ที่มา: ผู้จัดการ

เอียน ลอยด์ นูเบาเออร์ (Ian Lloyd Neubauer) นักข่าวไทมส์ชาวออสเตรเลีย รายงานประสบการณ์ตรงผ่านสื่อไทม์สถึงสถานการณ์ของนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทยที่ถูกตำรวจรีดไถมากจนผิดสังเกต

โดยนูเบาเออร์ถึงกับเปรียบเปรยว่า ไทยน่าจะเปลี่ยนจากดินแดนแห่งรอยยิ้มเป็น “ดินแดนแห่งการแบล็กเมล และรีดไถ” ซึ่งยืนยันจากทั้งการที่เอกอัคราชทูตอังกฤษ มาร์ค เคนท์ ได้ทวีตข้อความในวันที่ 10 ธันวาคม 2014 ว่า

ได้เข้าพบกับรัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยงและกีฬาของไทย ซึ่งต่างหารือหลายประการ และมีปัญหาได้รับรายงานความผิดปกติของตำรวจไทยในการหยุดและตรวจค้นนักท่องเที่ยวต่างชาติมากจนผิดสังเกต

558000000824101

และรวมไปถึงเสียงของโจ คัมมิงส์ อดีตผู้เขียนโลนลีแพลเนต สื่อคู่มือนักท่องเที่ยวแบ็คเพคกระฉ่อนโลกที่มักแนะนำให้ไทยเป็นจุดหมายต้นๆของนักท่องเที่ยวแบ็คแพคเกอร์

ได้ทวีตข้อความในวันที่ 6 ธันวาคม 2014เรื่องนักท่องเที่ยวต่างชาติตกเป็นเหยื่อการรีดไถและคุกคามของเจ้าหน้าที่ในไทยว่า

“ตำรวจไทยเลือกสุ่มที่จะหยุดและตรวจค้นนักท่องเที่ยวต่างชาติหนักข้อขึ้นทุกที และมีรายงานว่านักท่องเที่ยวต้องถูกบังคับให้จ่ายสินบนทั้งๆเป็นผู้บริสุทธิ”

นอกจากนี้นูเบาเออร์ นักข่าวสื่อไทม์ส์ได้เล่าประสบการณ์ตรงของการถูกรีดไถโดยตำรวจไทย หลังจากได้อ่านเรื่องของ รีส วอลกเกอร์ (Reese Walker) นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ตกเป็นเหยื่อได้เขียนจดหมายไปยังบ.กของบางกอกโพสต์

ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา ในหัวข้อ “หยุดและตรวจค้น” และเมื่อวอลกเกอร์ถามเจ้าหน้าที่ถึงสาเหตุที่เรียกให้ค้นตัว แต่ทว่าเขากลับถูกเจ้าหน้าที่ไทยหัวเราะเยาะใส่หน้า และไม่มีคำอธิบายออกมาแต่อย่างใด

นอกจากนี้คู่หมั้นของวอลกเกอร์ยังถูกขอให้ทำการตรวจปัสสาวะบริเวณข้างถนน และในจดหมายถึงบรรณาธิการ วอล์กเกอร์ยังระบุว่า “พวกเราจะไม่แนะนำให้คนอื่นที่รู้จักมาท่องเที่ยวในไทยเด็ดขาดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 2 เหตุการณ์นั้น ซึ่งพวกเราต่างเชื่อว่า เป็นการเลือกปฎิบัติจากการใช้เชื้อชาติและสีผิวเป็นที่ตั้ง”

โดยนักข่าวไทมส์ชี้ว่า ประสบการณ์ของเขาคล้ายกับที่เกิดกับวอล์กเกอร์อย่างน่าประหลาด ซึ่งนูเบาเออร์ได้รับมอบหมายให้เดินทางมาทำงานในไทยในช่วงคริสมาสต์ในปีที่ผ่านมา และต้องตกเป็นเหยื่อการถูกแบล็กเมลโดยเจ้าหน้าที่ในขณะที่กำลังอยู่ในสถานเที่ยวย่านกลางคืนบนถนนสีลมในคืนคริสมาสต์อีฟ

ในขณะที่เขาอยู่บริเวณเฉลียงชั้นสองของผับแห่งหนึ่งในเวลา 2 .00 น. และเมื่อนูเบาเออร์เดินลงไปชั้นล่างของร้าน เขาพบกับตำรวจจำนวน 6 คนกำลังขอตรวจใบอนุญาตของผับ

พร้อมกับสอบปากคำบาร์เทนเดอร์ที่ถูกใส่กุญแจมือกับเก้าอี้ และหนึ่งในเจ้าหน้าที่กลุ่มนั้นได้ตรงเข้ามาที่นูเบาเออร์พร้อมกับเข้าจับกุม ในขณะที่นักข่าวชาวออสเตรเลียผู้นี้สอบถามว่า เกิดอะไรขึ้น พร้อมกับกล่าวว่าเขาเป็นนักข่าว แต่ตำรวจผู้นั้นทำท่าคุกคามใส่นูเบาเออร์จนทำให้เขาต้องหยุดตั้งคำถาม

 และในอีก 15 นาทีถัดมา ตำรวจอีกนายเดินตรงมาที่นูเบาเออร์พร้อมถุงที่มีผงสีขาวอยู่ภายในพร้อมถามด้วยเสียงคุกคามในขณะที่มือหนึ่งเขย่าถุงตรงหน้าว่า เป็นผู้ซื้อสิ่งนี้หรือไม่ ซึ่งแน่นอนที่สุดนักข่าวออสเตรเลียตอบปฎิเสธอย่างหนักแน่น

ในขณะที่ตำรวจนายอื่นๆเริ่มใช้อภิสิทธิ์ในการเปิดสุราและเครื่องดื่มภายในร้านและดื่มกินจากบาร์ และเมื่อบาร์เทนเดอร์ พนักงานในร้านได้ร้องขอไม่ให้กระทำเช่นนั้น เขากลับถูกตำรวจเตะเสยที่ปลายคาง

 ต่อมาในท้ายที่สุดตำรวจไทยนำตัวนูเบาเออร์ออกไปนอกร้าน ซึ่งมีหญิงไทยคนหนึ่งได้พูดเกลี้ยกล่อมกับเขาว่า หากนักข่าวไทม์สผู้นี้ยินยอมจ่าย15,200 ดอลลาร์ เขาจะได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระทันที

แต่นูเบาเออร์บอกหญิงผู้นั้นไปว่า ไม่ได้ทำอะไรผิด และจะไม่ยอมจ่ายให้กับตำรวจไทยแม้แต่เซนต์เดียว ทำให้นูเบาเออร์ต้องถูกนำตัวกลับเข้าไปภายในผับอีกครั้ง ซึ่งพบว่าตำรวจไทยได้จับกุมนักท่องเที่ยวต่างชาติคนอื่นอีก 4 ราย และนำคนทั้ง 5 รวมทั้งนูเบาเออร์ขึ้นรถแท็กซีเพื่อไปยังสถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุดโดยไม่ให้ข้อมูล หรือคำอธิบายใดๆ

และนักข่าวผู้นี้ได้เล่าผ่านไทม์สต่อไปว่า ในอีก 4 ชั่วโมงถัดไป นูเบาเออร์พร้อมทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติรายอื่นต้องถูกบังคับให้ทำการตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ โดยที่มีเจ้าหน้าที่ยืนเฝ้าอยู่หน้าห้องสุขา

พร้อมกับตะโกนไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีนูเบาเออร์รวมอยู่ในนั้นว่า “แก โคเคน” ทำให้นักข่าวชาวออสเตรเลียคนนี้นึกภาพไปถึงหนังสือชื่อดัง และทีวีซีรีส์กี่ยวกับคุกบางขวางแวบเข้าไปในความคิด

หลังจากที่ทั้งนูเบาเออร์และผู้ร่วมชะตากรรมอีก 4 รายต้องผ่านการให้ตัวอย่างปัสสาวะ คนทั้งหมดถูกพาไปยังอีกห้องหนึ่งเพื่อทำการบันทึกภาพโดยมีตัวอย่างปัสสาวะของแต่ละคนอยู่เบื้องหน้า ที่ทำให้ชาวต่างชาติเหล่านั้นคล้ายกับเป็นผู้ต้องหา

และไม่นานหลังจากนั้นตำรวจไทยกลับมาพร้อมกับเอกสารในมือที่เป็นภาษาไทยทั้งหมด พร้อมบอกให้ทุกคนที่ถูกจับกุมลงนามในเอกสารโดยไม่มีล่ามแปลให้ทราบถึงข้อความในนั้นว่าระบุอะไรบ้าง และในจุดนี้นูเบาเออร์ที่เป็นนักข่าวได้ขอพบกับตัวแทนสถานทูตออสเตรเลีย

และเขากล่าวว่า ทำให้ตำรวจไทยต้องยอมเปิดปากชี้แจงว่า ทุกคนที่ถูกจับตัวมาไม่พบสารเสพติดในปัสสาวะ และหากลงชื่อแล้วจะได้รับการปล่อยตัวออกไป จึงทำให้นูเบาเออร์ยอมลงนามในเอกสาร

แต่นักข่าวออสเตรเลียผู้นี้ได้เขียนกำกับไว้ข้างลายเซ็นของเขาว่า “นี่ไม่ใช่ลายเซนต์ของผม” และนูเบาเออร์สามารถได้รับอิสรภาพเดินออกมาจากสถานีตำรวจได้ในวันที่ 25 ธันวาคมเวลา 8.00 น.

นอกจากนี้ในข้อเขียนของนูเบาเออร์ เขายังระบุว่า ในช่วงการถูกควบคุมตัว เขาได้แจ้งตำรวจไทยไปหลายครั้งว่า เป็นนักข่าว และต้องการคำอธิบายถึงการจับกุมตัวแต่กลับไม่ได้รับคำตอบ และภายหลังจากได้รับอิสรภาพ นูเบาเออร์ได้เขียนอีเมลยังที่อยู่เป็นทางการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อขอคำอธิบายในสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเขา

แต่อีเมลกลับถูกตีกลับคืนมา และนักข่าวไทม์สยังได้ส่งอีเมลไปยังหน่วยงานรัฐอื่นๆของไทย ที่คาดว่าจะมีหน่วยงานประสานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมทั้งสถานทูตออสเตรเลียประจำไทย

แต่ทว่าเขากลับได้รับคำตอบจากองค์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยความว่า “รัฐบาลไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่มีนโยบาย “กักขัง ข่มเหง ลักพาตัว ข่มขู่ และทำการทดสอบสารเสพติดกับนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกในไทยแต่อย่างใด”

ซึ่งในทางกลับกัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวชาติตะวันตกในไทย ซึ่งถือเป็นเป้าหมายต้นๆที่ยังต้องกระทำต่อเนื่องในประเทศนี้”

เรื่องน่าสนใจ