ที่มา: dodeden

นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรมสบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับการปฏิบัติของสถานประกอบการเพื่อสุขภาพทั้ง 3 ประเภท

ได้แก่ สปา นวดเพื่อสุขภาพ และนวดเพื่อเสริมความงาม ว่าขณะนี้หลายฝ่ายยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 ขอยืนยันว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังไม่พ้นระยะเวลา 180 หลังลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559 จึงยังไม่มีผลบังคับใช้ จนกว่าจะพ้น 180 วัน คือวันที่ 27 กันยายน 2559

gm7vkeetdctb

นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง  กล่าวว่า ในระหว่างที่รอพ.ร.บ.ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ผู้ประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายเดิม ที่ได้รับใบรับรองจากกรมสบส. ตั้งแต่ พ.ศ.2547 – 2559 กว่า 1,700 แห่งทั่วประเทศ จะต้องยึดแนวปฏิบัติตามกฎหมายฉบับเดิม

ซึ่งได้แยกสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ออกจากสถานบริการทั่วไปอย่างชัดเจน คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2551 ที่ออกตามพ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 อย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงคุณภาพมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

ทั้งด้านความสะอาด สถานที่ คุณภาพบุคลากร การบริการ และความปลอดภัย และต้องกำหนดเวลาเปิด-ปิดตามที่กฎหมายกำหนด คือ สปา, นวดเพื่อสุขภาพ เปิดทำการเวลา 08.00 จนถึง 24.00 น.

ส่วนนวดเพื่อเสริมความงาม กำหนดเปิดเวลา 06.00 จนถึง 22.00 น. หากไม่ปฏิบัติตามถือว่ามีความผิดจะถูกตักเตือน จนถึงขั้นเพิกถอนใบรับรอง จึงขอเน้นย้ำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมาย เป็นแนวทางเดียวกันทั่วประเทศ

นายแพทย์ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล ผู้อำนวยการกองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กล่าวว่า สปา นวดเพื่อสุขภาพ และนวดเพื่อเสริมความงามที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรม สบส. จะต้องติดใบรับรองมาตรฐาน

พร้อมทั้งตราสัญลักษณ์ “มาตรฐาน สบส.” ซึ่งเป็นรูปมือสีทองและดอกกล้วยไม้สีม่วงให้เห็นได้ชัดเจน และจะต้องยื่นขออนุญาตประกอบกิจการภายใน 180 วัน หลังพ.ร.บ.ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้

ในส่วนของผู้ประกอบการรายใหม่ทั้ง 3 ประเภท ที่ยังไม่ได้รับใบรับรอง ได้เร่งเตรียมความพร้อมสถานประกอบการฯรายใหม่ ในการยื่นขออนุญาตประกอบกิจการตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2559 เป็นต้นไป

โดยในพื้นที่ กทม. 50 เขต ได้ให้กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ส่งเจ้าหน้าที่ไปให้คำแนะนำวิธีการปฏิบัติตน ความรู้ทางกฎหมาย และในส่วนภูมิภาค 76 จังหวัดได้ประสานไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง ดำเนินการเช่นเดียวกัน โดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายในการให้คำแนะนำ

และใช้เวลา 60 วันในการออกใบอนุญาต และสามารถใช้เอกสารที่ยื่นขออนุญาตต่อกรม สบส. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นหลักฐานว่าอยู่ในระหว่างที่รอพิจารณาออกใบอนุญาต เพื่อประกอบกิจการเป็นการชั่วคราว

เรื่องน่าสนใจ