ที่มา: doctor

เรียบเรียงข่าวโดย โดดเด่นดอทคอม

ภาพประกอบจาก thaihealth

หากพูดถึงโรคมะเร็งแล้ว หลายๆ ท่านคงจะกลัว เพราะเนื่องจากคนที่เป็นโรคนี้โดยส่วนมากแล้วจะมีอาการที่แย่เร็ว

ซึ่งพลตรี รศ.นพ.ปริญญา ทวีชัยการ  กองศัลยกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ประธานชมรมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (ประเทศไทย) ระบุว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่  ภัยเงียบที่เอาชนะได้

e_bcefgkouv568

มะเร็งเป็นโรคร้ายแรงที่ทุกคนป้องกันได้ ด้วยตนเอง แต่ถ้าเป็นมะเร็งแล้วอาการ อยู่ในระยะที่ไม่สาหัสจนเกินไป แพทย์  ผู้เชี่ยวชาญสามารถรักษาให้หายได้

ผู้ป่วยมะเร็งทั่วโลกที่เสียชีวิตมากที่สุดคือผู้ป่วยมะเร็งปอด รองลงมาคือมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ คือการแบ่งงอกที่ผิดปกติของเยื่อบุภายในลำไส้ใหญ่

ลำไส้ใหญ่แบ่งออกเป็นชั้นๆ ด้านในมีเยื่อบุ แบ่งตัวผิดปกติ และค่อยๆ งอกโตขึ้นมา ด้านหนึ่งงอกเข้ามาด้านใน

อีกด้านหนึ่งลุกลามไปที่ผนังทั้ง ๒ ด้าน คือคืบคลานไป ถ้าอยู่แค่เยื่อบุลำไส้ เรียกว่า มะเร็งระยะไม่ลุก ลาม เพราะไม่มีท่อน้ำเหลืองและหลอดเลือดฝอย (ท่อน้ำเหลืองและหลอดเลือดฝอยอยู่ที่ผนังลำไส้ ลึกเข้าไปอีกนิดหนึ่ง)

พอเริ่มเป็นชนิดลุกลามเมื่อไหร่ ลึกถึงชั้นก่อนถึงกล้ามเนื้อ มีท่อน้ำเหลืองและหลอดเลือดฝอย ก็เริ่มต้นนับเป็นมะเร็งระยะที่ ๑ เริ่มลุกลาม

มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นเซลล์มะเร็งของเนื้อเยื่อลำไส้ ใหญ่และลำไส้ตรง คือมะเร็งที่เติบโตมาจากเนื้อเยื่อที่มีลักษณะเป็นต่อมในลำไส้ใหญ่

โดยก่อนที่เซลล์จะกลาย เป็นมะเร็ง บางครั้งอาจพบลักษณะคล้ายติ่งเนื้องอกในลำไส้ขึ้นมาก่อน ซึ่งการผ่าตัดติ่งเนื้องอกออกสามารถป้องกันไม่ให้เซลล์กลายเป็นมะเร็งได้

มะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ไม่ได้รับการรักษาอาจลุกลามทะลุผนังลำไส้ หรือแพร่กระจายต่อไปยังตับ ปอด สมอง และกระดูกได้

ระยะของมะเร็งลำไส้ใหญ่ การแบ่งระยะของโรคเป็นการแบ่งตามความรุนแรง คือ

ระยะที่ ๑ การรักษา ผ่าตัดอย่างเดียว ร้อยละ ๙๕ หายจากโรค

ระยะที่ ๒ แบบเนื้อเยื่อชนิดเลว จะต้องให้เคมีบำบัดตาม เพราะการผ่าตัดอย่างเดียวได้ผลประมาณ ร้อยละ ๗๐ และจะต้องให้เคมีบำบัด โอกาสหายร้อยละ ๘๐-๙๐

ระยะที่ ๓ มะเร็งแพร่กระจายต่อมน้ำเหลืองแล้ว การผ่าตัดจะต้องผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองออกให้มากที่สุด เพราะกระจายไปตามต่อมน้ำเหลือง อย่างน้อยจะต้องไม่น้อยกว่า ๑๒ ต่อม

และทุกกรณีหลังผ่าตัด ต้องให้เคมีบำบัดตามหมด เป็นการรักษาเสริม การผ่าตัดคือการรักษาหลัก เพื่อเอาเนื้อมะเร็งออกไป และนำหน่วยลาดตระเวน คือยาเคมีบำบัดฉีด หรือกินเข้าไปในร่างกาย เพื่อไปฆ่าทหารแตกทัพทิ้งให้หมด

ผู้ป่วยที่ให้เคมีบำบัดระยะที่ลุกลามไปต่อมน้ำเหลือง กับผู้ป่วยที่ผ่าตัดอย่างเดียว และผู้ป่วยที่ผ่าตัด + เคมีบำบัด ชนิดไหนรอดมากกว่ากัน พบว่า ผ่าตัด + เคมีบำบัด รอดมากกว่า ก็เลยกลายเป็นมาตรฐานว่าต่อไปนี้ ผ่าตัดต้องให้เคมีบำบัดด้วย

ระยะที่ ๔ มะเร็งแพร่กระจายไปที่ตับ ถ้าตามไปตัดตับบางส่วน (เหลือตับไว้ร้อยละ ๒๕) ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตเท่ากับระยะที่ ๓ รวมถึงให้เคมีบำบัดด้วย

ชนิดมะเร็งลำไส้ใหญ่   มะเร็งลำไส้ใหญ่มี ๓ รูปแบบดังนี้    ๑. ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ พบยีนที่ถ่ายทอดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างชัดเจน มีประมาณร้อยละ  ๑๐-๒๐ ๒. เกิดขึ้นเอง ปกติเซลล์แบ่งตัวเรื่อยๆ ได้เซลล์ผิดปกติ

เรียกว่าการแบ่งแบบผ่าเหล่า เกิดขึ้นบ่อยๆ ผิดปกติเรื่อยๆ คือมะเร็ง พบประมาณร้อยละ ๗๐

๓. ไม่ทราบสาเหตุ ประมาณร้อยละ ๑๐-๒๐ มีคนเป็นกันมากในครอบครัว แต่หายีนที่เป็นตัวถ่ายทอดไม่ได้ และสรุปไม่ได้ว่าเป็นมะเร็งแบบที่ ๑ หรือ ๒ เรียกว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักแบบเป็นครอบครัว เช่น ตัวเอง ญาติ พี่น้อง

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ ๑. มีประวัติติ่งเนื้องอกในลำไส้ ซึ่งติ่งเนื้อบางชนิด อาจกลายเป็นมะเร็งในเวลาต่อมาได้ การตรวจลำไส้ใหญ่โดยการส่องกล้องสามารถตรวจพบและตัดติ่งเนื้อออกได้ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งต่อไป

๒. อายุ พบว่ามากกว่าร้อยละ ๙๐ ของมะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดในกลุ่มอายุมากกว่า ๕๐ ปี ๓. โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่บางชนิด อาจเกิดการอักเสบเรื้อรังของลำไส้ใหญ่ และกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงได้

๔. มีประวัติเป็นมะเร็งชนิดอื่นมาก่อนในบุคคลนั้น ๕. มีประวัติเป็นมะเร็งในครอบครัว หรือมีโรคแต่กำเนิดบางชนิด เช่น โรคเนื้องอกแต่กำเนิดในลำไส้ อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงได้ ๖. กิจวัตรประจำวัน เช่น การกินอาหารไขมันสูงหรือไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงได้ ๗. การสูบบุหรี่

การกินยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสตีรอยด์ เช่น แอสไพริน อาจช่วยป้องกันการเกิดติ่งเนื้องอกในผู้ป่วยที่มีประวัติสงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากยามีผลข้างเคียง

อะไรคือตัวกระตุ้นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ตัวกระตุ้นคือตัวสัมผัส เกี่ยวข้องกับอาหารที่กินเข้าไป ถ้าถ่ายตอนเช้า วันละครั้ง อุจจาระจะสัมผัส ๒๔ ชั่วโมง ถ้าถ่ายเช้าและเย็น อุจจาระสัมผัส ๑๒ ชั่วโมง ประเมินว่า คนถ่ายวันละครั้ง เฉลี่ยอายุ ๖๓ ปีเป็นมะเร็ง แต่ถ้าถ่ายวันละ ๒ ครั้งอายุ ๑๒๖ ปีแล้วเป็นมะเร็งใช่ไหม มีการแนะนำให้กินผัก ดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกาย จนสามารถถ่ายอุจจาระได้เช้า-เย็น เพื่อจะยืดเวลาที่มะเร็งสัมผัสกับลำไส้ใหญ่ออกไป

การป้องกัน แพทย์จะให้คำแนะนำในการตรวจสอบผู้ป่วยแต่ ละราย เช่น ผู้ป่วยที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง การตรวจสอบมีหลายวิธี เช่น หลังจากอายุ ๕๐ ปีไปแล้ว อาจได้รับการตรวจหา ปริมาณเลือดปนเปื้อนในอุจจาระปีละครั้ง

และ/หรือการ ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทุก ๕-๑๐ ปี และหากสงสัยว่า มีปัจจัยเสี่ยงมาก อาจตรวจสอบถี่กว่าระยะเวลาที่กำหนด

นอกจากนี้ อาจมีการตรวจร่างกายโดยใช้นิ้วคลำบริเวณทวารหนัก การตรวจทางรังสี เช่น การสวนแป้งแบเรียม หรือการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

อาการและอาการแสดงต่อไปนี้ อาจทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ได้เร็ว ซึ่งหากตรวจพบมะเร็งระยะเริ่มแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ อาการดังกล่าว ได้แก่ ๑. การเปลี่ยนแปลงการขับถ่ายในชีวิตประจำวัน หรือลักษณะอุจจาระลีบเล็กลง

๒. ท้องเสีย หรือท้องผูกสลับกัน ๓. อึดอัดแน่นท้อง มีอาการเกร็งคล้ายเป็นตะคริว ในท้อง ๔. น้ำหนักลดโดยไม่ได้จำกัดอาหาร ๕. เลือดออกทางทวารหนัก หรือปนมากับอุจจาระ ๖. เบื่ออาหาร อ่อนเพลียอย่างผิดปกติ

สำหรับ การรักษา มะเร็งลำไส้ใหญ่ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของเนื้องอก การกระจายของมะเร็ง และสุขภาพ

โดยรวมของผู้ป่วย ซึ่งหลายครั้งต้องอาศัยทีมแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ เช่น อายุรแพทย์ทางเดินอาหาร ศัลยแพทย์ อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา และรังสีรักษาแพทย์ ร่วมวางแผนการรักษาที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วยแต่ละราย

เรื่องน่าสนใจ