ที่มา: surgery.or.th

เสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนที่ไม่ได้มาตรฐาน หากทำมาแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น ? แน่นอนว่า ซิลิโคนเสริมเต้านมที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจหมายถึง การไม่ได้คุณภาพของถุงซิลิโคนภายนอก หรือการไม่ได้คุณภาพของเจ้าซิลิโคนเหลวที่อยู่ภายใน ซึ่งโดยรวมแล้ว การไม่ได้คุณภาพของส่วนใดส่วนหนึ่ง จะทําให้เกิดการแตกหรือการรั่วซึมที่มากเกินจะยอมรับได้ ซึ่งซิลิโคนเหลวด้อยคุณภาพที่รั่วออกมา อาจกระตุ้นปฏิกิริยาต่อต้านของร่างกาย ส่งผลให้เกิดพังผืดมากขึ้น มีแคลเซียมมาเกาะตัวมากขึ้น ทําให้เต้านมผิดรูป แข็ง และอาจเกิดความเจ็บปวดได้ 

 

เสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนที่ไม่ได้มาตรฐาน
ภาพจาก : esshop.co.uk

 

เสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มั่นใจ ต้องทำอย่างไรดี ?

ข้อแนะนําสําหรับผู้ที่ได้รับการเสริมเต้านมมาแล้ว แต่เกิดความไม่มั่นใจว่าเป็นซิลิโคนที่ด้อยคุณภาพหรือไม่ เราขอแนะนําวิธีปฏิบัติเป็นลําดับขั้นดังนี้ค่ะ

สังเกตและตรวจด้วยตนเอง
ยืนดูเต้านมของตนเองหน้ากระจก ว่ารูปโฉมผิดปกติไหม มีอาการปวดผิดปกติไหม จากนั้นค่อยๆ ใช้มือสัมผัส และคลําเต้านมของตนเองว่า มีก้อนผิดปกติหรือไม่ หรือมีบางส่วนของเต้านมที่แข็งผิดปกติหรือไม่ ต่อมา คลํารักแร้ทั้งสองข้าง หาก้อนผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นต่อมน้ำเหลือง หรือซิลิโคนเหลวที่รั่วซึมออกมา สุดท้าย ค่อยๆ ใช้นิ้วชี้ และนิ้วหัวแม่มือ รีดบริเวณหัวนม และลานหัวนมว่ามีของเหลวออกมาหรือไม่ (โดยปกติแล้ว ไม่ควรจะมีของเหลวใดๆ ออกมา) และถ้ามี ให้สังเกตดูว่าของเหลวดังกล่าวมีลักษณะเป็นอย่างไร เช่น เป็น น้ำนม น้ำเหลือง หรือน้ำเลือด เป็นต้น

 

เสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนที่ไม่ได้มาตรฐาน
ภาพจาก : breastenhancementresource

 

พบแพทย์
หาเวลาที่สะดวกไปพบศัลยแพทย์ตกแต่งที่ผ่าตัดให้ หากไม่สามารถหาศัลยแพทย์ท่านเดิมได้ ก็สามารถปรึกษาศัลยแพทย์ตกแต่งท่านใหม่ โดยรวบรวมข้อมูลที่มีทั้งหมดเล่าให้คุณหมอฟัง จากนั้นคุณหมอก็จะทําการตรวจหน้าอกและรักแร้ เพื่อหาภาวะแทรกซ้อน และอาจทําการตรวจคัดกรองหรือวินิจฉัยทางรังสี เช่น เอ็กซ์เรย์เต้านม (Mammogram) ตรวจเต้านมด้วยเสียงความถี่สูง (ultrasound) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MIRI) ตามความเหมาะสม 
ถ้าพบความผิดปกติของเต้านม ไม่ว่าจะเป็นผลแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับซิลิโคน (เช่น พังผืดรัดซิลิโคน รั่วซึม) หรือความผิดปกติอื่นๆ ของเต้านม สามารถปรึกษาแผนการรักษาร่วมกับคุณหมอเจ้าของไข้ได้ หากมีคําถามที่สงสัย ก็อย่าลังเลที่จะซักถาม ศัลยแพทย์ที่ดีย่อมยินดีที่จะให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเสมอ

••••••••••••••••••••

ถ้าไม่มีอาการ และตรวจไม่พบความผิดปกติก็แนะนําให้สอบถามยี่ห้อ รุ่น ชนิด และขนาดของซิลิโคนเสริมเต้านมเก็บไว้เป็นข้อมูลส่วนตัวก่อน ในกรณีที่พบว่าเป็นซิลิโคนด้อยคุณภาพ และผลการตรวจพบว่าถุงซิลิโคนยังอยู่ในสภาพดี ก็ไม่แนะนําให้ผ่าตัดเปลี่ยน แต่แนะนําให้ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด โดยการตรวจ เต้านมตนเองอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยทุก 3 เดือน และเข้ารับการตรวจติดตามโดยแพทย์ทุก 6 เดือนถึง 1 ปี นอกจากนี้แล้ว ควรได้รับการตรวจทางรังสีด้วย อัลตราซาวน์ แมมโมแกรม หรือ MRI ทุก 1-2 ปีค่ะ

 

เรียบเรียงเนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ