ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ

เมื่อวันที่ 10 พ.ค.2558 นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) เปิดเผยว่า จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรคในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2558 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 9,765 ราย เสียชีวิต 7 ราย จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.3 หรือเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า

เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยเรียน อายุ 5-14 ปี โดยจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด ได้แก่ ระยอง สมุทรสงคราม ราชบุรี ตราด และอ่างทอง เป็นต้น

14313410301431341068l

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าผู้ป่วยจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพราะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนเต็มตัว อย่างไรก็ตาม ต้องมีการเตรียมตัวป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายตามบ้าน โรงเรียน และวัด โดยเฉพาะวัดและโรงเรียน เนื่องจากการศึกษาพบวัดมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายถึงร้อยละ 40

ส่วนโรงเรียนร้อยละ 20-30 สำหรับการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ดีคือการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ซึ่งกรมควบคุมโรคเน้นมากกว่าต้องทำ และตอนนี้ถือเป็นนาทีทองในการป้องกันโรคไข้เลือดก่อนเข้าสู่ฤดูฝนแบบเต็มรูปแบบ

ซึ่งในแต่ละปีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จะเข้าไปดูแล ไปฉีดพ่นสารกำจัดยุงลายในชุมชน วัด และโรงเรียนอยู่แล้ว เบื้องต้นกรมควบคุมโรคได้แจ้งไปยังจังหวัดแล้วว่าขอให้ดำเนินการกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยเฉพาะในจังหวัดที่พบผู้ป่วยจำนวนมาก เช่น ภาคใต้ และภาคกลาง

“ผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีการไข้ขึ้นสูง ผื่นขึ้น ตัวแดง คลื่นไส้ อาเจียน รับประทานอาหารไม่ค่อยได้ ปวดท้อง ญาติต้องคอยเช็ดตัว และให้รับประทานยาลดไข้ยาพาราเซตามอลเท่านั้น และอย่าให้เกินปริมาณที่กำหนด

ห้ามรับประทานยากลุ่มแอสไพรินเพราะจะทำให้กัดกระเพาะ ทำให้เลือดออกได้ง่าย ทั้งนี้ หากพ้นช่วง 2-3 วันไปแล้วไข้ยังไม่ลด ขอให้รีบพาบุตรหลานไปพบแพทย์ เพราะหากเป็นไข้เลือดออกจริงจะถือเป็นช่วงภาวะช็อก มือเท้าเย็น ท้องเสีย หายใจปลิว ถือเป็นอันตราย” นพ.โสภณกล่าว

เรื่องน่าสนใจ