ที่มา: บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

ปัจจุบันคนไทยเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ไปเป็นมนุษย์ติดจอกันมากขึ้น ระบาดไปทั่วเมืองไม่เว้นทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ คนแก่ ยิ่งในกลุ่มผู้สูงวัยด้วยแล้ว การใช้สายตามากเกินไปจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้นที่สุขภาพ “ดวงตา” ของผู้สูงวัยจะยิ่งเสื่อมเร็วขึ้นกว่าเดิม นอกเหนือจากการเสื่อมตามธรรมชาติของเนื้อเยื่อตาเนื่องจากอายุที่มากขึ้น เรื่องนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ด้านสุขภาพประเด็นหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อนึกถึงว่าอีก 10 ปีข้างหน้า ไทยจะมีผู้สูงอายุถึง 13 ล้านคน ก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ

0a6c881e-45e5-49db-96b7-43cd554b3633

โรคต้อและจอประสาทตาเสื่อม เป็นตัวอย่างของความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตาที่ผู้สูงวัยไม่ควรมองข้าม ตัวอย่างของผู้สูงอายุที่มีปัญหา “ต้อกระจก” คุณณัฐยา ธาราพิมาณ ปัจจุบันอายุ 65 ปี เล่าให้ฟังว่า “เมื่อ 3-4 เดือนก่อน ตาซ้ายยังเริ่มพร่ามัวมองเห็นเป็นฝ้าขาว เหมือนมีก้อนสำลีบางๆ มาขวางกั้น นอกจากนี้ทุกครั้งเวลาเหลือบตาขึ้นลง จะรู้สึกเหมือนมีอะไรแข็งๆ ค้างอยู่ข้างใน ทำให้เคืองตาและรู้สึกรำคาญมาก ตอนแรกกลัวเป็นเบาหวานขึ้นตา เพราะเป็นเบาหวานมานาน 24 ปีแล้ว ระดับน้ำตาลอยู่ที่ 100 กว่ามาตลอด พอไปตรวจละเอียดที่โรงพยาบาลถึงทราบว่า เป็นอาการเริ่มต้นของต้อกระจก ซึ่งหมอบอกว่ายังผ่าตัดลอกออกไม่ได้ ต้องรอให้ต้อหนามากกว่านี้เสียก่อน”

โดยปกติแล้ว โรคต้อกระจก (Cataract) เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัยแม้กระทั่งทารก โดยมีสาเหตุหลักจากการเสื่อมของแก้วตาตามวัยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมักพบในผู้ที่อายุ 45 ปีขึ้นไป และยังเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ เช่น พันธุกรรม การถูกกระแทกหรือโดนของมีคมทิ่มแทงลูกตา และโรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคระบบประสาท โรคเบาหวาน ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาด้วยยาได้ วิธีเดียวคือการผ่าตัดลอกต้อกระจก แต่คุณณัฐยา แก้ไขปัญหาได้แล้วด้วย วิธีการทำให้ภูมิสมดุล

169e7c86-36d2-4f6d-941f-86dd526490fe

หรืออาการ “จอประสาทตาเสื่อม” (Age-Related Macular Degeneration: AMD) ที่เกิดจากการเสื่อมสภาพในส่วนกลางของจอประสาทตา ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุ ต้องสูญเสียการมองเห็นเป็นการถาวร จนเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต อาการจอประสาทตาเสื่อมแบ่งได้ 2 ประเภท โดยร้อยละ 90 ของผู้ที่เป็นมักพบเป็นจอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง จะมีการเสื่อมสลายมีโปรตีนและไขมันจับอยู่ที่จุดกลางรับภาพจอประสาทตา จากขบวนการเสื่อมตามอายุ ความสามารถในการมองเห็นจะค่อย ๆ ลดลง และเป็นไปอย่างช้า ๆ บางรายมีความรุนแรงก็อาจพัฒนาไปเป็นจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 10-15 และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการตาบอด

การรักษาอาการเหล่านี้ การแพทย์สมัยใหม่ต่างบอกว่า ไม่มีทางรักษาให้หายขาด ทำได้อย่างมากเพียงหยุดหรือชะลออาการไม่ให้ลุกลาม ด้วยการฉีดยาลดการอักเสบเข้าในลูกตาโดยตรง มีหลายกรณีที่ผู้ที่เป็นไม่รู้สึกตัวถึงความผิดปกติในการมองเห็นตั้งแต่ระยะแรกๆ โดยเฉพาะถ้าตาอีกข้างยังมองเห็นได้ดี

แต่เมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยในอังกฤษและอเมริกาได้ค้นพบว่า สาร Interleukin 18 (IL18) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายคนเรา สามารถใช้ฉีดเป็นยาเข้าเส้น แทนการฉีดยาเข้าลูกตา เพื่อระงับและหยุดการไหลออกของเลือดจากเส้นเลือดหลังจอประสาทตาเสื่อม ช่วยป้องกันตาบอดได้ เป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียกได้

f548b42c-7a23-4fc6-b20e-3c11b021ee23

สิ่งนี้ชี้ว่าภูมิค้มกันในร่างกายเรามีความเชื่อมโยงต่อการรักษาโรคตา โดย ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา นักวิทยาศาสตร์ไทยคนแรกผู้คิดค้นวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันให้สมดุลจากพืชไทยเพื่อถนอมดวงตา ได้อธิบายว่า โรคตาส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการที่เนื้อเยื่อตาเสื่อมสภาพตามธรรมชาติ อาทิ อาการตาแห้ง วุ้นตาเสื่อม ต้อกระจก ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม และอาการแพ้ภูมิตัวเอง เช่น เบาหวานขึ้นตา พังผืดที่ตา

แต่การศึกษาของการแพทย์สาขาภูมิคุ้มกันวิทยาพบว่า สาเหตุที่แท้จริงของความผิดปกติต่างๆ เกี่ยวกับดวงตานั้น เกิดจากการที่เม็ดเลือดขาวในตัวเราสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (Pro-imflammatory cytokines) มากเกินไป เช่น IL-1-beta, IL-3, IL-17, TNF-alpha, IFN-gamma ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันและแก้ไขความผิดปกติเหล่านี้ก็คือ การกระตุ้นเม็ดเลือดขาวให้ลดการหลั่งสารเหล่านี้ให้น้อยลงจนเข้าสู่ภาวะสมดุล

ข่าวดีคือ การวิจัยล่าสุดของคณะนักวิจัย Operation BIM นำโดยศ.ดร.พิเชษฐ์ ได้ค้นพบนวัตกรรมชื่อว่า “APCOcapsule” ที่สกัดจากพืชธรรมชาติ 5 ชนิด มังคุด งาดำ ถั่วเหลือง ฝรั่ง และบัวบก เมื่อนำมาเสริมฤทธิ์กันจะมีคุณสมบัติทำให้เม็ดเลือดขาวลดการหลั่งสารก่อการอักเสบลง และ ได้พัฒนา “APCOessence “ ที่นอกจากลดการหลั่งสารก่อการอักเสบแล้วยังเพิ่มสาร Interleukin 18 (IL18) ให้มีมากขึ้นด้วย

6ef58737-52ff-40db-b4cf-096ad8d5070f

ผลการทดสอบจากศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชี้ว่า APCO capsule ทำให้สารที่ก่ออาการอักเสบในเม็ดเลือดขาวมีอัตราลดลงอย่างเห็นได้ชัด ดังนี้ IL-1-beta ลดลง 6%, IL-3 ลดลง 27%, IL-17 ลดลง 45%, TNF-alpha ลดลง 93% และ IFN-gamma ลดลง 10% จึงสามารถช่วยป้องกันและทำให้อาการน้ำในวุ้นตาเสื่อมรวมถึงความผิดปกติอื่นๆ ที่เกิดขึ้นกับดวงตาดีขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น อาการตาแห้ง ต้อกระจก ต้อหิน ม่านตาอักเสบ จอประสาทตาเสื่อม และความผิดปกติที่สืบเนื่องมาจากอาการแพ้ภูมิตัวเอง เช่น เบาหวานขึ้นตา พังผืดที่ตา เป็นต้น ในขณะที่ APCO essence ทำให้ลดสารเหล่านี้ได้เช่นกัน แต่เพิ่ม interleukin18 ด้วย จึงเหมาะอย่างยิ่ง สำหรับการถนอมสายตาของผู้มีจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก

แต่ในกรณีที่หลีกเลี่ยงภาวะทำงานที่ต้องใช้สายตาเป็นเวลานานๆ ไม่ได้ ก็ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ และที่สำคัญคือ ต้องรู้จักใช้ดวงตาอย่างทะนุถนอม ไม่ควรใช้สายตาจดจ่ออยู่กับหน้าจอนานๆ อาจใช้วิธีพักสายตาด้วยการหลับตาสักครู่ หรือปรับโฟกัสมองไกลๆ บ้าง ร่วมกับการนวดคลึงเบาๆ

นักวิทยาศาสตร์ผู้สร้างสมดุลชีวิตทิ้งท้ายไว้ว่า การตรวจพบและรักษาโรคแต่เนิ่นๆ ยังเป็นสิ่งจำเป็นมาก แนะนำให้ผู้สูงอายุหรือกลุ่มเสี่ยงให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพตาเช่นเดียวกับส่วนอื่นๆ ในร่างกายเป็นประจำแม้จะไม่มีอาการผิดปกติอะไรอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะจะทำให้การรักษาโรคทำได้ง่ายขึ้น สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตาสามารถเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ฟรี ณ ศูนย์รับปรึกษาปัญหาข้อ เข่า เบาหวานและดวงตา ถนนรัชดาภิเษก โทร 1154

เรื่องน่าสนใจ