ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

เข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเต็มตัว แค่ปกติก็ร้อนอยู่แล้ว แต่ช่วงนี้แดดออกจะแรงเป็นพิเศษ แรงจนรู้สึกหน้ามืด ยิ่งเข้าเดือนเมษายิ่งร้อนกว่าเดิมหลายเท่าตัว จนบางคนนี่แทบจะไม่อยากออกจากบ้านถ้าไม่มีธุระสำคัญอะไร แต่รู้หรือไม่? ปีนี้มีช่วงที่ร้อนที่สุดปีไหน? อุณภูมิเท่าไร? และต้องรับมืออย่างไรบ้าง

สาระข้อมูลและภาพ : ไทยรัฐออนไลน์

EyWwB5WU57MYnKOuFtJDIRJkNkZS0wo4JyptPFLGLImRnOW643QHqk

นายวันชัย ศักดิ์อุดมไชย อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวกับทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ “ในปี 2558 ประเทศไทยจะร้อนกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 1 องศาฯ ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิประเทศสูงสุดที่ 42-43 องศาเซลเซียส ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม โดยพื้นที่ที่ร้อนที่สุดคือภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงราย และจังหวัดลำปาง มีอุณหภูมิ 43 องศาเซลเซียส เป็นเหตุให้มีพายุลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่”

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทั่วประเทศจะมีอุณหภูมิความร้อนอยู่ที่ 38-39 องศาเซลเซียส มีแดดแรงจัด และจะมีฝนตกในตอนกลางวัน เป็นบางพื้นที่ ขณะที่กรุงเทพมหานครจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย 38 องศาเซลเซียส มีแดดแรง ท้องฟ้าเปิด และจะมีฝนตกในช่วงบ่ายของวัน

NjpUs24nCQKx5e1DIShVi4EYgbEz4glBfOjDIYstdS0

27 เม.ย. พระอาทิตย์ตั้งฉากกับ กทม.

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ยังกล่าวต่อว่า วันที่ 27 เม.ย. พระอาทิตย์จะตั้งฉากกับ กทม. จะทำให้มีความร้อนเพิ่มมากขึ้น แต่อากาศอาจจะไม่ใช่วันที่ร้อนที่สุด เพราะเป็นช่วงฤดูร้อนอยู่แล้ว แม้พระอาทิตย์ตั้งฉากก็ไม่ได้ทำให้ความร้อนเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ส่วนที่พบว่าแดดแรงนั้น ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติของหน้าร้อน ที่ท้องฟ้าจะไม่ค่อยมีเมฆ

“ในปี 2558 จะมีอากาศร้อนกว่าในปีที่ผ่านมา เนื่องจากฝนมาช้ากว่ากำหนด ซึ่งฝนจะมาในช่วงสัปดาห์ที่สามของเดือนพฤษภาคม แต่จะไม่ร้อนที่สุด เนื่องจากอุณหภูมิที่ร้อนที่สุดของประเทศเกิดขึ้นในปี 2503 ซึ่งวัดอุณหภูมิได้ 44.5 องศาเซลเซียส ในภาคเหนือ ขณะที่ในช่วงเดือนพฤษภาคม มิถุนายน ไปจนถึงเดือนสิงหาคม จะมีพายุก่อตัว ทำให้ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงทั่วประเทศไทยได้” อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าว

NjpUs24nCQKx5e1DIShVi4EYgbEz4ghYGvyWmPYj0bV

รับมือโรคร้ายมาพร้อมลมร้อน

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงภาวิณี ฤกษ์นิมิตร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า โรคที่มากับฤดูร้อนจะมีโรคท้องร่วง อาหารเป็นพิษ ซึ่งประชาชนต้องรับประทานอาหารปรุงสุก ไม่ค้างคืน สดใหม่ตลอดเวลา และที่สำคัญควรล้างมือก่อนรับประทานอาหาร อีกทั้งอาหารที่มีแมลงวันตอม ก็ไม่ควรรับประทานเข้าไป เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคในร่างกายอีกด้วย

เลี่ยงโดนแดด 10.00-15.00 น.

พญ.ภาวิณี กล่าวต่อว่า อีกโรคที่ต้องระวังคือ “โรคฮีตสโตรก” หรือ “โรคลมแดด” (Heat Stroke) พบมากในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอายุเยอะ หรือคนชรา เนื่องจากอุณหภูมิความร้อนสะสมในร่างกายค่อนข้างสูง และระบายความร้อนออกจากร่างกายไม่ทัน ทำให้มีอาการหมดสติ เป็นลม หรือถึงขั้นช็อก สำหรับการป้องกันควรหลีกเลี่ยงแสงแดดจัดในช่วงระยะเวลา 10 โมงเช้า จนถึงบ่ายสามโมงเย็น เนื่องจากแสงแดดประเทศไทยค่อนข้างร้อน และยิ่งหน้าร้อน อุณหภูมิก็จะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งถ้าหากพบว่าร่างกายของตนเองมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น และเหงื่อออกมากขึ้น ระบายความร้อนไม่ทัน ควรรีบเข้าที่ร่ม หรือหาพัดลม เครื่องปรับอากาศปรับอุณหภูมิในร่างกายให้เย็นลง และดื่มน้ำตามให้มากๆ

พญ.ภาวิณี กล่าวเพิ่มว่า สำหรับโรคสุขภาพจิตที่จะมากับหน้าร้อนนั้น คิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเป็นอาการทางอารมณ์ อาทิ หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย ใจร้อน ก็สามารถพบได้ ไม่เพียงแค่ในฤดูร้อน แต่เมื่อถึงฤดูร้อน ประชาชนจะมีอารมณ์ที่หงุดหงิดง่าย โมโหรุนแรงง่ายมากขึ้น ความอดทนลดน้อยลง ดังนั้น ถ้าหากหลีกเลี่ยงอากาศร้อนหรือแสงแดดได้ ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยง

“อีกโรคร้ายที่มาพร้อมกับฤดูร้อน คือ โรคผิวหนัง หากผิวหนังเราโดนแสงแดดมากเกินไป อาจจะทำให้ผิวไหม้ แสบผิว ผิวลอก และมีตุ่มน้ำใสตามผิวหนัง หรือถ้าหากมีเหงื่อออกมาก อาจจะติดเชื้อในผิวหนัง และเกิดเชื้อราและมีอาการคันตามมาได้ หากร้ายแรงอาจถึงขั้นเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้ ซึ่งถ้าเป็นแล้วจะทำการรักษาได้ยาก”

NjpUs24nCQKx5e1DIShVi4EYgbEz4gjnjYjVHLAx0S5

วิธีดูแลสุขภาพช่วงหน้าร้อน

สำหรับนักกีฬา หรือประชาชนที่ต้องอาศัยการทำงานกลางแจ้ง ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดให้มากที่สุด อาจจะหลบพักตามเงาตึก หรือร่มไม้ เพื่อระบายความร้อนในร่างกาย และไม่ออกกำลังกายในช่วงหน้าร้อนเยอะจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้มีอาการเหนื่อยหอบตามมา สำหรับการป้องกันในเบื้องต้น ถ้าหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงแสงแดดได้นั้น ประชาชนต้องทายากันแดด และดื่มน้ำระหว่างวันให้มากๆ หรือดื่มในปริมาณ 1.5-2 ลิตร ต่อวัน เพื่อรักษาสมดุลในร่างกาย

นอกจากข้อเสียจากแสงแดดแล้วนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงภาวิณี ยังแนะนำอีกว่า แสงแดดสามารถทำให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายและกระดูก โดยต้องได้รับแดดในช่วงเช้า แต่ไม่เกินเวลา 10 โมง และสามารถโดนแดดได้อีกครั้งคือหลังจากบ่ายสามโมงเป็นต้นไป นอกจากนี้ แสงแดดยังช่วยให้ร่างกายของมนุษย์มีความสดชื่น และตื่นตัว อีกทั้งยังทำให้มีอารมณ์ที่ดีในระหว่างวันได้อีกด้วยเช่นกัน

 

เรื่องน่าสนใจ