ที่มา: dodeden

วันนี้ (3 ตุลาคม 2559) ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข  ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข   นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค

14593379_1485880281428488_958644865_n

ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสซิกา เพื่อรับทราบสถานการณ์ ผลการดำเนินการ มาตรการการดำเนินการเพิ่มเติมและแนวทางการสื่อสารความเสี่ยงเพื่อให้ประชาชนเข้าใจ ไม่ตื่นตระหนก และให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสซิกาอย่างเต็มที่ 

โดยในกลุ่มเสี่ยงหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยหรือสงสัยว่าติดเชื้อทุกคนจะต้องได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการว่าติดเชื้อไวรัสซิกาหรือไม่ เพื่อวางแผนการดูแลต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการลงทุนเพื่อความปลอดภัยของประชาชน

ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการด้านวิชาการ ศึกษาต่อเนื่องให้มีข้อมูลเพียงพอเพื่อจัดทำแนวทางการบริหารจัดการ เช่น หญิงวัยเจริญพันธ์ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร หากหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อต้องดำเนินการอย่างไร และเด็กที่เกิดมาศีรษะเล็กต้องวางแผนดูแลต่อเนื่องอย่างไร

14569143_1485880191428497_65427436_n

ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล กล่าวต่อว่า ขอให้เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ขณะนี้ประชาชนกำลังตื่นตัวในเรื่องการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ให้เร่งเสริมความเข้มข้นของระบบป้องกันควบคุมโรคอย่างเต็มที่ 

โดยเฉพาะในเรื่องการกำจัดลูกน้ำยุงลาย เพราะจะได้ผลในการควบคุมโรคที่เกิดจากยุงลายทั้งหมด ที่สำคัญคือโรคไข้เลือดออก ข้อมูลจากสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค ตั้งแต่มกราคมถึง 27 กันยายน 2559 พบผู้ป่วย 44,396 คน เสียชีวิต 33 ราย ซึ่งน้อยกว่าปี 2558 ในช่วงเวลาเดียวกันถึงร้อยละ 50.73

ทั้งนี้เป็นผลจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะประชาชน ที่ตื่นตัวในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย   อย่างไรก็ตาม ยังพบพื้นที่ที่ยังมีปัญหาลูกน้ำยุงลายสูงคือ ศาสนสถานพบร้อยละ 60.47 โรงเรียนร้อยละ 41.40 โรงงานร้อยละ 38.10 และโรงพยาบาลร้อยละ 27.59

ส่วนในบ้านประชาชนแหล่งที่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะมากที่สุดคือภาชนะที่เก็บน้ำใช้พบถึงร้อยละ 70  รวมทั้งในภาชนะที่ไม่ใช้ประโยชน์ และยางรถเก่า

14518197_1485880464761803_1703251959_n

ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขอให้กรมควบคุมโรค เร่งรัดดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้ 1.จัดระบบเฝ้าระวัง ตรวจคัดกรอง และรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาที่มีอาการทางระบบประสาท   2.จัดระบบเฝ้าระวัง ตรวจคัดกรองและรายงานเด็กศีรษะเล็กที่คลอดจากแม่ติดเชื้อไวรัสซิกา

3.ดำเนินการตามข้อเสนอของคณะกรรมการด้านวิชาการ ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ที่เสนอให้กระทรวงสาธารณสุขเฝ้าระวังในหญิงตั้งครรภ์อย่างเข้มข้น และบริหารจัดการหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ที่พบผู้ป่วย หรือติดเชื้อไวรัสซิกา

อาทิ ปรับปรุงแนวทางการดูแล จัดระบบการคัดกรอง จัดทำแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่สงสัยจะติดเชื้อไวรัสซิกา หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการพบผู้ติดเชื้อไวรัสซิกา โดยมีผู้แทนกรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  ราชวิทยาลัยสูติกรรม กุมารเวชกรรม จิตแพทย์ รังสีการแพทย์ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ การสนับสนุนงบประมาณในการตรวจคัดกรอง ตรวจวินิจฉัยโรค และการวิจัย

เรื่องน่าสนใจ