ที่มา: dodeden

เตือนภัย !! เพจเฟซบุ๊ก “ภูมิสมดุล BIM” อวดอ้างสรรพคุณช่วยในการลดรอบเอว กระชับสัดส่วน  สลายไขมัน ภายใน 1 ชั่วโมง ตรวจสอบพบมีการโฆษณา โดยใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ อันเกี่ยวกับเครื่องสำอางซึ่งไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคยา !! เครื่องสำอางไม่ได้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกาย ขอให้ระมัดระวังการโฆษณาอ้างสรรพคุณเกินจริง ก่อนซื้อสินค้ามาใช้ ควรหาจากแหล่งที่เชื่อถือได้  ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการได้ รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์  ทั้งนี้ อย.จะดำเนินคดีกับผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และ ผู้โฆษณาสินค้าผิดกฎหมายอย่างเข้มงวดต่อไป

ผู้สื่อข่าวโดดเด่นดอทคอม รายงานว่า วันนี้ ( 4 กรกฎาคม 2560 )  เภสัชกรสมชาย ปรีชาทวีกิจ ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการคณะกรรมการ อาหารและยา เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่มีการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอางผ่านทางเพจเฟสบุ๊ค ชื่อ “ภูมิสมดุล BIM” ซึ่งพบว่ามีการอวดอ้าง สรรพคุณช่วยในการลดรอบเอว ด้วยครีมนวดสูตร SlimSafe นั้น

สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความห่วงใยผู้บริโภค รุดตรวจสอบข้อเท็จจริงจาก ฐานข้อมูลเครื่องสำอาง พบการจดแจ้งเครื่องสำอางดังกล่าว แต่มีการโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมาย โดยแสดงข้อความ “…ยกกระชับสัดส่วน สลายไขมัน เอวบาง หุ่นสวย  ผอมเพรียว ภายใน 1 ชั่วโมง” ข้อความเหล่านี้ เป็นข้อความที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง

ในทำนองที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญอันเกี่ยวกับเครื่องสำอางซึ่งไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค เนื่องจากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดประสงค์  เพื่อใช้ทำความสะอาดและเพิ่มความสวยงามเท่านั้น  ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกาย ไม่สามารถทำ ให้สัดส่วนของรูปร่างเปลี่ยนแปลงได้ ขอให้ผู้บริโภคระมัดระวังการโฆษณาอ้างสรรพคุณในทำนองดังกล่าว

รองเลขาธิการ ฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า หากผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องสำอางมีการโฆษณาโดยใช้ ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญอันเกี่ยวกับเครื่องสำอาง จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติ เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 โดยมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เภสัชกรสมชาย ปรีชาทวีกิจ ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการคณะกรรมการ อาหารและยา

สำหรับ ผู้บริโภคก่อนตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง ขอให้ซื้อจากร้านที่มีหลักแหล่งเชื่อถือได้ และอ่านฉลากเครื่องสำอางให้ถี่ถ้วน สังเกตเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก หรือ 13 หลัก และต้องมีชื่อที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าแสดงอยู่อย่างชัดเจน

หากเป็นเครื่องสำอางที่นำเข้ามาจากต่างประเทศก็ต้องมีฉลากภาษาไทย ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก หรือ 13 หลัก ของเครื่องสำอางได้ทาง Oryor Smart Application ว่าเลขที่ใบรับแจ้งที่ฉลากเครื่องสำอาง ตรงกับฐานข้อมูลของ อย. หรือไม่

อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการใช้เครื่องสำอาง หรือ  พบการโฆษณาเครื่องสำอางที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงทางสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะทาง Social Media สามารถแจ้ง ร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือที่ E-mail: [email protected]

หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวง สาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด  ทุกจังหวัด เพื่อ อย. จะดำเนินการติดตาม และดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัด

เรื่องน่าสนใจ