เนื้อหาโดย Dodeden.com

เพราะบางครั้ง วัตถุดิบหรือของสดที่ซื้อมาจากซูเปอร์มาร์เก็ต ก็มีจำนวนมากเกินกว่าที่จะกินให้หมดภายในวันเดียว การนำไปแช่เเข็งจึงเป็นวิธีที่ปลอดภัย แต่จะทำอย่างไรถึงจะคงคุณค่าทางโภชนาการได้ครบล่ะ?

ยิ่งเเช่เเข็งเร็ว ยิ่งรักษาคุณค่าทางโภชนาการ
ความรวดเร็วในการแช่แข็งเป็นสิ่งสําคัญมาก ยิ่งคุณแช่ของสดได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งรักษาคุณค่าทางโภชนาการและความน่ากินได้มากเท่านั้น สําหรับอุณหภูมิที่ใช้ในการแช่แข็งควรอยู่ระหว่าง -15 ถึง -18 องศาเซลเซียส และหลีกเลี่ยงการบรรจุอาหารที่มากเกินไปจนแน่นบรรจุภัณฑ์ ภาชนะหรือถุงที่ใช้บรรจุอาหารแช่แข็งนั้นควรเว้นให้เหลือพื้นที่ว่างไว้ประมาณ 20% เพื่อให้อากาศเย็นไหลเวียนได้สะดวก การเว้นให้เหลือพื้นที่ว่างในภาชนะบรรจุช่วยทําให้ช่องแช่แข็งไม่ต้องทํางานหนักเกินไป นอกจากนี้ หากแช่แข็งในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า – 18 องศาเซลเซียส จะเป็นการเพิ่มพลังงานให้ตู้เย็นทํางานหนักโดยใช่เหตุ และใช้พลังงานเพิ่มขึ้นถึง 5%

เตรียมให้ถูกวิธี ง่ายต่อการหยิบใช้
ไม่มีขั้นตอนยุ่งยากในการจัดเตรียมอาหารที่ต้องการแช่แข็งแม้แต่น้อย แต่เพื่อความง่ายในการหยิบมาอุ่นกิน คุณควรแบ่งอาหารที่ซื้อมาในตอนแรก จัดใส่ถุงหรือบรรจุภัณฑ์เป็นปริมาณน้อยๆ หรือในสัดส่วนที่พอกินหมด โดยเฉพาะประเภทผักสดควรทําให้สุกโดยลวกในน้ำเดือดก่อนจะจุ่มในน้ำเย็นทันที การลวกผักจะทําให้เอนไซม์ในผักเสื่อมลง รวมทั้งทําลายสารเคมีที่มีในผัก นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการสูญเสียวิตามินที่ละลายน้ำได้เมื่อผักเหล่านี้ถูกแช่แข็ง มีผักบางชนิดที่ไม่เหมาะกับการลวกแล้วนําไปแช่แข็ง อย่างเช่น ผักกาดหอม มะเขือเทศ มะเขือยาว และขึ้นช่าย เนื่องจากเป็นผักที่มีส่วนประกอบของน้ำสูง จึงทําให้เสียรสชาติ

ลดความเสี่ยงเมื่อละลาย
เพื่อป้องกันช่องแช่แข็งที่อาจเกิดการละลายได้ในบางสถานการณ์ การบรรจุอาหารจึงจําเป็นต้องเก็บไว้ในถุงซิปล็อก หรือภาชนะสุญญากาศ โดยพยายามไล่อากาศออกจากถุงหรือภาชนะบรรจุให้มากที่สุด นอกจากนี้ การบรรจุอาหารในถุงก่อนนำไปแช่แข็งนั้น จะช่วยลดความเสียหายต่ออาหาร เมื่อเกิดเหตุการณ์คับขัน ไฟฟ้าดับ น้ำแข็งละลาย แต่ถึงแม้มันจะส่งผลต่ออาหารอยู่บ้างแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ปลอดภัยในการกิน

บรรจุภัณฑ์อาหารอย่างดี มีความปลอดภัยสูง
อาหารส่วนมากที่แพ็กในถุงชิปล็อก หรือภาชนะบรรจุก่อนที่จะนําไปแช่แข็ง มักจะแข็งเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกัน ดังนั้น จึงควรแบ่งปริมาณสําหรับการเสิร์ฟต่อครั้งเพื่อหลีกเลี่ยงการแช่แข็งไว้นาน โดยเฉพาะพวกผักหรือผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ควรจัดเก็บในถุงใหญ่สักหน่อย เพื่อป้องกันการจับตัวเป็นก้อน ส่วนผัก สมุนไพรต่างๆ สามารถแช่แข็งได้เช่นเดียวกัน วิธีการคือ นําไปมัดรวมกัน และก่อนแช่แข็งต้องนําไปล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนําไปใส่ถุงแช่แข็ง รวมกันหลายๆ มัด การแช่แข็งอาหารตามปริมาณที่เสิร์ฟต่อมื้อ ก็เพื่อให้หยิบมาอุ่นกินในครั้งถัดไปได้หมด เนื่องจากไม่ควรแช่แข็งอาหารที่ละลายแล้วซ้ำใหม่ เพราะเสี่ยงที่จะทําให้เกิดอาหารเป็นพิษได้ง่าย ข้อควรระวังก็คือ ไม่ควรแช่อาหารในขณะที่มันยังร้อนอยู่ เพราะจะเป็นการเพิ่มอุณหภูมิของช่องแช่แข็ง

แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิห้อง ดังนั้น การละลายอาหารในตู้เย็นจะช่วยป้องกันอาหารเป็นพิษได้ นอกจากนี้สําหรับคนที่ไม่อยากรอนาน เทคนิคละลายน้ำแข็งที่สามารถทําได้รวดเร็ว แต่ยังคงคุณค่าของสารอาหารไว้ได้อยู่ คือนําอาหารแช่แข็งที่บรรจุในถุงหรือภาชนะไปวางไว้บนจาน จากนั้นเปิดน้ำเย็นจากก๊อกให้ไหลผ่านบรรจุภัณฑ์อย่างช้าๆ แต่จําไว้ว่าอาหารทุกอย่าง แม้จะเก็บแช่แข็งไว้อยู่ก็มักจะมีสภาพหรือรสชาติที่ไม่ดีนักค่ะ

เรื่องน่าสนใจ