เสียเซลฟ์จนเสียสติ ผลวิจัยชี้หญิงไทย 99% ไม่มั่นใจในรูปลักษณ์ของตน

women

โดฟเผยผลวิจัยจากการสำรวจผู้หญิง ทั่วโลก พบผู้หญิงไทยถึงร้อยละ 99 ไม่มั่นใจในความสวยของตัวเอง พร้อมชี้ชัดถึงปัจจัยสำคัญที่สุดในการทำลายความเชื่อมั่นของผู้หญิงกว่า ครึ่งโลก (เทียบเท่ากับผู้หญิงจำนวน 672 ล้านคน) คือ คำวิจารณ์ของตนเองโดยมักคิดว่าตนเองดูดีน้อยกว่าความจริงที่คนอื่นมองเห็น!
       
เชื่อหรือไม่ว่าถึงแม้ผู้หญิงสมัยนี้ภายนอกจะดูมั่นใจชอบแต่งหน้าแต่งตัวอัป โหลดรูปขึ้นโซเชียลเน็ตเวิร์ก แต่จากการสำรวจผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อายุระหว่าง 18-64 ปี จำนวน 1,806 คนในเดือนมีนาคม 2556 โดยผลิตภัณฑ์โดฟ ในหัวข้อ “ทัศนคติและมุมมองเกี่ยวกับความงามและความสุข” พบว่าแม้ผู้หญิงไทยจะใช้เวลาในการดูแลเรื่องความงามในแต่ละวันนานถึง 24 นาที ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของผู้หญิงทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้เวลาราว 19 นาที แต่ปัจจุบันมีเพียงร้อยละ 1 ของผู้หญิงไทยที่มีความมั่นใจในความงามของตนเองและกล้านิยามว่าตนเองดูดี ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่น้อยที่สุดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ค่าเฉลี่ยร้อยละ 3) และน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของผู้หญิงทั่วโลกที่ร้อยละ 4 ทั้งนี้ ผู้หญิงไทยส่วนมากจะมองว่าตนเองหน้าตาธรรมดา ไม่ได้มีความโดดเด่นและดูดี โดยมีผู้หญิงไทยถึง 9 ใน 10 ที่ระบุว่าตนเองยังไม่พอใจรูปร่างหน้าตาของตนเอง ซึ่งขัดแย้งกับคำตอบของกลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 79 ที่เชื่อว่าผู้หญิงทุกคนมีความงามในแบบของตนเอง

       ที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือ ผลการสำรวจยังชี้ว่า ผู้หญิงไทยถึงร้อยละ 66 มีความกดดันและกังวลในรูปลักษณ์ของตนเอง ซึ่ง ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้หญิงไทยขาดความมั่นใจคือคำวิจารณ์จากตนเอง โดยหากจะพิจารณาเป็นรูปธรรม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ คลิปวิดีโอ Dove Real Beauty Sketch ที่กำลังเป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวางในโซเชียลเน็ตเวิร์กขณะนี้ ซึ่งถ่ายทอดเรื่องของจิล ซาโมร่า (Gil Zamora) นักวาดภาพผู้ต้องสงสัยมืออาชีพของสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา หรือเอฟบีไอ ที่นั่งอยู่หลังม่านเพื่อสเกตช์ภาพจากคำบอกเล่าการบรรยายถึงหน้าตาของตนเอง ของผู้หญิงหลายๆ คน เปรียบเทียบกันกับภาพสเกตช์ของผู้หญิงเหล่านั้นจากการบรรยายรูปลักษณ์โดยคน อื่น ซึ่งผลลัพธ์ที่น่าตกใจคือภาพสเกตช์จากคำบรรยายโดยบุคคลอื่นออกมาดูดีกว่าภาพ สเกตช์ที่ผู้หญิงอธิบายตนเองแทบทุกภาพ ตอกย้ำผลลัพธ์ในเรื่องทัศนคติที่ว่าผู้หญิงมักเห็นคุณค่าความงามของตนเอง น้อยกว่าที่เป็นจริง

ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องการขาดความมั่นใจในเรื่องรูปลักษณ์ของตนเองสามารถส่งผลกระทบต่อ ความสุขและความพอใจในชีวิตของผู้หญิงทั่วโลก โดยเฉพาะผู้หญิงไทย เนื่องจากผู้หญิงไทยกว่าร้อยละ 60 เชื่อว่ารูปลักษณ์ภายนอกที่สวยงามจะนำไปสู่โอกาสที่จะประสบความสำเร็จใน ชีวิตมากกว่า นอกจากนี้ผู้หญิงไทยถึงร้อยละ 79 เผยว่าความพอใจในความงามของตนเองทำให้มีความสุขมากขึ้น โดยเป็นอัตราส่วนที่สูงยิ่งกว่าความสุขจากการประสบความสำเร็จในหน้าที่การ งานและการมีความมั่นคงทางการเงิน

     พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ผู้ อำนวยการสำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า “ผู้หญิงมีแนวโน้มขาดความมั่นใจมากกว่าผู้ชายเพราะค่านิยมของสังคมกำหนดคุณ ค่าของผู้หญิงที่ความสวย ตรงข้ามกับผู้ชายที่ถูกกำหนดคุณค่าที่ความสามารถ โดยผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องความงามมากกว่าเรื่องความ สำเร็จจากหน้าที่การงานและฐานะทางการเงิน เนื่องจากการเรียนรู้ที่ว่าความสำเร็จในชีวิตผู้หญิงมักมีเรื่องความงามมา เกี่ยวข้อง อาทิ นางเอกในเทพนิยายหรือละครล้วนแล้วแต่หน้าตาสะสวยจึงมีคนรักและมีความสุขใน ชีวิต นอกจากนี้หากมีความสามารถใกล้เคียงกัน ผู้หญิงที่สวยกว่ามักจะได้รับโอกาสที่ดีกว่าผู้หญิงที่ไม่สวย

ดังนั้น เมื่อบวกกับการที่ผู้หญิงเป็นเพศที่มีความคาดหวังสูงทำให้ผู้หญิงมักจะ ประเมินคุณค่าความงามของตนเองต่ำกว่าเมื่อผู้อื่นประเมินให้เรา สิ่งที่เห็นได้ชัดคือเมื่อผู้หญิงส่องกระจกแล้วจะรู้สึกว่าสวยไม่พอ สวยแล้วต้องสวยกว่านี้อีก เช่น จริงๆ มีสิวเม็ดเล็กนิดเดียวแต่ผู้หญิงกลับเห็นว่าใหญ่เท่าใบหน้า ผลกระทบจากความคาดหวังว่าฉันต้องสวย ทำให้ผู้หญิงรู้สึกว่าฉันควรจะสวย แล้วชักนำผู้หญิงไปสู่ภาวะวิตกกังวลและขาดความเชื่อมั่นในตนเองในที่สุด โดยมองตนว่ารูปลักษณ์เลวร้ายกว่าความเป็นจริง นำไปสู่ปัญหาในการดำเนินชีวิต เสียทรัพย์ เสียสุขภาพ ไปกับการทำศัลยกรรมและการลดความอ้วนที่เกินความจำเป็น โดยอาจมีอาการเสพติดศัลยกรรม หรือเกิดปัญหาทางจิตใจต่างๆ เช่น Body Dysmorphic Disorder และโรคกลัวอ้วน หรือ Bulimia และ Anorexia”

“ในส่วนของประเด็นที่ผู้หญิงไทยมีความมั่นใจน้อยกว่าผู้หญิงในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกนั้น สาเหตุสำคัญมาจากบริบททางสังคมและการเลี้ยงดู เนื่องจากแม้ผู้หญิงไทยจะมีต้นทุนทางรูปลักษณ์ไม่ด้อยไปกว่าผู้หญิงประเทศ อื่นๆ แต่สังเกตได้ว่าครอบครัวคนไทยส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะตำหนิและวิพากษ์วิจารณ์ ลูกๆ มากกว่าที่จะคอยให้กำลังใจและชื่นชมลูกในด้านความงามเหมือนครอบครัวตะวันตก ที่มักจะชื่นชมว่าลูกสวย น่ารัก ดูดี เพราะครอบครัวไทยจะให้ความสำคัญเรื่องการกวดขันให้ลูกเรียนเก่ง ทำงานเก่ง และเป็นคนดีเป็นสำคัญ ดังนั้นเด็กไทยจึงไม่ได้เติบโตมาพร้อมกับชุดความคิดอัตโนมัติที่จะช่วยสร้าง ความมั่นใจด้านรูปลักษณ์ของตนเอง” พญ.อัมพรกล่าวเพิ่มเติม

ลองถามตัวคุณเองดูสิว่า คุณเป็นหนึ่งในผู้หญิง 99% หรือเปล่าที่ประเมินค่าความงามและความมั่นใจของตนเองต่ำกว่าที่คนอื่นเล็ง เห็นคุณค่าและความงามของคุณ?

ขอบคุณที่มา www.manager.co.th/CelebOnline

เรื่องน่าสนใจ