ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

ความอุดมสมบูรณ์ของอาหารการกินของไทยไม่เป็นรองใคร เพราะมีทั้งทะเลและภูเขาโอบล้อม เรียกได้ว่ามีอาหารอุดมสมบูรณ์ในทุกภาค

EyWwB5WU57MYnKOuXogj9TU7cMlfjF7XgUPvOfXZJgOsoHIlt6w7mp

ภาคเหนือติดภูเขา อาหารส่วนใหญ่ก็จะเป็นพืช ผักและผลไม้ ภาคอีสาน อาหารส่วนใหญ่จะเป็นพวกแป้ง ข้าว และมีอาหารประเภทเนื้อสัตว์แปรรูป ภาคใต้มีพื้นที่ติดทะเล อาหารส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกกุ้ง หอย ปู ปลา ทั้งสดและแปรรูป ที่ขึ้นชื่อก็เห็นจะเป็นน้ำพริกกุ้งเสียบและ “ปลาจิ้งจั้ง หรือปลาฉิ้งฉั้ง” ที่ทำมาจาก “ปลากะตัก” ตัวเล็กๆเป็นปลาทะเลขนาดจิ๋ว

เห็นตัวจิ๋วแต่คุณค่าทางโภชนาการที่มีอยู่ไม่จิ๋ว จึงมีการใช้ประโยชน์จากปลาชนิดนี้ 2 ทางด้วยกัน คือ นำไปเป็นวัตถุดิบในการทำน้ำปลา และทำปลาตากแห้งขายทั่วไป ในตลาดท้องถิ่นอาจนำมาหมักทำบูดู ฉิ้งฉั้ง ขายด้วย

เห็นตัวเล็กประโยชน์เยอะก็อย่าเพิ่งวางใจเพราะปลาเป็นสัตว์น้ำในทะเล อาจมีการปนเปื้อนสารหนูที่เป็นอันตรายต่อร่างกายคนได้

สารหนู มาจากหลายทาง ทั้งในทางธรรมชาติ จากหินและแร่ธาตุบางชนิดที่มีสารหนูเป็นองค์ประกอบ และจากการทำเหมืองแร่ การผลิตปุ๋ย หรืออุตสาหกรรมหนักซึ่งมักจะมีการปล่อยของเสียสู่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมง่ายๆคือปล่อยของเสียจากการผลิตลงแม่น้ำโดยไม่บำบัด เมื่อสัตว์น้ำได้รับสารหนู คนทานสัตว์น้ำก็ต้องได้รับด้วย

สารหนูมีอันตรายต่อร่างกายรุนแรง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 273) พ.ศ.2546 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน (ฉบับที่ 2) กำหนดให้มีสารหนูในรูปอนินทรีย์ ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สำหรับสัตว์น้ำและอาหารทะเล และสารหนูทั้งหมด 2 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สำหรับอาหารอื่น

วันนี้สถาบันอาหารได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างปลาจิ้งจั้ง 5 ตัวอย่าง จากย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ และจ.สมุทรสาคร เพื่อนำมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารหนูในปลาจิ้งจั้ง

ผลปรากฏว่า พบการปนเปื้อนของสารหนูในปลาจิ้งจั้งทุกตัวอย่างและที่น่าตกใจว่าทุกตัวอย่างพบการปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขไทย ทางที่ดี ขอแนะว่าควรบริโภคแต่น้อย ไม่ควรบริโภคอาหารเดิมๆ ซ้ำๆ เพื่อความปลอดภัย.

NjpUs24nCQKx5e1D61nd0OSGTjd6SfUDScRQBEusWYG

เรื่องน่าสนใจ