รองเท้าส้นสูงนั้น ได้รับการถกเถียงเรื่องประเด็นสุขภาพมานานแล้ว แน่ล่ะว่า รองเท้าชนิดนี้ (ทำให้ขาหญิงสาวอย่างเราเรียวยาว และเต็มไปด้วยเสน่ห์ชวนมองชะมัดยาด) แต่ยอมรับเถอะว่า รองเท้าอันเต็มไปด้วยเวทย์มนต์นี้ ก็แผลงฤทธิ์จิกกัดเท้าเราได้มากเช่นกัน

 

ส้นสูงกับสุขภาพ

 

ที่เป็นเช่นนั้นน่ะมีเหตุผลนะคะ เพราะรองเท้าที่สูง 1 นิ้วนั้น สามารถเพิ่มแรงกดให้กับเท้าได้ประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ ส่วนส้นสูง 2 นิ้วสามารถเพิ่มแรงกด 57 เปอร์เซ็นต์ และ 3 นิ้วเพิ่มแรงกดถึงตั้ง 76 เปอร์เซ็นต์แน่ะ ซึ่งหากเราสวมรองเท้าส้นสูงบ่อยๆ และปล่อยให้ปลายเท้าถูกบีบอัดกดทับในระยะยาวนั้น เท้าของเราอาจเกิดเล็บเท้าขบ หูดหรือตาปลาที่ฝ่าเท้า เส้นประสาทเท้าอักเสบ เอ็นข้อเท้าอักเสบ กล้ามเนื้อน่อง เอ็นร้อยหวายหดรั้ง หรือนิ้วเท้าหงิกงอผิดปกติได้

 

ส้นสูงกับสุขภาพ แนะนำเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้คุณสุขภาพดี

ในกรณีอย่างนี้ รองเท้าที่มีการเสริมความสูงด้านหน้า (แพลตฟอร์ม) หรือรองเท้าส้นเตารีด จะปราณีต่อเท้าสุภาพสตรีของเราหน่อยนึง เรียกว่าใส่แล้วไม่บีบอัด ทว่าความลาดเอียงของพื้นรองเท้า ก็ยังไม่เป็นไปตามธรรมชาติของรูปเท้าอยู่ดี แล้วเราควรใส่ส้นสูงต่อไปดีไหมนะ? คำตอบก็คือ ใส่ได้ค่ะ แต่ก็ต้องมีเทคนิคในการรับมือกันหน่อย

หลีกเลี่ยงการยืนบนส้นสูงติดต่อกันเกิน 4-5 ชั่วโมง
เท้านั้นสามารถขยายได้เมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่ (โดยเฉพาะหลังจากตั้งครรภ์) และเท้าจะขยายตัวมากที่สุดในตอนเย็น ดังนั้น ถ้าจะซื้อรองเท้าควรเลือกซื้อเวลานี้ แล้วควรวัดขนาดเท้าทุกปี เพราะไซส์ของเท้าอาจเปลี่ยนแปลง คุณจะได้ไม่ซื้อรองเท้าผิดไซส์ อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญ คือควรใส่แผ่นรองใต้ฝ่าเท้า (orthopedic slip) หรือแผ่นลดอาการปวดเมื่อย (gel pad) จะช่วยปกป้องเท้าขณะเดินได้

ควบคุมน้ำหนักบ้าง
แม้เท้าจะเป็นอวัยวะส่วนที่มีไว้รองรับน้ำหนักตัวอยู่แล้ว แต่การมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ก็ส่งผลเสียต่อเท้าได้เช่นกัน ถ้าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หมายถึงข้อเท้าคุณจะได้รับแรงกดทับเพิ่มขึ้นด้วย นับเป็นเหตุผลที่เข้าท่ามากในการควบคุมน้ำหนัก เพราะจะได้ทั้งสุขภาพกายที่ดี และข้อเท้าจะได้ไม่เจ็บปวด

 

ส้นสูงกับสุขภาพ
ภาพจาก : nailvillaandspa.com

 

สำหรับสาวๆ ที่มีความจำเป็นต้องใส่และยืนบนรองเท้าส้นสูงนานๆ และใช้งานเท้าแบบจัดเต็มนั้น คุณสามารถดูแลเท้าแบบง่ายๆ ที่บ้านได้ด้วยการแช่เท้าในน้ำอุ่นจัดประมาณ 10-15 นาที หรือลองทำสปาเท้าดูก็ได้ เพราะมันทำง่ายมาก แค่มีมะขามเปียก สบู่เหลว หรือสบู่ก้อน แปรงสีฟันเก่าที่เลิกใช้ สำลี โทนเนอร์ และโลชั่นน้ำนม ก็สามารถทำได้แล้ว เริ่มจากการขัดมะขามเปียก ตามด้วยสบู่ ขัดไปเรื่อยๆ ให้รู้สึกผ่อนคลาย นำแปรงสีฟันมาถูกบริเวณรอยดำ รอยด้าน จากนั้นใช้สำลีชุบโทนเนอร์ขัดบริเวณที่ด้าน เช่น ส้นเท้า สุดท้ายค่อยลงโลชั่นน้ำนมให้ทั่ว คุณจะได้เท้าที่สะอาด ผ่อนคลาย หากพอมีเวลาควรทำสปาเท้าอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์นะคะ

 

ส้นสูงกับสุขภาพ
ภาพจาก : gizmodiva.com

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกรองเท้า

บริเวณด้านหน้าของรองเท้า (toebox) ต้องให้มีความกว้างพอประมาณ ซึ่งสามารถขยับนิ้วเท้าขึ้น-ลงได้ขณะใส่รองเท้าได้โดยไม่คับแคบจนเกินไป แนะนำให้ทดลองขนาดของรองเท้าในช่วงค่ำของวัน ซึ่งขนาดของเท้าจะใหญ่ที่สุด

บริเวณพื้นรองด้านในรองเท้า (insole) ควรต้องมีความนุ่ม อาจพิจารณาเสริมตัวรอง (pad) ให้เข้าได้กับรูปทรงของเท้าในผู้ที่มีอุ้งเท้าผิดปกติ

บริเวณด้านหลังของรองเท้า (counter) ควรมีความแข็งแรงและบุด้วยวัสดุที่นุ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเสียดสีบริเวณผิวหนัง

บริเวณส้นเท้า (heel) ไม่ควรใส่รองเท้าที่มีส้นสูงเกิน 2 ¼ นิ้ว ถ้ามีความจำเป็นต้องใส่รองเท้าที่มีส้นสูงกว่านี้แนะนำให้จำกัดช่วงเวลาที่ต้องใช้เท่าที่จำเป็น โดยไม่เกิน 4-5 ชั่วโมง/วัน

แนะนำให้เลือกรองเท้าที่ตัดเย็บด้วยวัสดุประเภทหนังหรือเป็นผ้าใยสังเคราะห์ ซึ่งสามารถปรับระบายอากาศได้ดี เพื่อป้องกันเท้าอับชื้น

••••••••••••••••••

ที่สำคัญ เราแนะนำให้เลือกรองเท้าที่มีน้ำหนักเหมาะสม ซึ่งไม่ควรเกิน ½ kg สำหรับรองเท้า 1 ข้าง และสิ่งที่สำคัญ คือ ควรเลือกรองเท้าที่มีส่วนพื้น (outsole) เรียบ และไม่เกิดการลื่นไถลโดยง่ายขณะเดิน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มค่ะ

 

เรียบเรียงเนื้อหาโดย  Dodeden.com

 

 

เรื่องน่าสนใจ