“ศาสนามันเสื่อมลงไปกว่านี้ ไม่ใช่เลย จริงๆ แล้วคนในศาสนาต่างหากที่เสื่อม” นี่ คือบางถ้อยบางคำจากปาก “อ๊อด-บัณฑิต ทองดี” นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ซึ่งได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการ “ข่าวช่อง 2” ทาง “ช่อง 2” ข่าวลึก บันเทิงร้อน กรณีภาพยนตร์สะท้อนสังคมเรื่อง “อาบัติ” ไม่ผ่านการพิจารณา หรือ “โดนแบน” ซึ่งอ๊อดก็ได้ให้ข้อคิดในมุมของคนทำหนัง และมุมของคนที่เป็นส่วนหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว รวมทั้งเผยว่ารู้สึก “ท้อ” แต่ยืนยันจะ “ไม่ถอย” แนะให้คัดเลือกคณะกรรมการพิจารณาที่ “เป็นกลาง” และเข้าใจหนังมากกว่านี้
คิดยังไงที่อาบัติถูกแบน ?
“ผมรู้สึกว่าตอนนี้เสรีภาพของคนทำหนังหรือว่าฟิล์มเมกเกอร์อย่างพวกเรามันถูกจำกัดมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อไปนี้ไม่รู้ว่าใครจะกล้าทำหนังที่สะท้อน หรือตีแผ่เรื่องราวของสังคมต่างๆ ได้แบบนี้หรือเปล่า พอจะทำก็มีกรณีศึกษาอย่างในเรื่องนี้ ทำให้จะทำดีไหม จะโดนแบน ไม่โดนแบน มันทำให้เราไม่กล้าคิด ไม่กล้าทำอะไรที่มันใหม่ๆ หรือว่าที่นำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับคนดูครับ”
ในอนาคตอาจจะไม่มีหนังทีตีแผ่ หรือสะท้อนเรื่องราวสังคมแบบตรงไปตรงมา ?
“ใช่ครับ ผมเชื่อว่าเรื่องนี้เป็นกรณีศึกษายังโดนขนาดนี้ ขนาดเป็นของบริษัทใหญ่ๆ เป็นหนังที่เราพูดถึงพระในแบบตีแผ่ แต่ว่าสุดท้ายก็มีขมวดปมสอนคนว่าทำอย่างนี้ดี ทำอย่างนี้ไม่ดี พอทำอย่างนี้แล้วยังไม่ผ่านเซ็นเซอร์หรือว่าไม่ผ่านการพิจราณาโดนแบนเนี่ย อนาคตก็ไมต้องพูดถึงแล้ว เราไม่กล้าทำอีกแน่ๆ หนังที่ตีแผ่สังคม หรือหนังที่ตีแผ่วงการต่างๆ”
กระทราววัฒนธรรมก็ออกมาให้เหตุผล ส่วนตัวคิดว่าเหตุผล 4 ข้อใหญ่นั้น หนักแน่นพอที่จะแบนหรือยัง ?
“ผมไม่เชื่อว่า 4 ข้อมันจะเหตุผลเพียงพอครับ คือ เรื่องการพระเสพของมึนเมาก็ดี เรื่องของพระมีความสัมพันธ์ชู้สาว หรือเรื่องของการแสดงความรุนแรง เราเห็นกันทั่วไปในสังคม เห็นกันปกติอยู่แล้วครับ คือ เห็นกันจนเบื่อ จนระอากันหมดแล้ว เราเลยทำหนังออกมาให้คนดูว่าเนี่ยคุณทำแบบเนี้ยสุดท้ายแล้วผลกรรมมันเป็นอย่างนี้ หรือแม้แต่เรื่องการไม่เคารพพระพุทธรูปมันเป็นเพียงเรื่องของเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งซึ่งไม่ศรัทธาในศาสนาเท่าไหร่ เขาไม่ใช่คนในศาสนาอื่นนะ เขาเป็นคนไม่เคร่งศาสนาเพราะฉะนั้นเป็นวัยรุ่นที่เกรียนๆ ทั่วไปก็เลยไม่นับถือพระพุทธรูป แต่จริงๆ แล้วเขาไม่ได้ดูถูกศาสนาพุธ มันเป็นแค่วันรุ่นเกรียนๆ คนหนึ่งที่ไม่นับถืออะไร เหตุผลไม่เพียงพอที่จะแบนหนังเรื่องนี้เลยครับ”
ได้เห็นฉากในหนังเรื่องนี้หรือยัง ?
“จริงๆ ผมก็ต้องบอกว่าผมได้อ่านบทมา แล้วก็เห็นหนังประมาณหนึ่งแล้วครับในเวอร์ชั่นแรกๆ จริงๆ แล้วตอนแรกผมเป็นโปรดิวเซอร์หนังเรื่องนี้ด้วยซ้ำไป แต่ตอนหนังก็มีเหตุผลบางอย่างเกี่ยวกับทุนสร้าง เราก็เลยคิดว่าเราถอนตัวกันดีกว่า น้องทีมงานจะได้มีเงินไปทำหนังมากขึ้น เราก็เลยถอนตัวจากงานโปรดิวเซอร์ออกมา แต่ว่าก็เป็นที่ปรึกษาห่างๆ มาตลอดครับ ซึ่งผมก็ได้เห็นตลอดว่าหนังมันเป็นยังไง”
กระแสหนังด้านลบ อาจทำความแตกแยกให้สังคม ข้อนี้คิดว่ายังไง ?
“คือ ถ้าเข้าใจว่าภาพยนตร์ หนังก็สร้างความบันเทิงก็มีคติสอนใจ มันก็เหมือนนิทานเรื่องเล่า นิทานอีสปที่มีคติสอนใจ เพราะฉะนั้นมันไม่สามารถจะมีอิทธิพลกระเพื่อมสังคมให้เกิดความแตกแยกเป็น 2 ฝั่งหรอกครับ ซึ่งโอเคมันอาจจะมีคนไม่เห็นด้วย ทำหนังทุกเรื่องมันก็มีทั้งคนชอบ คนไม่ชอบ แต่ว่าถ้าขนาดทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงหรือว่าทำให้เกิดความแตกแยกในสังคมผมว่าไม่ขนาดนั้น แล้วตัวเนื้อหา ผมว่าถ้าดูแล้วจะรู้สึกว่ามันไม่ได้ขนาดนั้นเลยไม่ได้พูดอะไรที่ทำให้สังคมแตกแยก หรือว่าศาสนามันเสื่อมลงไปกว่านี้ไม่ใช่เลย จริงๆ แล้วคนในศาสนาต่างหากที่เสื่อม ศาสนาไม่เสื่อมหรอกครับ”
การแบนหนัง เขาบอกไม่อยากให้คนเห็นมุมมองด้านลบของศาสนา ?
“ผมมองว่าสุดท้ายก็ไม่กล้ารับความจริง สิ่งที่เราเป็นอยู่ สิ่งที่เราเป็นอยู่กับมัน มันเป็นอย่างไหน มีข้อบกพร่องอะไร คือไม่กล้ายอมรับว่าเรามีข้อบกพร่องหรือมีข้อเสีย เมื่อใดที่เราไม่กล้ายอมรับข้อเสีย เราก็ไม่มีทางพัฒนาให้กลายเป็นคนดีได้ ถ้าเราไม่ได้คิดว่าเรามีข้อเสียง เพราะฉะนั้นผมมองกว่าถ้าคนผู้ที่เกี่ยวข้องในการพิจราณาหนังมองว่าเราไม่กล้าเปิดเผยว่าเราไม่ดียังไงเนี่ย สุดท้านยังไงศาสนามันก็จะไม่พัฒนาขึ้นกว่านี้ มันก็ตกต่ำลงไปเรื่อยๆ ถ้ายังคิดอย่างนี้นะครับ”
ตอนนี้ก็มีทั้งคนที่อยากให้หนังเขาฉาย และไม่อยากให้เข้าฉาย ?
“จริงๆ การบลาลานซ์ความรู้สึกอย่างที่บอกครับว่า การทำหนังแต่ละเรื่องมันก็ต้องมีทั้งคนชอบและคนไม่ชอบอยู่แล้วครับ เพราะฉะนั้นการบลาลานซ์ความรู้สึกอยากให้ไปดูก่อนแล้วก็โอเคการออกมาต่อต้านหลังดูเสร็จแล้วเราก็คงต้องยอมรับนะครับ หรือว่าจะโจมตีทางโซเชี่ยลทำให้หนังเราขาดทุน หรือไม่มีคนดูมันก็ต้องยอมรับกัน แต่ว่าให้ดูก่อน ตอนนี้มัน…คนออกมาโจมตีเพียงแค่เห็นภาพโปรโหมต แล้วก็ออกมาต่อต้าน ซึ่งจริงๆ การบลาลานซ์จริงๆ อยากให้เข้าใจ แล้วมาดูกันก่อน มาชมกันแล้วค่อยมาคุยกันว่ามันไม่ดียังไง จะต่อว่ายังไงก็ขอให้เห็นหนังก่อน ตอนนี้เห็นยังไม่เห็นหนังก็ต่อว่าซะแล้ว หรือว่ามาต่อต้านผมว่ามันอาจจะไม่ยุติธรรมเท่าไหร่”
พี่อ๊อดเคยมีประสบการณ์ตั้งแต่เรื่องนาคปรก ถ้าเทียบกันกับเรื่องนี้ความรุนรงเป็นไง ?
“ในเรื่องนาคปรกเราเล่าภาพรุนแรงกว่านี้อีกครับ เพียงแต่ว่าตัวละครไม่ฝใช่พระ ไม่ใช่เณร คือเป็นแค่โจรที่ปลอมตัวเป็นพระแล้วก็เข้าไปอยู่ในวัดเพื่อจะทำการบางอย่าง เพื่อที่จะขุดเงิน เพราะฉะนั้นการกระทำเขาก็จะรุนแรงได้เต็มที่ การด่าทอ ยิงกันในวัด กระทั่งการมีความสัมพันธ์กับสีกาเพราะว่าในเรื่องแค่เป็น เรียกว่าโล้นห่มเหลืองแค่นั้นเองครับ แต่ว่าเรื่องนี้มันอาจเป็นพระจริง เป็นเณรจริง แต่ว่าเรื่องนี้เราสอนกว่าเรื่องที่แล้วอีก คือให้รู้ว่าคุณทำผิดศีล ผิดอาบัติผลกรรมมันจะเป็นยังไง เป็นสิ่งที่คุณคาดไม่ถึงว่ามันจะเลวร้ายขนาดนั้นดเวยซ้ำไป มันก็เลยทำให้ข้อแตกต่างเรื่องนี้ เรื่องนาคปรกภาพรุนแรงกว่านี้เยอะครับ”
มั่นใจว่าหนังเรื่องนี้ควรเข้าฉาย แล้วดีไม่ดีค่อยมาว่ากัน ?
“ใช่ครับ แล้วก็ผมมองว่ามันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ดีขึ้นด้วยซ้ำไป คนดูแยกแยะออกครับว่าหนังคือหนัง แต่ว่ามันจะได้ข้อคิดบางอย่างที่พูดถึงผลกรรม หรือผลของการกระทำขอมนุษย์ที่ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ อันนี้อยากให้ชมก่อนแล้วค่อยมาพูดคุยกัน”
ท้อบางไหม เจอกระแสแบบนี้ ?
“ท้อครับท้อ แต่ว่าไม่ถอย ยังไงเราก็ต้องสู้กันต่อไป สู้ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าดึงดันที่จะทำอะไรต่อต้านแบบนี้นะแต่หมายความว่าถ้ามีอะไรที่มันไม่ดี หรือว่ามุมมองของสังคมใหม่ๆ ที่มันค่อนข้างรู้สึกว่าสัมคมเรามันมีรูรั่ว หรือว่าข้อเสีย ถ่าเรานึกออก หรือว่าเราคิดว่ามันน่าสนใจ เราก็คงทำหนังแบบนี้ออกมาอีก ซึ่งถามว่าท้อไหมท้อครับ แต่ไม่ถอย ยังไงต้องทำต่อ แต่อาจจะเหนื่อยนิดหนึ่งว่าทำไปแล้วจะได้ออนแอร์ไหไม จะได้ฉายไหมแค่นั้นเอง”
เรื่องนี้กระทรวงวัฒนธรรมก็บอกอุทาหรณ์ได้ ตัดบางฉากออกไปได้ ?
“คือเราฟังจากกระแสสังคมหลายๆ อย่าง แล้วก็เรื่องของการยอมแก้ไข ยอมถอยของสหมงคลฟิล์มเนี่ย ผมว่าน่าจะได้ฉาย แต่การอุทรณ์ ถ้าเราไม่แก้ไขแล้วเราอุทรณ์อันนี้เสี่ยงกว่า เพราะว่าถ้าคราวนี้เขาบอกว่าคุณอุทรณ์แล้ว แล้วคณะกรรมการไม่อนุมัติเหมือนเดิมเหมือนครั้งแรก คราวนี้ไม่สามารถจะดีฏาได้แล้วคือไม่ได้ฉายเลย เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่าทางสหมงคลฟิล์มคงจะยอมถอยเพื่อให้หนังได้ฉาย”
จริงๆ แล้วคิดว่าหนังเรื่องนี้ควรจะได้รับการจัดเตติ้ง หรือควรถูกสั่งแบน ?
“เรตติ้งของเมืองไทย มันมีเรตแบนอยู่ด้วย ท ส 13+ 15+ 18+ และ 20- แล้วก็แบนเลย เขาเรียกว่าข้อจำกัดของหนังอยู่แล้วว่ามี 7 แบบ แต่เราก็ไม่คิดว่ามันจะได้สูงสุดขนาดนี้ เพราะคิดว่าเต็มที่คือ 20- คือตรวจบัตรประชาชนเลย ว่าห้ามเด็กดู เด็กคนไหนเข้ามาดูไม่ตรวจบัตรประชาชนถูกจับ ติดคุกอะไรก็ว่าไปอันนี้เราคิดว่าสุด แย่สุดคือแค่นี้ แต่ไม่คิดว่ามันจะถึงขั้นสูงสุดประหารชีวิต”
การจัดเรตติ้งในประเทศไทยตอนนี้ให้ประโยชน์กับคนดู กับคนทำหนังแค่ไหน ?
“จริงๆ มันให้ประโยชน์คนดูครับ แต่มันยังไม่สมบูรณ์แบบ เนื่องจากว่าคณะกรรมการบางท่าน หรือบางชุดให้ทัศนะคติของตัวเองในการพิจราณามากเกินไป คือเรามองว่าระบบมันโอเคอยู่แล้ว เพียงแต่ว่ากรรมการที่เข้ามาตรวจพิจารณาเนี่ยควรคัดเลือกคนที่มีวิจารณญาณที่ตรงจุดมากกว่านี้ เพราะว่าบางท่านใช้ทัศนคติส่วนตัว ถ้าหนังเกี่ยวกับศาสนา เอาคนที่เกี่ยวกับศาสนามาดูยังไงก็ไม่ผ่าน หนังเกี่ยวข้องกับทหาร เอาทหารมาชม ยังไงก็ไม่ผ่าน หนังเกี่ยวกับครูหรือแพทย์ เอาแพทย์หรือครูมาดูมันก็ไม่ผ่าน ต้องเอาคนที่เป็นกลางที่คิดว่าเข้าใจภาพยนตร์ด้วย แล้วก็ไม่ใช่คนในสถาบันนั้นจริงๆ มาดูมาตรวจ ผมว่าอันนี้มันโอเคกว่า”
คิดว่ามันตีกรอบมากไปไหม ?
“ใช่ครับผมยังมองอยู่ว่าคือตอนนี้รู้สึกว่าความเป็นคนทำหนัง คนทำงานศิลปะอย่างพวกเราถ้ามีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมันถูกตีกรอบด้วยสภาวะทางความคิดของคนที่มีอำนาจในการตัดสินจนเกินไป อนาคตมันทำให้ความกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกของเรามันก็อาจจะต้องน้อยลงไปครับ ก็เป็นผลเสียให้กับคนดู คนดูก็ได้ดูแต่มุมมองที่โลกสวย เจอแต่เรื่องของดีๆ แล้วก็เล่าเรื่องดีๆ กันไป แต่ว่าสุดท้านแล้วสังคมมันก็จะเป็นอย่างที่เห็น มีข่าวว่าพระทำโน้นทำนี่มากมาย”
ขออนุญาติถาม คณะกรรมการเขาเอาบุคคลประเภทไหน หรือมีกี่คนมาพิจารณา ?
“ตามกฏกติกาก็คือคณะกรรมการมี 7 คน ก็มาจากคนในอุสาหกรรมภาพยนตร์ 3 คน แล้วก็มาจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ แต่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวนั้นๆ ก็แล้วแต่เวียนกันไป ตามกฏกติกาคือมี 7 คน แล้วก็ 3 จากฝั่งภาพยนตร์ 4 คือจากที่อื่นแต่กรณีของอาบัติเนี่ยคือ 6 4 ต่อ 2 ก็คือมีท่านหนึ่งมาไม่ได้ลา ผลก็คือ 4 ต่อ 2 ถึงมาก็ 4 ต่อ 3 ผลก็แพ้อยู่ดี”
สุดท้ายอยากฝากอะไรถึงผู้เกี่ยวข้อง ?
“ก็อยากให้คณะกรรมการพิจารณาแต่ละท่านนะครับ อยากให้คัดเลือกคนที่เขาเรียกว่ามีตวามเข้าใจภาพยนตร์มากกว่านี้ มีความเข้าใจภาพยนตร์ให้ถ่องแท้ม่ากกว่านี้ บางคนไม่เข้าใจว่าหนังคือหนัง นี่คือการพูดตีแผ่จริงๆ ไม่ใช่ มันคือเรื่องของการเล่าเรื่องให้คนฟังเพื่อความบันเทิง แต่มันมันเสริมมุมมองใหม่ๆ เพื่อให้คนดูเห็นว่าสังคมมีอะไรบกพร่องที่ต้องแก้ไข อยากให้คณะกรรมการใช้วิจารณญาณที่ดีกว่านี้ในการพิจารณาหนังครับ”