ภาวะซึมเศร้าจากโซเชียล อีกหนึ่งปัญหาที่เราต้องรู้เท่าทัน  เพราะโรคซึมเศร้า เป็นกลุ่มผิดปกติของโรคทางอารมณ์ ซึ่งเกิดได้ทุกเพศทุกวัย ไม่เลือกเชื้อชาติ

ซึ่งไม่ใช่อาการเจ็บป่วยธรรมดา แต่เป็นโรคซึ่งจําแนกออกเป็นหลายชนิด บางชนิดอาจมีอาการแสดงที่ไม่เหมือนผู้มีอารมณ์ซึมเศร้าเลย ทําให้คิดไม่ถึงว่าเป็นโรคนี้ได้

 

ภาวะซึมเศร้าจากโซเชียล อีกหนึ่งปัญหาที่เราต้องรู้เท่าทัน

อารมณ์ซึมเศร้า หรือภาวะซึมเศร้า สามารถเกิดขึ้นได้กับคนปกติทั่วไป มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ ได้ ถ้าภาวะซึมเศร้านั้นเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และเป็นครั้งคราว ไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติ ซึ่งภาวะซึมเศร้านั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีระยะเวลาการแสดงออกนาน 2 สัปดาห์ติดต่อกันขึ้นไป ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดําเนินชีวิตประจําวัน จะถือว่ามีความผิดปกติและอาจก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าที่รุนแรงมากขึ้น

อาการซึมเศร้า

สถาบันสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุขและสมาคมจิตเวชแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคซึมเศร้า หมายถึง ภาวะจิตใจที่หม่นหมอง รวมถึงความรู้สึกท้อแท้ หมดหวัง รู้สึกมีคุณค่าต่ำ ตําหนิตัวเอง ความรู้สึกเหล่านี้ คงเป็นอยู่เป็นระยะเวลานาน และเกี่ยวข้องกับการสูญเสีย การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ อาจจะเป็นช่วงขณะหนึ่ง หรือยาวนานเป็นวัน  โดยที่การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์นี้ถือว่าเป็นเหตุการณ์ปกติในชีวิตประจําวัน เช่น บางครั้งอาจรู้สึกซึมเศร้าหรือไม่มีความสุขเมื่อมีบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ถูกใจเกิดขึ้น เป็นภาวะของความรู้สึกเศร้า หรือไม่มีความสุขที่เกิดขึ้นต่อเนื่องและยาวนานกว่ากรณีดังกล่าวข้างต้น และระยะเวลาอาจยาวนานเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน

อาการแสดง

  • ด้านร่างกาย
    คือผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้า มักเบื่ออาหาร หรืออาจกินจุและอยากอาหารหวาน ส่งผลให้น้ำหนักลดลง หรือน้ำหนักเพิ่ม นอนไม่หลับหรือหลับมาก
  • ด้านจิตใจ
    ผู้ป่วยจะหมดความสนใจในสิ่งต่างๆ เป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ อาการจะเชื่องช้าลง พูดน้อย คิดนาน รู้สึกไร้ค่า หรือรู้สึกผิด ไม่มีสมาธิหรือมีความลังเลใจ มีความคิดอยากตายหรือคิดฆ่าตัวตาย
  • ด้านสังคม
    ผู้ป่วยจะหมดความสนใจ หรือความสุข เป็นอาการซึ่งพบในผู้ป่วยเกือบทุกรายไม่มากก็น้อย ผู้ป่วยจะแยกตัวเองหรือละเลยกิจกรรมซึ่งเคยชื่นชอบ กิจกรรมทางเพศหรืออารมณ์รักใคร่ ในผู้ป่วยบางรายจะลดลงอย่างมากด้วย ไม่มีสมาธิหรือมีความลังเลใจและลืมง่าย

•••••••••••••••••••••••••••••••••

เพราะฉะนั้น หัวใจสําคัญของการรักษาโรคซึมเศร้า นั่นก็คือ การรักษาด้วยความเข้าใจ การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย อาการก็จะค่อยๆ ดีขึ้นได้ และถ้าหากได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง พบแพทย์เปนประจำ อาการก็จะหายและมีโอกาสที่จะไม่กลับมาเป็นอีกได้ค่ะ

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ