ที่มา: thaihealth

นำเสนอข่าวโดย โดดเด่นดอทคอม

ภาพ  โดดเด่นดอทคอม

คุณผู้อ่านที่รักสุขภาพ คงเคยได้เห็นผ่านตากันมาบ้างแล้วกับพืชผักหน้าตาแบบนี้ ที่เริ่มมีขายกันทั่วไปตามร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ซุปเปอร์มาร์เก็ตบางแห่ง แถมยังราคาไม่แพงมาก

วันนี้ขอนำสาระดีๆ กับประโยชน์ที่มีใน “ต้นอ่อนทานตะวัน” มาฝากคุณผู้อ่านกันนะคะ มาอ่านกันเลยค่ะ

green young sunflower sprouts in the bowl isolated on white bac

เว็บไซต์โดดเด่นดอทคอม ( www.dodeden.com )  ระบุว่า เมื่อเอ่ยถึง “ต้นทานตะวัน” ใครๆ ก็รู้จักกันดี ว่าเป็นไม้ประดับที่ให้ความสวยงาม อย่างเช่น แถวจังหวัดสระบุรี ลพบุรี เมื่อถึงคราวบานเต็มท้องทุ่ง นักท่องเที่ยวแห่กันไปชมไม่ขาดสายเลยทีเดียว

นอกจากนี้ ยังนำเมล็ดไปสะกัดเป็นน้ำมันใช้ประกอบอาหารได้เป็นอย่างดีอีกด้วย แต่ไม่ค่อยทราบกันนักว่า สามารถนำต้นอ่อนทานตะวันไปประกอบอาหารได้

นอกจากจะอร่อยแล้ว ยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายสูงมาก ยากที่จะหาพืชผักสวนครัวใดมาเทียบได้

ข้อมูลจากเว็บไซต์ www.livestrong.com ประเทศแคนาดา ได้กล่าวถึงสารอาหารในต้นอ่อนทานตะวันไว้ว่า ต้นอ่อนทานตะวันเป็นแหล่งไขมันชนิดที่ดีแก่ร่างกาย

ใยอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย เป็นแหล่งโปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม

Beetroot and avocado salad with lemon and Fresh sunflower sprout

ต้นอ่อนทานตะวัน (Sunflower Sprouts) มีกรด Linoleic ในปริมาณมาก ช่วยในการบำรุงสมองและกระดูกให้แข็งแรง ทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินบี วิตามินอี และโฟเลต ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย ป้องกันโรคหัวใจและมะเร็ง และช่วยให้ระบบขับถ่ายดีด้วย

นอกจากนี้ ข้อมูลการวิจัยของ International Sprout Growers Association เมื่อปี 2554 ระบุว่า  ต้นอ่อนทานตะวันมีวิตามิน B1, B6 โอเมก้า 3, 6, 9 ที่ช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และยังมีธาตุเหล็กสูง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ อีกด้วย

ต้นอ่อนทานตะวันมีโปรตีนมากกว่าผักกาดเขียวถึง 2 เท่า วิตามิน A, B2, E, D, K และยังมีวิตามิน A สูงกว่าน้ำมันเมล็ดข้าวโพดและเมล็ดถั่วเหลืองกว่า 3 เท่าเลยทีเดียว

แต่เมื่อนำเมล็ดทานตะวันมาเพาะเป็นต้นอ่อนทานตะวัน คุณค่าทางอาหารจะเพิ่มมากขึ้น เช่น มีโปรตีนสูงกว่าถั่วเหลือง มีวิตามินA สูง ช่วยบำรุงสายตา ผิวพรรณ และชะลอความแก่  

อีกทั้งกระบวนการเพาะปลูกของต้นอ่อนทานตะวันนั้นแสนง่าย และไม่ต้องพึ่งสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงใดๆ จึงทำให้เรามั่นใจว่าจะปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างจากการเพาะปลูกกันอีกด้วยนะคะ

และหากใครสนใจจะปลูกเองเพื่อรับประทาน ก็มีเมล็ดทานตะวันสำหรับการเพาะปลูกเองไว้ขาย พร้อมทั้งอธิบายวิธีการเพาะที่แสนจะง่าย และใช้เวลาเพียง 7-11 วัน ก็สามารถรับประทานได้แล้วล่ะค่ะ

มาดูกันต่อค่ะว่า เจ้าต้นอ่อนทานตะวันสามารถนำไปปรุงอาหารอะไรได้บ้าง ซึ่งในปัจจุบันก็มีสูตรต่างๆ มากมายที่นำต้นอ่อนทานตะวันมาปรุงเป็นอาหาร

เช่น ต้นอ่อนทานตะวันผัดไฟแดง ผัดกับกุ้งสดต้มจืดหรือจะทานเป็นผักใส่ลงในสลัดใส่ในไข่เจียวลวกจิ้มน้ำพริก และใช้แทนถั่วงอกใส่ลงในก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น

สรุปว่า ต้นอ่อนทานตะวันสดนั้น ปลอดสารพิษ ให้โปรตีนสูง บำรุงสมอง ป้องกันโรคหัวใจและมะเร็ง เห็นประโยชน์มากมานขนาดนี้

เห็นทีพวกเราคนรักสุขภาพจะต้องหาเจ้าต้นอ่อนทานตะวันมาปรุงเป็นอาหารเพื่อเพิ่มสารอาหารดีๆ มีประโยชน์ให้แก่ร่างกายกันบ้างแล้วค่ะ

sandwiches with radish and sunflower sprouts

เรื่องน่าสนใจ