
  3. การผ่าตัด แบ่งออกได้เป็น 1. ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง 2. การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง โดยปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ด้วยการใช้กล้อง 3 มิติมาช่วยในการวินิจฉัยและผ่าตัด เนื่องจากกล้อง 3 มิติ มีข้อดี คือทำให้สามารถเห็นความชัด ลึกของตัวโรคและพยาธิสภาพต่างๆในอุ้งเชิงกรานได้ดี เพิ่มความแม่นยำมากขึ้น และช่วยลดเวลาในการผ่าตัด โอกาสเกิดจากบาดเจ็บต่ออวัยวะข้างเคียงน้อยลงและท้ายสุดแล้วคือช่วยให้ฟื้น ตัวได้เร็วขึ้น

วิธีการป้องกันการปวดท้องประจำเดือนนั้นทำได้ค่อนข้างยาก การออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดความตึงเครียดนั้นก็สามารถลดอาการได้ แต่ทั้งนี้การรู้จักสังเกตอาการการเปลี่ยนแปลงของตัวเองนั้นน่าจะเป็น ประโยชน์ได้มากกว่าเพื่อทำให้เราได้ทราบว่าเมื่อไรที่เราควรมาปรึกษาแพทย์ แล้ว อาการปวดท้องประจำเดือนเปรียบเหมือนภัยเงียบ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีอาการปวดประจำเดือนดังเช่นที่กล่าวมา ควรมาพบแพทย์เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำและรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

เรื่องน่าสนใจ