ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

นพ.พูลสิทธิ์ ศีติสาร นพ.สธ.จ.ชัยนาท เผยว่า โรคไข้เลือดออกยังเป็นโรคที่ต้องระวังต่อเนื่องจนถึงช่วงปลายฝนต้นหนาว โรคนี้พบได้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย ไม่เฉพาะในเด็ก กลุ่มเสี่ยงสำคัญที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ ผู้ที่มีน้ำหนักมาก ผู้ที่มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด หากป่วยจะทำให้การรักษายุ่งยากมากขึ้น เพราะต้องรักษาอาการที่เกิดจากโรคไข้เลือดออกและโรคประจำตัวด้วย

EyWwB5WU57MYnKOuXobViYXFu4PLbRcwoe9xSyB4HSC9yUcyUzpGGA

ดังนั้น หากมีไข้สูงลอย ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ซึม ให้สงสัยว่าป่วยโรคไข้เลือดออกต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่าซื้อยากินเอง โดยเฉพาะยาแก้ปวดลดไข้อย่างแรง เช่น ยาไอบูโพรเฟน ซึ่งระคายเคืองกระเพาะอาหาร เสี่ยงเลือดออกในกระเพาะอาหาร อันตรายถึงเสียชีวิต

NjpUs24nCQKx5e1D61Ysn39VyK3kpCUXlpdm3emqFJ0

สำหรับวิธีป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ดีที่สุด คือ ระวังอย่าให้มียุง เริ่มต้นที่บ้านของตนเอง โดยทำบ้านไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ปิดภาชนะใส่น้ำ เปลี่ยนน้ำในแจกัน จานรองกระถางต้นไม้ ปล่อยปลากินลูกน้ำในอ่างบัว ทำเป็นประจำทุกสัปดาห์เป็นวิธีที่ดีและยั่งยืนที่สุด

เพราะยุงลายใช้เวลาวางไข่เป็นลูกน้ำแล้วเป็นยุง ใช้เวลาเพียง 5-7 วันเท่านั้น และระวังอย่าให้ยุงกัด โดยเฉพาะยุงลายชอบกัดเวลากลางวัน และเป็นยุงที่มักอาศัยอยู่ในบ้าน โดยเฉพาะผู้ป่วยต้องนอนในมุ้งหรือทายากันยุง ทั้งขณะอยู่พักฟื้นที่บ้านหรือรักษาตัวที่โรงพยาบาล ควรป้องกันไม่ให้ยุงกัดแล้วไปแพร่เชื้อให้คนอื่น หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422.

เรื่องน่าสนใจ