ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

นอกเสียจากแง่มุมแห่งการเป็นเด็กดีของ ด.ช.ชาคร เติมบริรักษ์ หรือ น้องฟิวส์ นักเรียนชั้น ม.2/4 ของโรงเรียนเทพศิรินทร์ เด็กชายวัย 13 ปี ที่ต้องกัดฟันสู้ชีวิตด้วยการขายขนมตามฟุตปาทข้างทาง เพื่อนำเงินมาจุนเจือครอบครัว แต่จะมีใครสักคนรู้บ้างไหมว่า เด็กชายผู้นี้มีความทรงจำฝังใจ ที่นึกทีไรก็ชวนน้ำตาไหลรินทุกที…

EyWwB5WU57MYnKOuXxvFVgUP6oGkOUZZiC8iIoacYn0tsNcZhsZYOF

ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร เกิดขึ้นแล้วกับเด็กชายผู้นี้ “โดนดูถูกว่าจน เหยียดสลัม ไม่มีพ่อ ไม่มีเพื่อนคบ ผมผ่านคำพูดเหล่านี้มาแล้ว” จากประโยคหนึ่งของ ด.ช.ชาคร เติมบริรักษ์…ชีวิตจริง ยิ่งกว่าละครของเด็กผู้นี้ จะเศร้ากว่าละครหลังข่าว หรือดราม่ายิ่งกว่าในนิยายหรือไม่ ต้องดู!

4DQpjUtzLUwmJZZGUxBVl5Fq4RkPYG7OfOYI9cjRQd06

น.ส.ทัศนีย์ เติมบริรักษ์ อายุ 43 ปี แม่ของน้องฟิวส์ เปิดบ้านพาทีมข่าวขึ้นไปเยี่ยมเยียน พร้อมสัมผัสกับ 4 ชีวิตที่จะต้องกิน นอน ในห้องพักอันแสนคับแคบ ซึ่งตั้งอยู่ที่อพาร์ตเมนต์ เลขที่ 122/4-185 ห้อง 205 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 12 แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่

โดยบรรยากาศภายในห้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกไม่มากนัก ข้าวของถูกจัดวางไว้เต็มพื้นที่ โดยมีเตียงนอนขนาด 5 ฟุต ตั้งกินพื้นที่เกินครึ่งของห้อง ซึ่งเตียงดังกล่าวก็ไม่ใหญ่โตพอที่จะให้ 4 ชีวิตนอนรวมกันได้ ทางคุณแม่จึงต้องปูที่นอนกับพื้น เพื่อให้ลูกทั้งสองได้นอนบนเตียงอย่างสุขสบาย

NjpUs24nCQKx5e1D7Rqc8CqiHyvCvAjjX7omxwhC310

“เราใช้ชีวิตกินนอนแบบนี้มา 14 ปีเต็ม เราเลี้ยงลูกตัวคนเดียว เราเลิกกับพ่อของลูกมานานมากแล้ว เราทุกคนในครอบครัวลำบากมาก แต่เราก็อยู่กันมาได้ และลูกก็เป็นคนดี” ทัศนีย์ แม่ของน้องฟิวส์ พูดชัดถ้อยชัดคำด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม

ส่วนการเดินทางของน้องฟิวส์ ก็นับว่าไม่ได้รับความสะดวกสบายมากนัก เพราะต้องประหยัดให้มากที่สุด หากจะขึ้นรถแท็กซี่ ก็คงจะไม่มีเงินไปใช้ที่โรงเรียนเป็นแน่ ดังนั้น ทางออกเดียวของเด็กชายสู้ชีวิตก็คือ รถเมล์ น้องฟิวส์เลือกที่จะเดินทางไปโรงเรียนโดยรถเมล์และเดินเท้า เพราะอพาร์ตเมนต์ที่น้องฟิวส์อาศัยอยู่ ตั้งอยู่ในซอยลึกหลายกิโลเมตร

เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องตื่นตั้งแต่เช้ามืด เพื่อเดินออกมาด้านหน้าปากซอยอิสรภาพ 29 และต่อรถเมล์สาย 40 ไปยังโรงเรียน ส่วนขากลับ หรือเวลาเลิกเรียน นั่งรถเมล์มาลงที่หัวลำโพง และเดินเท้าต่อกลับมายังห้องพัก

NjpUs24nCQKx5e1D7Rqc8CqiHyvCvAhXx9Z6LxzOebC

NjpUs24nCQKx5e1D7Rqc8CqiHyvCvAgKAjeT3UWZtch

น.ส.ชาลิสา ปรีดา อายุ 17 ปี พี่สาวของน้องฟิวส์ เล่าให้ทีมข่าวฟังแกมหยอกน้องชายตัวเองว่า “แม่บอกว่า จะให้ฟิวส์เอาดีทางกีฬา เพราะฟิวส์เดินวันละหลายๆ กิโลเมตร เดินทุกวันด้วย แม่เลยชอบแซวฟิวส์ว่า โตขึ้นจะส่งไปเป็นนักกีฬาเดินทน เพราะเดินไกล ไม่มีบ่น”

น.ส.ทัศนีย์ เติมบริรักษ์ อายุ 43 ปี แม่ของน้องฟิวส์ย้อนเล่าไปถึงอดีตเมื่อ 1 ปีก่อนว่า “น้องฟิวส์ เคยมีปัญหากับเพื่อนที่โรงเรียนถึงขั้นชกต่อยกัน ตอนแรกๆ ที่รู้ว่าลูกมีปัญหา เราก็เฝ้าถามว่า เป็นอะไรถึงต้องไปมีเรื่องกับเพื่อน เขาก็ไม่ตอบ ก็แอบโกรธลูกว่า ทำไมถึงเป็นคนเกเร แต่พอเซ้าซี้บ่อยๆ เข้า น้องถึงจะยอมบอก จนได้รู้ความจริงว่า โดนเพื่อนล้อ โดนเพื่อนแกล้งเรื่องที่น้องเป็นลูกคนจน ไม่มีพ่อ และยังอยู่สลัมอีก”

NjpUs24nCQKx5e1D7Rqc8CqiHyvCvAlRMO0TGfWRgsV

NjpUs24nCQKx5e1D7Rqc8CqiHyvCvAnXwSIPWWLd4F4

ด้วยความที่น้องฟิวส์เป็นเด็กเรียบร้อย จึงทำให้เป็นเสมือนแม่เหล็กที่ดูดให้เพื่อนวัยเดียวกันที่แก่นซ่าเข้ามาแกล้ง หรือแหย่เย้าอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ น้องฟิวส์ไม่อยากไปโรงเรียนเป็นเดือนๆ จนครูต้องมาตามถึงที่บ้าน

มารับขนมด้วยเองทุกวัน นั่งนับ ใส่ถุง พร้อมออกขาย

วันนี้รับขนมไป 600 ชิ้น ต้องรบกวนคนช่วยถือออกมาส่งหน้าปากทาง

“เราก็ทำได้เพียงบอกลูกว่าให้ใจเย็น ไม่ต้องไปยุ่งกับเด็กกลุ่มนั้น และตั้งใจเรียน ตั้งใจขายขนมให้ได้เงินเยอะๆ เขาจะได้ไม่มาล้อเราอีก” แม่น้องฟิวส์เล่าถึงเรื่องราวครั้งก่อนด้วยแววตาแสนเศร้า

ลูกสาวคนกลางของบ้าน เล่าถึงที่มาที่ไปของคำหยอกล้อจากเพื่อนๆของน้องฟิวส์ คำพูดที่ทำให้น้องฟิวส์ท้อแท้จนถึงขั้นไม่อยากไปโรงเรียนว่า “บ้านพวกหนูหลังไม่โต เราไม่รวย และที่สำคัญพวกหนูไม่มีพ่อ แม่บอกว่า พอพ่อรู้ว่าแม่ท้องฟิวส์ พ่อก็ทิ้งพวกเราไปเลย พ่อไม่เคยมาถามว่าพวกเราเป็นยังไงบ้าง ฟิวส์เป็นคนเดียวที่ไม่เคยเจอหน้าพ่อเลย รู้อย่างเดียวว่า พ่อไปมีครอบครัวใหม่ เขามีลูก เขารักครอบครัวใหม่ของเขา แต่เขารังเกียจครอบครัวเรา แต่แม่ก็ยังสอนพวกหนูเสมอนะว่า อย่าเกลียดพ่อ เพราะถ้าไม่มีพ่อ พวกเราก็ไม่ได้เกิดมาหรอก”

NjpUs24nCQKx5e1D7Rqc8CqiHyvCvAkDHNDXNkCEOMK

ทีมข่าวถามถึงคุณพ่อของพวกเขาเหล่านี้ว่า “เมื่อน้องฟิวส์โด่งดัง จนเป็นข่าว ทุกคนแห่ชื่นชมขนาดนี้ คุณพ่อรู้บ้างไหม?” น้องฟิวส์ ตอบคำถามทีมข่าวชัดถ้อยชัดคำทันทีว่า “น้าส่งรูป ส่งข่าวที่นักข่าวเขาลงเรื่องฟิวส์ให้พ่อดูทางไลน์แล้ว พ่อเข้ามาอ่านแต่ไม่ตอบอะไร ทั้งๆ ที่ทุกทีก็จะเข้ามาอ่านและมาตอบตามปกติ แต่ครั้งนี้ไม่”

4DQpjUtzLUwmJZZGUxBVl5Fq4RkPYG7KPwhhQuVgVHKxผู้คนต่อคิวรอซื้อและให้กำลังใจ พี่สาวคนนี้เหมาไปมากกว่า 10 ห่อ

“บางทีผมก็อยากได้ของเล่นแบบเพื่อนนะ อย่างพวกรถบังคับ เครื่องบินบังคับ หรือแม้กระทั่งคอมพิวเตอร์ ผมก็อยากเอามาทำรายงาน ทำการบ้านส่งครู ผมก็ถามแม่นะว่า ซื้อให้ได้ไหม ทั้งๆ ที่รู้คำตอบในใจอยู่แล้ว และก็เป็นไปอย่างที่คิดไว้ แม่บอกเหมือนเคยว่า แม่จะเอาตังค์ที่ไหนมาซื้อให้ แม่ไม่มีเงิน” ประโยคบอกเล่าของ น้องฟิวส์ เด็กชายวัย 13 ปี

เด็กชายผู้นี้ ตอบคำถามด้วยแววตาใสซื่อบริสุทธ์ ทำนองว่า ตัวเขาเองก็อยากใช้ชีวิตเหมือนเพื่อนๆ คนอื่น อยากใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย ไปเล่นเกม หรือไปเที่ยวกับเพื่อน อยากมีโทรศัพท์ใช้ แต่ที่ต้องมาขายของ ก็เพราะไม่อยากให้แม่ลำบากคนเดียว อยากช่วยแบ่งเบาภาระ และพี่ๆ ก็ทำแบบนี้ จึงอยากทำบ้าง ถึงตอนแรกจะขี้เกียจและเหนื่อยมาก แต่ตอนนี้เขาก็ไม่รู้สึกแบบนั้นแล้ว

NjpUs24nCQKx5e1D7Rqc8CqiHyvCvApVpGJPWf8yy9w

น้องฟิวส์ เล่าถึงชีวิตหลังเป็นข่าวอย่างอารมณ์ดีว่า “ชีวิตผมเปลี่ยนไปเลยตั้งแต่เป็นข่าว แล้วก็มีคนแชร์กัน ตอนนี้ที่โรงเรียนไม่มีใครล้อเรื่องชีวิตของผมแล้ว แต่ก่อนที่ไม่ค่อยมีเพื่อน ตอนนี้ก็มีคนเข้ามาทักทายตลอดไม่ว่าจะเดินไปไหน ทักจนไม่รู้ว่าจะตอบว่าอะไรดี และเวลาขายขนม เมื่อก่อนต้องใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง ถึงจะขายหมด ฝนตกก็ต้องขายเพราะถ้าไม่หมดก็จะเก็บไปขายต่อไม่ได้ เดี๋ยวขนมจะบูด ตอนนี้ 6-15 นาทีก็เกลี้ยงแล้ว ทั้งๆ ที่ขายเยอะกว่าเดิม เรียกได้ว่า ชีวิตเปลี่ยนเลยครับ”

มองหลากมุม ครู เพื่อน คนรอบตัว มองน้องฟิวส์เช่นไร?

อาจารย์เรืองวุฒิ ทัศนะสกุล หัวหน้าระดับชั้น ม.2 กล่าวถึงเด็กชายชาคร ว่า เป็นเด็กที่อ่อนน้อมถ่อมตน ค่อนข้างเงียบและเรียบร้อย และไม่ค่อยมีเพื่อนในห้องเรียนสักเท่าไหร่ ก่อนหน้านี้ตัวอาจารย์ไม่เคยทราบมาก่อนว่าเด็กไปขายขนม เพราะเด็กปิดบังเรื่องราวชีวิตของตัวเอง เนื่องจากอายเพื่อนๆ แต่ทาง ผอ.ทราบดีว่า น้องฟิวส์ต้องไปขายของ เนื่องจากภรรยาและลูกชายของผู้อำนวยการโรงเรียน (ผอ.) ไปพบโดยบังเอิญบนสะพานลอย

4DQpjUtzLUwmJZZGUxBVl5Fq4RkPYG7MlW5wXYP0tS8w

ตั้งแต่ภรรยาและลูกชายของ ผอ. บังเอิญผ่านไปเห็น ทางโรงเรียนก็ได้ให้การช่วยเหลือโดยให้ทุนอาหารกลางวัน วันละ 40 บาท และได้ทุนจากโรงเรียน 2,000 บาท เป็นทุนปัจจัยพื้นฐานจากทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำหรับเด็กยากจน ซึ่งในกรณีของน้องฟิวส์ทางโรงเรียนไม่เห็นเป็นเรื่องแปลก เพราะก็มีเด็กฐานะเช่นเดียวกับน้องฟิวส์อีกหลายคน

หลังจากมีการแชร์ภาพในโซเชียล ทางโรงเรียนก็เข้าไปช่วยดูแลเรื่องเงินที่ถูกบริจาคผ่านทางโรงเรียน ซึ่งตอนนี้เป็นจำนวนเงินประมาณ 23,000 บาท โดยจะเปิดบัญชีเป็นชื่อของ ด.ช.ชาคร เติมบริรักษ์ โดยมีอาจารย์แนะแนวเป็นผู้ดูแลในเรื่องของการเบิกจ่าย และจดบันทึกอย่างละเอียดว่าการบริจาคให้มาด้วยวัตถุประสงค์ใด ทั้งนี้ การเบิกจ่ายแต่ละครั้งจะดูเรื่องความจำเป็น เพื่อเป็นการทำให้เด็กรู้จักการใช้เงินอย่างประหยัด

4DQpjUtzLUwmJZZGUxBVl5Fq4RkPYG7NYPc4UtSKI3JT

นายพรชัย (ไม่ขอเปิดเผยนามสกุล) ศิษย์เก่ารุ่นที่ 100 ของโรงเรียนเทพศิรินทร์ พูดคุยกับทีมข่าวบริเวณที่น้องฟิวส์ขายของว่า วันนี้ตนตั้งใจมาซื้อขนมน้อง โดยเดินทางโดยรถเมล์ตั้งแต่บางเขนมาท่าพระ ไม่ได้มุ่งหวังจะมาขอถ่ายรูปหรือมาตามกระแสแต่อย่างใด แต่อยากจะเป็นส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งที่ได้ช่วยเหลือชีวิตของน้องร่วมสถาบัน

โดย นายพรชัย ซื้อขนมของน้องฟิวส์เพียง 6 ห่อเท่านั้น แต่จ่ายด้วยเงิน 3,000 บาท โดยไม่รับเงินทอนแม้แต่บาทเดียว และเมื่อซื้อเสร็จแล้ว เขาก็เดินจากไป โดยไม่เข้าไปวุ่นวายรบกวนน้องเลย

เด็กชายเบส เพื่อนร่วมชั้นเรียนของน้องฟิวส์ พูดถึงฟิวส์เวลาที่อยู่โรงเรียนว่า ฟิวส์ เป็นคนค่อนข้างเงียบ เมื่ออยู่ในห้องเรียนก็จะไม่ค่อยยุ่งกับใครสักเท่าไหร่ เวลาว่างก็มักจะเข้ามาเล่นคอมพิวเตอร์ในห้องสมุดอยู่บ่อยๆ และก่อนที่จะมีการกระหน่ำแชร์ภาพในโลกออนไลน์ เพื่อนในห้องเดียวกัน ก็ไม่มีใครเคยทราบว่า ฟิวส์ต้องไปขายขนมทุกเย็นแบบนี้

ล้อเลียนว่าลูกไม่มีพ่อ เหยียดหยามว่าจน เบ้ปากว่าอยู่สลัม และนี่คือชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย ที่สะท้อนสังคมไทยได้เป็นอย่างดี…

เรื่องน่าสนใจ