ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

สดร.เผยภาพถ่ายรุ้งหลายชั้น (Supernumerary Rainbow) เหนือฟ้าเชียงใหม่ หลังฝนตกหนัก ชี้มาจากการแทรกสอดของแสง เมื่อแสงอาทิตย์ไปตกกระทบกับละอองน้ำในชั้นบรรยากาศ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่ง…

EyWwB5WU57MYnKOuXxxAWhv3gwkAkiczEnnNIJygzALU8GAAUqZJN5

เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายมติพล ตั้งมติธรรม เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร.จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากที่ได้ถ่ายภาพรุ้งหลายชั้น (Supernumerary Rainbow) เหนือฟ้าเชียงใหม่ หลังฝนตกหนัก เวลาประมาณ 18.10-18.20 น. เมื่อวานนี้ (9 มิ.ย.) การเกิดรุ้งหลายชั้น (Supernumerary Rainbow) เหนือฟ้าเชียงใหม่ หลังฝนตกหนัก ถือว่า เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติในชั้นบรรยากาศของโลก และเป็นเพียงปรากฏการณ์ของแสง ไม่ได้มีอยู่จริง นั่นคือเราจะไม่สามารถเดินทางไปเหยียบรุ้งได้

NjpUs24nCQKx5e1D7Rv2rkV3e3n0yYfXxF1n5ODzq2k

เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร.กล่าวอีกว่า การจะเกิดรุ้งจะต้องมี 2 ปัจจัยสำคัญโดย ปัจจัยแรก คือ จะต้องมีละอองน้ำอยู่ในอากาศ และปัจจัยที่สองคือจะต้องมีแสงอาทิตย์ (โดยทั่วไปจะสังเกตได้ดีช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่ต่ำ) จึงจะสามารถสังเกตเห็นรุ้งได้ ละอองน้ำในอากาศจะประพฤติตัวคล้ายกับปริซึมที่หักเหและสะท้อนแสงอาทิตย์ เป็นมุม 42 องศา เราจึงพบรุ้งเป็นส่วนของวงกลมจากศูนย์กลางของจุดตรงข้ามดวงอาทิตย์ เนื่องจากศูนย์กลางของรุ้งจะอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์เสมอ (ดังนั้นหากดวงอาทิตย์อยู่สูงเกินไป เราจะไม่สามารถเห็นรุ้งได้)

นายมติพล กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ในบางครั้ง เราจะสามารถเห็นรุ้งได้อีกชั้นหนึ่ง ที่จางกว่า และใหญ่กว่า เราจะพบว่ารุ้งที่สองนี้จะหันสีกลับด้านจากรุ้งชั้นในเสมอ เราเรียกรุ้งชั้น ในชั้นนอกว่า รุ้งปฐมภูมิ (Primary Rainbow) กับรุ้งทุติยภูมิ (Secondary Rainbow) ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าในรุ้งปฐมภูมิที่มีสีเข้มกว่าจะมีหลายๆ สีสลับกันอีก เรียกว่า Supernumerary Rainbow เกิดขึ้นเนื่องจากการแทรกสอดของแสง.

เรื่องน่าสนใจ