ศัลยแพทย์ตกแต่ง แตกต่างจากแพทย์ที่ผ่าตัดเพื่อความสวยงาม อย่างไร?  เพราะในปัจจุบัน สังคมยังมีความเข้าใจที่ยังคลาดเคลื่อน ระหว่างศัลยแพทย์ตกแต่ง (plastic surgeon) และ แพทย์ที่ผ่าตัดเพื่อความสวยงาม (cosmetic surgeon) อยู่มาก
ศัลยแพทย์ตกแต่ง
ภาพจาก britannica.com

ศัลยแพทย์ตกแต่ง แตกต่างจากแพทย์ที่ผ่าตัดเพื่อความสวยงาม อย่างไร?

คำว่า Plastic นั้น มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณที่เขียนว่า “Plastikos” นั่นคือการทำให้รูปร่างหรือ shape กลับเป็นปกติหรือ ใกล้เคียงมากที่สุด ซึ่งในขอบข่ายของวิชา ศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง จะมีแขนงย่อยอีกหลายอย่าง และค่อนข้างจะหลากหลาย โดยจะแบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

การผ่าตัดเพื่อเสริมสร้าง (reconstructive surgery)
ได้แก่ การเสริมสร้างเนื้อเยื่อ หรือย้ายเนื้อเยื่อจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งเพื่อซ่อมแซมในส่วนที่เนื้อเยื่อที่ขาดหายไป , ผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่เกิดกับใบหน้า , ผ่าตัดเพื่อฟื้นฟูผิวหนังที่เสียหายจากไฟไหม้และน้ำร้อนลวก ,ผ่าตัดมะเร็งและเนื้องอกบริเวณใบหน้าและลำคอ และการผ่าตัดแก้ไขผู้ป่วยที่เกิดมากับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่
ศัลยแพทย์ตกแต่ง
ภาพจาก britannica.com
การผ่าตัดเสริมสวย (Aestheic หรือ Cosmetic surgery)
เป็นการผ่าตัดเพื่อเพิ่มความสวยงามในร่างกายส่วนต่างๆ โดยที่ผู้ป่วยไม่ได้มีความผิดปกติแต่อย่างใด เช่น การผ่าตัดเสริมจมูก ,การผ่าตัดเปลือกตา ,การดูดไขมัน เป็นต้น
การฝึกอบรมแตกต่างกันหรือไม่ ?
ในประเทศไทยเอง แพทย์ที่จะสอบวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่งได้ ต้องผ่านการเพิ่มพูนทักษะจนครบสามปี จากนั้น จึงสมัครเข้ารับการฝึกอบรมตามสถาบันที่ได้รับการรับรองจากสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย โดยจะใช้เวลา 2-4 ปี เพื่อฝึกอบรมในแผนกศัลยศาสตร์ทั่วไปก่อน จากนั้นจึงใช้เวลาอีก 3 ปี เพื่อเข้าฝึกอบรมในแผนกศัลยศาสตร์ตกแต่ง จึงจะมีสิทธิสอบวุฒิบัตรจากสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทยได้
ศัลยแพทย์ตกแต่ง
ภาพจาก britannica.com
นอกจากนั้น สาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่งนั้น ยังมีสาขาวิชาย่อยที่สามารถเรียนต่อยอดได้ ยกตัวอย่างเช่น ศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้างกะโหลกศีรษะและใบหน้า (craniofacial) , ศัลยศาสตร์ทางมือ (hand surgeon)
ในส่วนของ แพทย์ที่ผ่าตัดเพื่อความงาม (cosmetic surgeon) นั้น แพทย์ที่จะสามารถทำงานในส่วนนี้ได้ อาจไม่ได้ฝึกอบรมในสาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่งดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่อาจเป็นแพทย์ในสาขาอื่น เช่น ศัลยศาสตร์ทั่วไป,อายุรแพทย์,สูติแพทย์ ซึ่งแพทย์ในสาขาดังกล่าวอาจมีการไปอบรมระยะสั้น เพื่อฝึกทำการผ่าตัดเฉพาะหัตถการที่สนใจ เช่น เสริมจมูก,ดูดไขมัน ,เสริมหน้าอก เป็นต้น
จุดนี้คือข้อแตกต่างระหว่าง ศัลยแพทย์ตกแต่งและเสริมสร้าง (plastic surgeon) และ แพทย์ที่ผ่าตัดเพื่อความงาม (cosmetic surgeon)
ในแง่ของวุฒิบัตรที่ได้รับการรับรอง (board certification) นั่นเอง
ศัลยแพทย์ตกแต่ง
ภาพจาก britannica.com
ในประเทศไทยเองก็มี สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย เป็นสมาคมที่รับรองศัลยแพทย์ตกแต่งที่ผ่านการฝึกอบรมตามมาตรฐานวิชาชีพของแพทยสภาเช่นกัน นอกจากนั้น ยังมีสาขาที่ใกล้เคียงกันในประเทศไทย เช่น สมาคมศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้างใบหน้า (facial plastic) ซึ่งเป็นสาขาต่อยอดของแพทย์หูคอจมูก ซึ่งในสาขานี้ จะทำเฉพาะการผ่าตัดบริเวณใบหน้าเท่านั้น หรือ สาขา occuloplastic surgery ซึ่งเป็นสาขาต่อยอดของจักษุแพทย์ ซึ่งสามารถทำการผ่าตัดบริเวณเปลือกตาได้เช่นเดียวกับศัลยแพทย์ตกแต่ง
ดังนั้น จึงควรพิจารณาแพทย์ที่อ้างว่าเป็นแพทย์ที่ผ่าตัดเพื่อความงามให้ดี เนื่องจากทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ยังไม่มีสมาคมที่รองรับแพทย์ที่ผ่าตัดเฉพาะความสวยงามเป็นแพทย์ “เฉพาะทาง” หรือแพทย์ท่านนั้น อาจเป็นแพทย์เฉพาะทางที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดเสริมสวยเลย เช่น เป็นสูติแพทย์ หรือเป็นแพทย์ทั่วไป แต่มาทำผ่าตัดเสริมสวยเป็นต้น  ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ศัลยแพทย์ตกแต่งและเสริมสร้าง (plastic and reconstructive surgeon) เป็นศัลยแพทย์เฉพาะทางที่ผ่านการฝึกอบรมอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน สามารถทำได้ทั้งการผ่าตัดเพื่อเสริมสร้าง (reconstructive surgery ) และผ่าตัดเพื่อความสวยงาม (cosmetic surgery)
ก่อนจะทำการผ่าตัดเสริมสวยใดๆ ควรมีการตรวจสอบแพทย์ท่านนั้น ว่าเป็นแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบได้ทาง thprs.org

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

สนใจหาข้อมูลและปรึกษาศัลยกรรมได้ที่นี่

โดดเด่น
ศัลยกรรม
webdodeden

เรื่องน่าสนใจ