ที่มา: med.mahidol.ac.th

หากเจอผู้ป่วยที่หยุดหายใจกระทันหัน เราต้องรับมืออย่างไรดี? เพราะนี่เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกสถานที่ และสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้าได้ การมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการช่วยเหลือคนไข้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน จะช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้

 

หากเจอผู้ป่วยที่หยุดหายใจกระทันหัน
ภาพจาก Howcast

 

นี่จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรเตรียมความพร้อมในเรื่องของการฝึกช่วยเหลือเบื้องต้น และการเรียกรถพยาบาล รวมถึงการขอความช่วยเหลือที่ถูกต้องเหมาะสม

 

หากเจอผู้ป่วยที่หยุดหายใจกระทันหัน เราต้องรับมืออย่างไรดี?

หากพบผู้ป่วยหมดสติ ให้ทำการกระตุ้นว่าผู้ป่วยรู้สึกตัวหรือมีการตอบสนองหรือไม่ หากคลำชีพจรเป็นให้คลำชีพจรเพื่อตรวจสอบ เรียกขอความช่วยเหลือแล้วกลับมาทำการกดหน้าอกผู้ป่วย เนื่องจากในการช่วยเหลือผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือได้ด้วยคนเดียวต้องมีผู้ช่วยด้วย การทำ CPR ช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน

การกดหน้าอกผู้ป่วยให้กดบริเวณตรงกลางซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่ของกระดูกหน้าอก โดยบริเวณนี้จะมีความปลอดภัยเนื่องจากมีกระดูกรองรับอยู่ โดยให้กดที่ตำแหน่งครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก ใช้สันมือหนึ่งข้างในการกดพร้อมกับใช้มืออีกข้างหนึ่งล็อคมือที่ใช้กดหน้าอกไว้ กดหน้าอกให้ลึกลงไป 2 นิ้ว ไม่ควรลึกเกิน 2.4 นิ้ว ซึ่งปกติแรงกดของคนทั่วไปมักไม่เป็นอันตราย จึงควรพยายามกดให้แรงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการกระตุ้นหัวใจ โดยใช้ความเร็วในการกดหน้าอกที่ 100-120 ครั้งต่อนาที สำหรับคนทั่วไปไม่ต้องเว้นช่วงเพื่อเป่าปาก แต่ถ้าหากเป็นบุคลากรทางการแพทย์อาจใช้วิธีเป่าปากร่วมด้วยในการช่วยเหลือ และหากมีอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อก็ควรใช้ร่วมด้วย

 

หากเจอผู้ป่วยที่หยุดหายใจกระทันหัน
ภาพจาก adamssafety.com

รู้จักกับอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน

ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นกะทันหันกว่าร้อยละ 50 เกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ในลักษณะของหัวใจห้องล่างเต้นพริ้ว หากเกิดภาวะนี้จำเป็นต้องใช้เครื่อง AED ในการช็อตหัวใจผู้ป่วย หากไม่มีอุปกรณ์ดังกล่าว ส่งผลให้การช็อตหัวใจผู้ป่วยช้าไปเพียง 10 นาที ผู้ป่วยสามารถเสียชีวิตได้ ถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมาก โดยเครื่องนี้สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเท่านั้น ดังนั้นหากพบคนหมดสติต้องแน่ใจก่อนว่าผู้ป่วยแค่เป็นลม หรือมีภาวะหัวใจหยุดเต้นไป หากพบผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นแล้วนำเครื่อง AED มาใช้งาน ตัวเครื่องจะทำการวิเคราะห์ได้ว่าผู้ป่วยรายนั้นต้องช็อตหัวใจหรือไม่

หากพบผู้ป่วยหมดสติ ควรตรวจสอบว่ามีภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ โดยการกระตุ้นผู้ป่วยว่ามีการตอบสนองหรือไม่ ไม่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นด้วยคนเดียวได้ จำเป็นต้องมีผู้ช่วย โดยคนหนึ่งจะทำการ CPR เบื้องต้นก่อน

•••••••••••••••••••••

เบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินเมื่อพบผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นคือ 1669 ควรโทรเรียกเพื่อการช่วยเหลือเพิ่มเติม เช่น การใช้เครื่อง AED แต่ระหว่างรอการช่วยเหลือเพิ่มเติมให้ทำ CPR ช่วยชีวิตไปก่อน ส่วนเครื่อง AED ต้องใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเท่านั้น

 

เรียบเรียงเนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ