ที่มา: now26.tv ที่มา: horrorclub

กรณีนี้นับว่ามีการเตือนกันทุกปี โดยเฉพาะช่วงใกล้ฤดูฝน จากกรณีที่มีการเผยแพร่ภาพทางโซเชียลมีเดีย ที่เป็นภาพตัวด้วงกระดก และภาพอาการแพ้ผิวหนังรุนแรง ทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้พุพองจนเสียโฉมนั้น

ล่าสุดมีคำชี้แจงจาก นายแพทย์สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข ว่า จริง ๆ การอักเสบผิวหนังจากพิษด้วงชนิดนี้ ไม่ได้รุนแรงน่ากลัวเหมือนที่เผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย

Paederus_top

โดยผู้ที่สัมผัสกับด้วงชนิดนี้ ส่วนมากเป็นแผลอักเสบเล็กน้อยเท่านั้น แต่ข้อควรระวังก็คือ เมื่อพบแมลงชนิดนี้ อย่าตีหรือบดบี้ เพราะอาจได้รับสารพิษที่อยู่ในตัวแมลงได้

นายแพทย์สุรเชษฐ์กล่าวต่อว่า ด้วงก้นกระดก เป็นแมลงที่มีประโยชน์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชตามธรรมชาติ โดยทั่วไปด้วงชนิดนี้จะไม่กัดหรือต่อยคน แต่ในกรณีที่ด้วงตกใจ หรือถูกตี ถูกบีบ บดขยี้ ด้วงจะปล่อยน้ำพิษที่ชื่อว่า เพเดอริน (Paederin) ออกมาเพื่อป้องกันตัว พิษส่วนใหญ่จะมีในด้วงตัวเมีย

Paederus-1

308_10499_Image

สำหรับผู้ที่โดนพิษด้วงกระดก จะทำให้เกิดผื่นแพ้ที่ผิวหนังอย่างเฉียบพลัน แต่ไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต อาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณพิษที่สัมผัส

โดยหลังสัมผัสใน 24 ชั่วโมงแรก ผิวจะมีผื่นแดง คัน แสบร้อน เกิดเป็นแผลพุพองภายใน 48 ชั่วโมง การอักเสบอาจขยายวงใหญ่ขึ้น จากนั้นจึงตกสะเก็ด อาการเหล่านี้จะหายเองได้ภายใน 7-10 วัน

ในรายที่เป็นรุนแรง ผิวหนังจะอักเสบหลายแห่ง คล้ายงูสวัด บางรายอาจมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเส้นประสาท ปวดกล้ามเนื้อ อาเจียน เป็นผื่นบวมแดงติดต่อกันหลายเดือน หากพิษเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้

FA61563B3428415FB9B4C73F401A68EE

ในการ ป้องกัน นั้นเปิดไฟในช่วงกลางคืนที่จำเป็น ก่อนนอนให้ปัดที่นอน หมอน ผ้าห่มหรือเครื่องใช้ต่างๆ ก่อน โดยเฉพาะเด็กๆ

อย่าจับด้วงมาเล่น ไม่ตบหรือตีเมื่อด้วงบินมาเกาะตามตัว และหากถูกพิษของด้วง ให้ล้างพิษด้วยน้ำเปล่า ฟอกสบู่ หรือใช้แอมโมเนียเช็ด และไปพบแพทย์

เรื่องน่าสนใจ